นักวิชาการเผย 'ข้อดี-ข้อเสีย' บางประการผังเมืองใหม่ กทม.

25 ม.ค.2567 - นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อผังเมืองใหม่ กทม.ข้อดีและข้อเสียบางประเด็น ระบุว่า ร่างผังเมือง กทม.จะประกาศใช้ปี2568มีการก่อสร้างและปรับปรุงถนนซอยเดิมที่คับแคบขนาดไม่เกิน 10 เมตรให้กว้างกว่าเดิมเพื่อสะดวกต่อการสัญจรการระบายปริมาณจราจรที่แออัด โดยมีการขายและตัดถนนใหม่ถึง 148 สาย กว่า 600 กม.คาดว่าสร้างใหม่จริง 53 สาย จะมีการทะลวงตรอกซอกซอยต่างๆ มากกว่า 100 แห่งให้มีความกว้างของถนนเกิน 12 เมตร สิ่งที่ตามมาคือ

1.ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดคือ ข้อ 2 ที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดินนั้นยาวไม่น้อยกว่า 12.00 เมตร ติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ทำให้มีอาคารขนาดใหญ่พิเศษเหมือนแอชตันอโศก สามารถมาตั้งบนถนนเส้นนี้ได้ เกิดการจราจรหนาแน่นติดขัดหากมาตั้งในหมู่บ้านจัดสรรยิ่งทำให้เกิดความวุ่น วายมากขึ้นไม่สงบสุขและไม่น่าอยู่อาศัยอีกต่อไป

2.ข้อเสีย พื้นที่เดิมอาจจะถูกเวนคืนเพื่อทำถนนประชาชนเจ้าของพื้นที่เดิมขายต่อไม่ได้ราคาที่ดี เพราะผู้ซื้อรายใหม่มีความกังวลต่อแผนขยายหรือสร้างถนนใหม่ของรัฐซึ่งไม่แน่ชัดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่...

ส่วนข้อดีคือ ราคาที่ดินขยับขึ้นสร้าอาคารสูงในซอยได้โดยเป็นไปตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.เอ้' ลงพื้นที่พญาไท รับฟังปัญหาผังเมืองใหม่ ประชาชนสุดช้ำ แนะผู้ว่าฯ ต้องจริงใจ

ดร.เอ้ ลงพื้นที่พญาไท รับฟังปัญหาผังเมืองใหม่ ประชาชนสุดช้ำ แนะผู้ว่าฯ ต้องจริงใจ เปิดพื้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม อย่าเอื้อประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

เตรียมพร้อม! ราคาประเมินที่ดินใหม่กำลังมา 'ธนารักษ์'ชี้ทั้งประเทศขึ้นเฉลี่ย 8.93%

เตรียมพร้อม!! “ธนารักษ์” ประกาศเริ่มใช้บัญชีราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบใหม่ มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 2566 แจงยิบราคาประเมินที่ดินใหม่ทั้งประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8.93% ส่วนราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างพุ่ง 6.21% สุดปัง! ที่ดิน กทม. ทะยานอีก 2.76%