กมธ.ติดตามงบฯ พบช่องโหว่โครงการบีซีจี อุดหนุนศูนย์พันธุ์ข้าว 829 ล้านบาท

15 ก.พ.2567 - เมื่อเวลา 14.00 น. ที่รัฐสภา นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการเชิญอธิบดีกรมการข้าวและกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เข้าชี้แจงในที่ประชุมกมธ.ฯ เกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ ว่า โดยในส่วนของกรมการข้าวได้พิจารณาการใช้งบประมาณของโครงการที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ยอินทรีย์ โดยทางอธิบดีได้ชี้แจงในที่ประชุมว่าได้ใช้งบประมาณไปซื้อปุ๋ยที่เข้าโครงการบัญชีนวัตกรรมภาครัฐ และงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์ข้าว การจัดงานวันข้าว ซึ่งโครงการที่กมธ.ฯต้องพิจารณาคือ โครงการบีซีจี ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยหัวใจสำคัญของงบประมาณโครงการนี้เป็นงบอุดหนุนลงไปยังศูนย์พันธุ์ข้าวกว่า 200 ศูนย์ งบประมาณรวม 829 ล้านบาท เมื่อเป็นเงินอุดหนุนและถูกโอนไปยังบัญชีธนาคารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ของศูนย์ข้าวต่างๆ แต่ละศูนย์จะดำเนินการซื้ออุปกรณ์ทางการเกษตร อย่างไรนั้นไม่ได้อยู่ภายใต้ระเบียบพัสดุหรือระเบียบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ดังนั้น อาจจะทำให้มีข้อห่วงใยว่าผู้อำนวยการอาจมีความใกล้ชิดกับคนขายอุปกรณ์ทำให้ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างโดยตรง

นายณัฐพงษ์ กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมอธิบดีได้ชี้แจงว่าเป็นข้อห่วงใยที่ยังมีช่องโหว่และทางกมธ.ฯส่งข้องสังเกตนี้ไปยังกระทรวงเกษตรฯ กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทางกระทรวงมีข้อชี้แจงว่าจะสามารถออกระเบียบในการกำกับดูแลการใช้เงินอุดหนุนอย่างไรได้บ้าง

“สำหรับกรณีเทียบเคียง เงินอุดหนุนที่ได้ส่งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งหากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการใช้เงินส่วนนี้จะต้องปฏิบัติตามระเบียบจัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัด ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย แต่ในส่วนของศูนย์ข้าวชุมชน ยังมีข้อห่วงใยในเรื่องนี้”นายณัฐพงษ์ กล่าว

นายณัฐพงษ์ กล่าวต่อว่า การใช้งบประมาณของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรมีส่วนที่น่าห่วงใยคือไม่เข้าข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งโครงการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องบินมีการเชิญชวนผู้เข้าร่วมประมูลถึง 3 ครั้ง ในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนม.ค. - พ.ย. ซึ่ง 3 ครั้งนี้ไม่มีผู้ยื่นซองแม้แต่รายเดียว ทำให้มีการปรับทีโออาร์และเงื่อนไขใหม่เพื่อให้มีผู้เข้าร่วมประมูลเพิ่มมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการปรับเงื่อนไขและทีโออาร์ในครั้งที่ 4 ตามคำชี้แจงอธิบดีกรมฝนหลวง ไม่ได้มีการปรับลดสเปคเครื่องบินที่จำเป็น เพียงแต่ปรับเงื่อนไขให้มีผู้เข้าร่วมเท่านั้น โดยปัจจุบันเจ้าที่ประมูลชนะโครงการนี้ซื้อเครื่องบิน 2 ลำ มูลค่า 1,188 ล้านบาท ซึ่งเอกชนรายนี้เคยเชิญผู้บริหารของกรมฝนหลวง ไปดูงานที่โรงงานผลิตเครื่องบิน ณ สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งปรากฏเป็นข้อเท็จจริงแล้วแต่พบว่างบประมาณที่ใช้ไปศึกษาดูงานเป็นงบที่บริษัทเอกชนออกให้ โดยราชการที่ไปศึกษาดูงานได้ใช้สิทธิ์การลาของราชการ ดังนั้น เป็นสิ่งที่กมธ.ฯ ตั้งข้อสังเกต ซึ่งตามคำชี้แจงได้รับฟังน้ำหนักและข้อเหตุผลทั้ง 2 ข้าง

“ทางอธิบดีกรมฝนหลวงได้ชี้แจงว่าก่อนที่จะซื้อเครื่องบินมูลค่าสูงขนาดนี้ ต้องแน่ใจก่อนว่าเครื่องบินที่จะจัดซื้อจัดจ้างมาใหม่ สามารถใช้งานได้จริง คิดว่าเหตุผลก็ฟังขึ้น ขณะเดียวกันมีหน่วยงานอย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าร่วมด้วย กมธ.ฯจึงสอบถามว่าลักษณะแบบนี้อาจเข้าข่ายการขัดกันของผลประโยชน์หรือไม่ เพราะการไปศึกษาดูงานไม่ได้ใช้งบหลวง ไม่ได้ออกไปดูงานตามระเบียบของส่วนราชการ แต่ใช้งบของเอกชน จึงได้ตั้งข้อสังเกตส่งไปยัง ป.ป.ช. เพื่อให้ป.ป.ช. ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช.ต่อไป“นายณัฐพงษ์ กล่าว

