10 ก.พ.2567 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 10 - 13 กุมภาพันธ์ 2567) บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว ในขณะที่มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งเกิดขึ้นได้ในวันที่ 10 ก.พ. 67
หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลงอีก 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงในระยะนี้ สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้
จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงมีดังนี้
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567
ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ และตาก
ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และนครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ชลบุรี และระยอง
ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย
ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 10-16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะแรก ส่วนมากทางตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 – 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ส่วนในวันที่ 14 – 16 ก.พ. 67 อากาศเย็นมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.พ. 67 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12 – 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 23 – 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 16 ก.พ. 67 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2 – 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 – 36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 16 ก.พ. 67 มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 16 ก.พ. 67 มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 11 - 14 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 37 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 16 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 10 – 13 ก.พ. 67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 – 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 16 ก.พ. 67 มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับสุดท้าย เตือน 9 จังหวัด ระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 7 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
กรมอุตุฯ แจ้ง 'เหนือ-อีสาน-กลาง' อากาศเย็น 'ใต้' เจอฝนตกหนักถึงหนักมาก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาค
เหนือ-อีสาน อากาศเย็นตอนเช้า ภาคใต้ฝนตกหนัก ถึงหนักมากบางแห่ง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯเตือน 9 จังหวัดภาคใต้มีฝนตกหนัก หวั่นเกิดน้ำท่วมฉับพลัน
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 4 (304/2567) (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567) มีใจความว่า
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
'เหนือ-อีสาน' ยังเย็นต่อเนื่องส่วน 'ภาคใต้' ฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป