“ธรรมศาสตร์” เจ้าภาพการจัดประชุมทางวิชาการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย The Future of Higher Education ประกาศเปิดตัว “ท่าพระจันทร์ Metaverse City” เนรมิตพื้นที่ 50 ไร่ ตอบโจทย์การเรียนรู้-ท่องเที่ยว
24 ธ.ค.2564 - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดการประชุมทางวิชาการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ประจำปี 2564 The Future of Higher Education เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2564 พร้อมทั้งแถลงข่าวความร่วมมือในการพัฒนากำลังคน พัฒนาทักษะ การสร้างความปลอดภัย การป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธาน ทปอ. รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มธ. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม น.อ.อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ผศ.ดร.ภุชงค์ อุทโยภาค ประธานคณะกรรมการยุทศาสตร์การปรับเปลี่ยนสู่ความเป็นดิจิทัลของสถาบันอุดมศึกษาไทย ทปอ. ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ
ศ.ดร.บัณฑิต เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ความรู้สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ความก้าวหน้า และเจริญเติบโตต่อไป โดย Metaverse เป็นสิ่งที่ออกมาล่าสุด แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็มี Cryptocurrency, Blockchain, AI ฯลฯ
ศ.ดร.บัณฑิต กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มรวดเร็วกว่าเดิมมาก ทำให้เกิดการเปิดกว้างของความรู้ที่สามารถเข้าถึงได้ ฉะนั้นการสอนแบบเดิมที่ความรู้ทั่วไปต้องผ่านครู-อาจารย์นั้นจะด้อยค่าลงอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นระบบการเรียนรู้จึงต้องเปลี่ยนแปลง ไม่ได้อิงจากการสอนเท่านั้น และระบบที่มีอยู่เดิมต้องยืดหยุ่น ส่วนตัวมั่นใจว่า ด้วยระบบที่ยืดหยุ่นมากขึ้นจะก้าวทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้
รศ.เกศินี กล่าวว่า โลกในอนาคตจะหมุนเร็วขึ้นและแคบขึ้น จะเกิดสิ่งที่เรียกว่าโลกซ้อนโลกในรูปแบบ Metaverse ฉะนั้นภายใต้ความไม่แน่นอนของในโลกที่ผันผวน ซับซ้อน และคลุมเครือ ทางสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยต่างๆ จะร่วมกันระดมสมอง เพื่อมองไปข้างหน้าอย่างรอบด้าน และช่วยกันประเมินว่ามหาวิทยาลัยจะต้องปรับตัวอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวคิดว่าหัวใจสำคัญของคำตอบคือความคล่องตัวรวมไปถึง Sandbox ที่จะทำให้การเรียนรู้พัฒนาผ่านประสบการณ์การลงมือทำ ความสำเร็จ ความผิดพลาด และพร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปแบบไม่สะดุด ภายใต้ระบบและพื้นที่ที่ปลอดภัยที่เอื้อให้ทุกคนสามารถทดลองสิ่งใหม่ได้โดยไม่เจ็บตัว ไม่สร้างความเสียหาย หรือใช้ต้นทุนที่มากเกินไป
นอกจากนี้ เพื่อรองรับการเรียนรู้แห่งอนาคต ในปีหน้า มธ.จะเปิดตัว “ท่าพระจันทร์ Metaverse City” ขึ้น โดยจะปรับพื้นที่ท่าพระจันทร์ 50 ไร่ ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ในเรื่องการเมืองไทย ศิลปะ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ที่จะตอบโจทย์ทั้งนักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยว ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็จะยกระดับไปยัง มธ. ลำปาง-พัทยา Metaverse City ต่อไป
รศ.เกศินี กล่าวว่า มธ.ได้จัดเตรียม Co-Working space ที่จะเป็นชุมชนส่งเสริมการสร้างเครือข่าย และการเรียนรู้ไปจนถึงวันที่นักศึกษาสามารถระดมทุน ขยายกิจการไปสู่ความเป็น Unicorn ได้ และยังได้สร้างความร่วมมือในการพัฒนากำลังคน พัฒนาทักษะ การสร้างความปลอดภัย การป้องกัน รับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ปอท.) 4 เครือข่ายด้วย