ประธานกมธ.ติดตามงบฯ กล่าวต่อว่า ในอนาคตทั้ง 2 ส่วนนี้ ในส่วนของกรมการข้าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนเรื่องนี้แล้ว โดยจะสิ้นสุดวันที่ 14 มี.ค. ซึ่งมติในที่ประชุมกมธ.ฯ เห็นพ้องว่าจะให้กลไก คณะกรรมการในกระทรวงทำงานก่อน และจะเรียกผลการสอบ หลังวันที่ 14 มี.ค. ส่วนกรมฝนหลวงวันที่ 21 ก.พ.นี้ ทางกรมฝนหลวงจะต้องเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการสอบสวนภายใน อย่างไรก็ตามทางกมธ.ฯจะติดตามทั้ง 2 กรมต่อไป

เมื่อถามว่าภายในที่ประชุมได้มีการสอบถามกรณีการตบทรัพย์ของอธิบดีกรมการข้าวหรือไม่ นายณัฐพงษ์ กล่าวว่า ข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ได้ใช้พื้นที่สื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ออกมาให้สัมภาษณ์ไปหลายครั้งแล้ว ซึ่งเนื้อหาหลักต้องการจะโฟกัสไปที่การใช้งบประมาณ​ในโครงการต่างๆ และเชื่อว่าหากโครงการเหล่านี้มีการตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความโปร่งใส เรื่องการตบทรัพย์ก็ไม่ต้องกังวล ตอนนี้สิ่งที่กมธ.ฯต้องการศึกษาคือการใช้งบของทั้ง 2 โครงการถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ ส่วนเนื้อหาของการตบทรัพย์บางคนที่ถูกพาดพิง ก็ได้เข้ามาชี้แจงด้วยเช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญในการพิจารณาครั้งนี้ ทั้งนี้ จากการพูดคุยในกรมการข้าวอาจไม่ได้เห็นถึงความเชื่อมโยงของคดีตบทรัพย์แต่อย่างใด แต่ส่วนที่เป็นช่องโหว่คือในโครงการบีซีจี ซึ่งจะขอให้ทางกระทรวงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หัวหน้าปชน.' โต้ กกต. ฟัน สส.ชลบุรี ข้อหาเล็กน้อย สั่งทีม กม. สู้คดี

'ณัฐพงษ์' แจง กกต. สั่งดำเนินคดี 'สส.ชลบุรี' ยื่นบัญชีรายจ่ายเลือกตั้งเท็จ ชี้ ปชน. เตรียมทีมกฎหมายไว้แล้ว เชื่อ สังคมมองออก ข้อหาเล็กน้อย กลั่นแกล้งการเมืองหรือไม่

'เท้ง' ลุ้น! ฉายาผู้นำฝ่ายค้าน เมินตอบ 'รัฐบาลพ่อเลี้ยง-แพทองโพย'

'เท้ง' ยิ้ม ปัดให้ความเห็น 'ฉายารัฐบาล-นายกฯ' บอกอยากฟังของตัวเองมากกว่า ชี้สื่อทำเนียบ-รัฐสภามีสิทธิ์ตั้งคำถาม พร้อมรับมาสะท้อนปรับปรุงการทำงาน

'นายกฯอิ๊งค์' ขึ้นแท่นนักการเมืองแห่งปี 'ผู้นำค้านเท้ง' ร่อแร่รั้งอันดับ 9

เปิดผลโพลนักการเมืองแห่งปี 67 'แพทองธาร ชินวัตร' ประชาชนชื่นชอบกว่า 15% ขณะที่่ผู้นำค้าน 'ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ' ร่อแร่ร่วงอันดับ 9 ได้แค่ 5%

'บิ๊กป้อม' เมินร่วมวง 'ดินเนอร์ฝ่ายค้าน' แค่ส่งตัวแทน พปชร.

นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) กล่าวถึงกรณีผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านรับประทานอาหารเย็น ในวันพุธที่ 18 ธ.ค.นี้

'เท้ง-ไหม' ชำแหละ 'นายกฯอิ๊งค์' เหมือนฝากงานรมต. มากกว่าแถลงผลงานรัฐบาล

นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชน พร้อมด้วย นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลงานรัฐบาลครบ 90 วัน เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา

อึ้ง! ปชช. 57% ไม่เชื่อมั่นฝ่ายค้าน 'ไหม' โดดเด่นสุด 'เท้ง' รั้งอันดับ 9 'ป้อม' บ๊วย

โพลชี้ 'ศิริกัญญา' โดดเด่นสุด สส.ฝ่ายค้าน แซง 'หัวหน้าเท้ง' อยู่อันดับ 9 ตามคาด 'ลุงป้อม' รั้งท้าย อึ้ง! ประชาชนไม่เชื่อมั่นการทำงานฝ่ายค้านกว่า 57%