สภาฯถกญัตติด่วน ชงข้อเสนอรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน

31 ม.ค.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายปดิพัทธ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่1 เป็นประธานการประชุม พิจารณาญัตติด่วนด้วยวาจาให้สภาฯได้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะแก้รัฐบาลเพื่อกำหนดแนวทาง แก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด ของนายสุภกร ตันติไพบูลย์ธนะ สส.กทม.พรรคก้าวไกล และรวมญัตติลักษณะเดียวกันอีก2 ญัตติ ของน.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ สส.กทม.พรรคเพื่อไทย และนพ.ทศพร เสรีรักษ์ สส.แพร่ พรรคเพื่อไทย เพื่อพิจารณาไปในคราวเดียวกัน

โดยนายสุภกร กล่าวว่า ความรุนแรงในปัจุจบันเป็นความรุนแรงมที่หน้าเป็นห่วงมาก เป็นความรุนแรงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ไปจนถึงขั้นเสียชีวิต อย่างกรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมัธยม ย่านพัฒนาการ กรณีตะลุมบอลกลางโรงอาหารของเด็กนักเรียนที่จ.ชลบุรี และกรณีครูลงโทษเด็กนักเรียนอย่างพิศดารที่จ.สมุทรปราการ ทั้งสามกรณีนี้ทำให้เราเห็นว่ามีความรุนแรงแฝงตัวอยู่ในโรงเรียนซึ่งมาจกระบอบอำนาจนิยมที่กดทับเด็ก สะสม บีบคั้นเด็กทุกวัน ตลอดจนถึงการบลูลี่กันในโรงเรียนจนสั่งสมเป็นความเครียดและนำมาสู่การระเบิดอารมณ์แก้แค้นกัน ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่มากที่พวกเราควรหันมาใส่ใจให้มากขึ้นเพื่อหาทางออกและทำให้โรงเรียนกลับมาเป็นพื้นที่ปลอดภัยของนักเรียน และเป็นสถานที่ที่พ่อแม่ไว้วางใจได้อีกครั้ง ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะช่วงเวลาที่เกิดเหตุ แต่การศึกษาและวิจัยจำนวนมากพบว่าการใช้ความรุนแรงในโรงเรียนจะสร้างบาดแผลในระยะยาวทั้งต่อร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ถูกกระทำ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นตนไม่โทษครูแต่โทษฝ่ายบริหารที่ไม่ให้ความสำคัญไม่สนใจในเรื่องนี้เลย มีการอบรมซักซ้อมเพื่อรับมือเหตุการณ์ ไม่มีนโยบายที่ชัดเจน ที่มุ่งทำให้โรงเรียนปลอดภัย

ด้านน.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสียของเด็กนักเรียนที่ถูกทำร้ายช่วงที่ผ่านมา ซึ่งสร้างความสะเทือนใจอย่างมาก ดังนั้นเราต้องมาหาแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่าโยนหน้าที่นี้ให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ความรุนแรงในโรงเรียนเกิดบ่อยและเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ จากผลรายงานการวิจัยของโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด ที่ทำการสำรวจเด็ก 1.5 แสนคนทั่วประเทศ พบว่าเด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา อาชีวะศึกษา ปวช. ปวส.โดย 1 ใน 10 ประมาณ 7 หมื่นคนตกอยู่ในวังวนของการใช้กำลังความรุนแรง ใช้กำลังระหว่างเพื่อนด้วยกันเองหรือไซเบอร์บูลลี่ หลายครั้งนำไปสู่การทำร้ายตัวเองบ่อยครั้งมาก นอกจากเหตุการณ์ที่นักเรียนเป็นผู้กระทำแล้ว ยังมีกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจล่วงละเมิดทางเพศกับนักเรียนหญิงขณะเดินทางไปโรงเรียน เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย ทำไมจึงมีเหตุการณ์ที่เราพยายามป้องกันแต่เกิดถี่ขึ้น ดังนั้นพวกเราและรัฐบาลต้องร่วมมือกันหาแนวทางป้องกันเหตุร้าย ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้อีก ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนต้องหยุดความรุนแรงในโรงเรียน สร้างพื้นที่ในโรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัย

หลังเปิดให้สมาชิกอภิปรายแสดงความคิดเห็น สส.ทั้งหมด เห็นไปในแนวทางเดียวกันว่าสภาฯสมควรส่งข้อเสนอและและแนวทาง ให้รัฐบาลเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน เด็กและเยาวชนต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผงะ สังคมไทย! สตรีเหยื่อความรุนแรง แจ้งความพุ่งปีละ 3 หมื่นคน

กสม.ร่อนสาร  เนื่องในวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล ปี  2567 เรียกร้องรัฐบาลขับเคลื่อนป้องกัน ความรุนแรงในครอบครัวเป็นวาระแห่งชาติ หนุนสังคมต้องช่วยกันดูแลไม่ปล่อยนิ่งเฉย

'ทวี' สวมบท สส. รับ 'คดีตากใบ' ไม่เป็นธรรม ไร้เงาผู้ต้องหา

'ทวี' ชี้ 'ตากใบ-ไฟใต้' ทุกภาคส่วนต้องร่วมหาทางออก ย้ำสังคมขาดความยุติธรรมมีความแตกแยก ผู้มีอำนาจอาจอยู่ไม่ได้ เร่งเยียวยาจิตใจคนชายแดนใต้

สภาฯถกด่วน 'คดีตากใบ' ก่อนหมดอายุความเที่ยงคืนนี้

สภาฯถกด่วน 'คดีตากใบ' หมดอายุความเที่ยงคืนนี้ 'รอมฏอน' ตั้งคำถามจำเลยลอยนวลต้องรับผิดชอบหรือไม่ 'กมลศักดิ์' ขอบคุณนายกฯ แสดงความเสียใจ ขอรัฐบาลแก้กม.ไม่ให้ขาดอายุความ

'รองฯพิเชษฐ์' แจง ชิงปิดประชุมรายงานนิรโทษกรรม ตัดสินใจถูกต้องแล้ว

รองฯพิเชษฐ์ แจง ชิงปิดประชุมก่อนลงมติรายงานนิรโทษกรรม ตัดสินใจถูกต้องแล้ว เหตุข้อมูล 2 ฝ่ายซ้ำซาก สัปดาห์หน้าค่อยมาว่ากันใหม่ ยัน เป็นประธานฯ ไม่ได้เลือกข้าง เหตุทุกอย่างชัดเจนหมดแล้ว จวกกลับ อย่าเอาสถานการณ์ตัวเองเป็นที่ตั้ง

สภาร่ำไห้!ถกญัตติด่วนเพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษา

สภาถกญัตติด่วนเหตุบัสทัศนศึกษามรณะ 'เจเศรษฐ์' สะอื้น บอกไม่ขอเป็นบทเรียนแล้วแต่ให้นำประสบการณ์มาสู่การแก้ไขจริง ด้าน 'ทนายแจม' ชื่นชมรัฐบาลจัดการรวดเร็ว อัดสื่อหิว รีบเข้าพื้นที่ก่อนจิตแพทย์