ทางด้าน รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มธ. เปิดเผยว่า สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) ระบุว่า เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาจะทำให้งานจำนวนมากหมดความจำเป็นและหายไป คนจะตกงานมหาศาล โดยในอีก 5 ปีข้างหน้า งานจะหายไปกว่า 80 ล้านตำแหน่ง แต่จะมีงานที่เพิ่มขึ้นมาอีก 97 ล้านตำแหน่ง หากมหาวิทยาลัยจะเดินหน้าแบบเดิมก็จะไม่ตอบโจทย์ คนที่ผลิตออกไปก็อาจจะไม่มีงานทำ เพราะงานที่เคยมีในปัจจุบันจะหายไปหมด
“โจทย์ใหญ่คือหากมหาวิทยาลัยคิดว่าจะทำหน้าที่ผลิตคนออกไปเพื่อเป็นแรงงานในทุกอุตสาหกรรม มันจะเกิดปรากฏการณ์คนไม่มีงานทำ เพราะเทคโนโลยีเข้าไป request งานของเขา ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีก็ทำให้เกิดงานงอกขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ไม่มีคนที่มีทักษะจะเข้าไปทำ ด้านหนึ่งคนตกงานเพราะไม่มีงานทำ อีกด้านหนึ่งก็หาคนทำงานในงานที่ต้องการให้ทำไม่ได้” รศ.ดร.พิภพ ระบุ
รศ.ดร.พิภพ กล่าวอีกว่า การทำงานจะต้องเจอทั้งคนในประเทศ หรือคนที่มาจากต่างประเทศก็สามารถทำงานร่วมกันได้ เพราะความหลากหลายจะเป็นเรื่องที่สำคัญในอนาคต ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องปลูกฝัง 3R คือ recognized การยอมรับ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะเหมือนกัน Respect เคารพความต่าง ทั้งรูปแบบการเรียนรู้ การพูดจา สรีระทางร่างกาย ถ้าไม่ยอมรับและเคารพความต่างจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ และ reciprocate การตอบแทน เมื่อสามารถเคารพผู้อื่นก็จะได้ความเคารพตอบแทนรศ.เกศินี วิฑูรชาติ
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"สิรภพ" รับรางวัล "ศิษย์เก่าผู้ทรงคุณค่าต่อสังคม"เนื่องในวันธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2567 นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณ “ศิษย์เก่าผู้ทรงคุณค่าต่อสังคม” ในโอกาสวันสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
'ธรรมศาสตร์'ฉลอง90ปี จัดใหญ่'กีฬามหาวิทยาลัยฯครั้ง50' มี126สถาบันฯร่วม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 50 "ธรรมศาสตร์เกมส์" (Thammasat Games 2025) ภายใต้แนวคิด "Unity of diversity, Victory for all - รวมความหลากหลาย สู่ชัยชนะเพื่อคนทั้งมวล” ตั้งเป้าหมายผลักดันศักยภาพนักกีฬาไทยให้ก้าวไกลไปสู่ระดับโลก พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการยอมรับความหลากหลาย การเคารพในความแตกต่าง สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ผ่านตราสัญลักษณ์การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ รวมทั้งสนับสนุนสร้างสุขภาวะที่ดี ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 18 มกราคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ชวนลูกแม่โดมร่วมงาน “วันธรรมศาสตร์ 90 ปี 2567” ชมรายการพิเศษทางโทรทัศน์เนื่องในวันธรรมศาสตร์ 9 ธันวาคม และสังสรรค์รำลึกความหลัง “วันธรรมศาสตร์ 10 ธันวาคม”
สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร นายกสมาคม ชวนลูกแม่โดมร่วมงาน “วันธรรมศาสตร์ 90 ปี 2567” ชมรายการพิเศษทางโทรทัศน์เนื่องในวันธรรมศาสตร์ คืนวันที่ 9
'บ้านแสนอยู่ดี' ที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตร นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อคนทั้งมวล
แม้ว่าที่อยู่อาศัยจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ หากแต่มีที่อยู่อาศัยจำนวนไม่น้อยที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์' ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์