อ่วมฝุ่นพิษในกทม. เกินมาตรฐานเกือบทุกเขต

13 ก.พ. 2567 – ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร

ประจำวันอังคารที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

: ตรวจวัดได้ 46.3-74.2 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 59 พื้นที่ คือ

1.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 74.2 มคก./ลบ.ม.
2.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 70.5 มคก./ลบ.ม.
3.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 69.3 มคก./ลบ.ม.
4.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 69.2 มคก./ลบ.ม.
5.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 69.2 มคก./ลบ.ม.
6.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 69.1 มคก./ลบ.ม.
7.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 68.7 มคก./ลบ.ม.
8.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 68.6 มคก./ลบ.ม.
9.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 68.4 มคก./ลบ.ม.
10.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 68.2 มคก./ลบ.ม.
11.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 67.3 มคก./ลบ.ม.
12.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 66.4 มคก./ลบ.ม.
13.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 65.8 มคก./ลบ.ม.
14.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 65.4 มคก./ลบ.ม.
15.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 65.3 มคก./ลบ.ม.
16.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 65.3 มคก./ลบ.ม.
17.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 64.8 มคก./ลบ.ม.
18.สวนหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 64.3 มคก./ลบ.ม.
19.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 63.1 มคก./ลบ.ม.
20.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 62.0 มคก./ลบ.ม.
21.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 62.0 มคก./ลบ.ม.
22.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 61.7 มคก./ลบ.ม.
23.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 61.7 มคก./ลบ.ม.
24.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 61.5 มคก./ลบ.ม.
25.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 61.1 มคก./ลบ.ม.
26.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 60.4 มคก./ลบ.ม.
27.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 60.0 มคก./ลบ.ม.
28.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 60.0 มคก./ลบ.ม.
29.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 60.0 มคก./ลบ.ม.
30.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 59.8 มคก./ลบ.ม.
31.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 59.5 มคก./ลบ.ม.
32.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 59.4 มคก./ลบ.ม.
33.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 59.2 มคก./ลบ.ม.
34.เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 57.9 มคก./ลบ.ม.
35.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 57.3 มคก./ลบ.ม.
36.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 56.7 มคก./ลบ.ม.
37.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 56.5 มคก./ลบ.ม.
38.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 56.5 มคก./ลบ.ม.
39.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 56.2 มคก./ลบ.ม.
40.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 56.1 มคก./ลบ.ม.
41.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 56.0 มคก./ลบ.ม.
42.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 55.6 มคก./ลบ.ม.
43.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 55.5 มคก./ลบ.ม.
44.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 55.4 มคก./ลบ.ม.
45.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 54.9 มคก./ลบ.ม.
46.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 54.5 มคก./ลบ.ม.
47.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 54.2 มคก./ลบ.ม.
48.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 53.0 มคก./ลบ.ม.
49.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 52.9 มคก./ลบ.ม.
50.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 52.5 มคก./ลบ.ม.
51.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 52.5 มคก./ลบ.ม.
52.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 52.0 มคก./ลบ.ม.
53.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ : มีค่าเท่ากับ 52.0 มคก./ลบ.ม.
54.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 51.9 มคก./ลบ.ม.
55.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 51.6 มคก./ลบ.ม.
56.สวนจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 51.6 มคก./ลบ.ม.
57.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 48.4 มคก./ลบ.ม.
58.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม : มีค่าเท่ากับ 47.3 มคก./ลบ.ม.
59.สวนลุมพินี เขตปทุมวัน : มีค่าเท่ากับ 46.3 มคก./ลบ.ม.
ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร
: ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ข้อแนะนำสุขภาพ:

คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

มีอากาศเย็นในตอนเช้า

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ช่วงวันที่ 13 – 15 ก.พ. 67 การระบายอากาศค่อนข้างอ่อน ประกอบกับอากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะปิด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงเพิ่มขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 16-21 ก.พ. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี อากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะค่อนข้างเปิดสลับปิด ส่งผลให้ค่าฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง และคาดการณ์วันนี้ มีอากาศเย็นในตอนเช้า

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวน 1 จุด เวลา 13.46 น. แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง
(เพลิงไหม้สงบเรียบร้อยแล้ว)

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน และขอเชิญชวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน โดยช่วยกันปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ “5 วิธีลดฝุ่น คุณก็ทําได้” 1. หมั่นทําความสะอาดบ้านด้วยวิธีเช็ดฝุ่น 2. งดเผาขยะ งดจุดธูป 3. ปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษดักจับฝุ่นละออง 4. เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ 5. ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ตรวจสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดํา เกินมาตรฐาน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอชูชัย' ชงยุทธศาสตร์แก้ PM2.5 หนุน HIA สร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น ภาคธุรกิจร่วมรับผิดชอบ

'หมอชูชัย' ชี้ปัญหาหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญ เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เสนอยุทธศาสตร์สนับสนุน HIA สร้างความเข้มแข็งอบจ.และชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ เรียกร้องภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบพัฒนาอย่างยั่งยืน

กรุงเทพโปรดิ๊วส นำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด หนุนปฏิบัติการ 9 มาตรการของรัฐบาล สู้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 บูรณาการพลังคู่ค้าพันธมิตร และคนไทยหยุดเผาแปลง

การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนระดับประเทศ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน

'ผู้ว่าฯ เชียงใหม่' นั่งไม่ติด! นำทีมแจงมาตรการปราบฝุ่น PM2.5

นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในการปฏิบัติการทางการแพทย์และบริการสาธารณสุข

'โฆษก ทส.' ซัดกลับก้าวไกล ซักฟอกด้อยค่า 'พัชรวาท' ยันลุยแก้ฝุ่นเต็มที่

'โฆษก ทส.' ป้อง 'พัชรวาท' ลุยแก้ฝุ่นพิษเต็มที่ ซัดกลับ 'ก้าวไกล' อภิปรายใส่ร้าย จ้องโจมตีด้อยค่า ไม่ทำการเมืองสร้างสรรค์