22 ม.ค. 2567 – กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 22 – 31 ม.ค. 67 อัปเดตจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :
ช่วง 22 – 26 ม.ค. มีมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมภาคอีสานและทะเลจีนใต้ (ค่ำๆ วันนี้) ซึ่งส่วนใหญ่ลงทะเลทำให้ในช่วงแรกๆ มีลมฝ่ายใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก กทม. ปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน ส่วนระดับบน (700hPa: 3 กม.) มีกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน ทำให้มีฝนเกิดขึ้นบางแห่งบริเวณดังกล่าว อุณหภูมิบริเวณภาคอีสานลดลง 3-5 องศาเซลเซียส (ซ.) ส่วน กทม.และปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย (1 – 2 ซ.) สำหรับภาคใต้ ยังมีฝนเพิ่มขึ้นและมีตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง คลื่นลมแรงขึ้นหลังวันที่ 23 ม.ค. 67
ช่วง 27 – 31 ม.ค. 67 มวลอากาศเย็นมีกำลังอ่อนลง ลมมีกำลังอ่อน ทิศทางมีแปรปรวน มีลมใต้ ตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่วนลมที่ระดับ 700 hPa ยังมีขอบของลมตะวันตก พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสานตอนบน อุณหภูมิสูงขึ้น เมฆเพิ่มขึ้น (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้สถานการณ์ปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังแรง ซึ่งทำให้สภาวะลมหนาว ฝน และพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ).
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
'เหนือ-อีสาน' ยังเย็นต่อเนื่องส่วน 'ภาคใต้' ฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.1 พายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน
พายุไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง