รอง อธ.อัยการสอบสวนฯ เผยข้อกฎหมาย เคสลุงเปี๊ยก!

18 ม.ค.2567 - จากกรณีที่ปรากฎคลิปเสียงเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน สถานีตำรวจภูธรอรัญประเทศ ได้มีการบังคับขู่เข็ญ ให้นายปัญญา คงแสนคำ หรือลุงเปี๊ยก รับสารภาพในคดีฆาตรกรรม นางสาวบัวผัน ตันสุ ภรรยาของตนเอง ซึ่งหากข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นไปตามที่ระบุจะเข้าข่าย ความผิดตามพรบ. ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 หรือไม่นั้น

ผู้สื่อข่าวถามความเห็นข้อกฎหมายไปยัง นายวัชรินทร์ ภาณุรัตน์ รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบตาม พรบ.ดังกล่าวโดยตรง ได้ให้ความเห็นไว้น่าสนใจว่า ถ้าเป็นข้อเท็จจริงตามข่าวหลักการของการจับกุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยหลักแล้ว ต้องพิจารณา ตาม พรบ. ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ฯโดยเฉพาะบทนิยามมันมีคำว่าควบคุมตัว ซึ่งการควบคุมตัวก็คือการจับ การควบคุมตัว ขัง การกักขังหรือกักตัว หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการจำกัดเสรีภาพในร่างกายของบุคคล ฉนั้นต้องไปดูว่ากรณีนี้เป็นการจับกุมควบคุมตัวหรือไม่ หากเป็นการจับกุมควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องแจ้งการจับกุมให้กับอัยการจังหวัดสระแก้วและนายอำเภอ พรบ. ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ

มาตรา 22 แต่ถ้าเกิดไม่ได้ดำเนินการ ก็ถือว่าอันนี้เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องต่อกฎหมายตามมาตรา 22

ที่ถามว่าการเชิญตัวมาแล้วไปแจ้งข้อหาแล้วไปกักขัง เป็นการจับกุมเเละถือว่าเป็นผู้ต้องหาเเล้วหรือไม่

ก็ต้องถือว่าเขาเป็นผู้ต้องหาอยู่ อันนี้คือประเด็นที่1.โดยหลักการต้องแจ้งการจับ ประเด็นที่2 ก็คือว่าถ้าเกิดมีการจับมาแล้วหรือมีการควบคุมตัวอย่างที่ว่า เเม้จะบอกว่าไม่ได้จับก็ตามแต่เมื่อมีการกระทำโดยการทำให้เขาถูกจำกัดเสรีภาพในร่างกาย ถ้าเกิดมีการกระทำดังกล่าว แล้วถามว่าจะมีความผิดตามพรบ. ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯหรือไม่ เราต้องไปดูมาตรา5 ซึ่งบัญญัติไว้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมาณอย่างร้ายแรงทั้งร่างกายและจิตใจเพื่ออะไรก็เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือคำรับสารภาพจากผู้กระทำผิดอย่างนี้ก็อาจจะถือได้ว่าเข้าข้อกฎหมายมาตรา 5 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องให้ข้อเท็จจริงชัดก่อนว่าเจ้าหน้าที่มีพฤติกรรมการกระทำดังกล่าวจริง ถ้ามีก็ต้องไปพิจารณา ตามมาตรา5ของ พรบ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ

ขั้นตอนต่อไปก็คือทางผู้เสียหายสามารถดำเนินคดีได้ถ้ามีการกระทำความผิด โดยใช้มาตรา 31 พรบ.ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายฯ คือ 1.แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนหรือ 2.ไปแจ้งต่อปลัดอำเภอ นายอำเภอหรือผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ได้ เเละ3 แจ้งต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอได้ ซึ่งในมาตราที่31 บัญญัติว่าต้องส่งเรื่องให้อัยการเข้ามากำกับและตรวจสอบการสอบสวน

แต่ถ้าผู้เสียหายไปแจ้งที่อัยการจังหวัดนั้นๆ ทางอัยการจะมีอำนาจสอบสวนได้เองตาม พรบ.ฉบับนี้เลย ดังนั้นข้อเท็จจริงต้องปรากฏชัดก่อนว่ามีการกระทำดังกล่าวหรือไม่ถ้ามีก็ถือว่าเข้าข้อกฎหมาย แต่ถ้าข้อเท็จจริงไม่มีตามที่กล่าวมาก็ไม่เข้าข้อกฎหมายตาม พรบ.อุ้มหายฯ

รองอธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน ยังตอบคำถามเรื่องอำนาจในการร้องตาม พรบ.อุ้มหายฯว่า จริงๆแล้วเรื่องนี้เป็นอาญาแผ่นดินก็คือสามารถที่จะดำเนินคดีได้เลย ถ้ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นสามารถที่จะไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อหน่วยงานที่ได้กล่าวไปได้ เเต่โดยหลักการ เราต้องพาผู้ที่เป็นผู้เสียหายไปให้การ สมมุติว่าเป็นนักข่าวเป็นคนไปร้อง ไปให้การว่ามีการเกิดเหตุขึ้นแต่เราไม่มีการพาผู้ที่ถูกกระทำไปเขาก็จะไม่สามารถที่จะสอบได้ว่าเป็นจริงหรือไม่อย่างไร ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางผู้เสียหายให้ความร่วมมือหรือไม่ ถ้าลุงเปี๊ยกไม่ได้ให้ความร่วมมือว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นทุกอย่างมันก็ดำเนินการอะไรไม่ได้

ยกเว้นอย่างเดียวต้องไปพิจารณาว่าการกระทำดังกล่าวเนี่ยเป็นการจับกุมตัวตามมาตรา 22 เเละได้ดำเนินการตามกฎหมายเเล้วหรือไม่ เรื่องนี้มีการไปฝากขังต่อศาลแล้วก็ต้องถือว่าลุงเปี๊ยกในมุมของการสอบสวนก็ถือว่าลุงเปี๊ยกเป็นผู้ต้องหาแล้วถูกคุมตัวแล้วว่าเป็นผู้ต้องหาแน่นอน

นายวัชรินทร์ ยังให้ความรู้ในประเด็นเรื่องความรับผิดของผู้ปกครอง ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรา 420 ประมวลแพ่งเเละมาตรา 429 ก็คือผู้ปกครองหรือว่าหรือว่าคนที่เป็นบิดา มารดาจะต้องดูแลผู้เยาว์เพื่อไม่ให้ไปเกิดการละเมิดขึ้นมาเว้นแต่จะพิสูจน์ว่าได้ใช้ความระมัดระวังแล้ว ตรงนี้จะต้องอยู่ที่กระบวนการนำสืบอันที่ต้องไปฟ้องทางแพ่ง เเต่ปัจจุบันนี้หากอัยการฟ้องยื่นฟ้องเป็นคดีต่อศาล อัยการสามารถขอตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 44 / 1 ได้โดยผู้เสียหายสามารถยื่นขอค่าเสียหายค่าอุปการะเลี้ยงดูค่าทำศพได้เลย ไม่ต้องไปฟ้องทางแพ่งตะหากเเล้ว ถ้าอัยการสั่งฟ้องคดีแล้วอัยการจะขอตามมาตรา 44 / 1 ได้

 

โดยวิธีการปฏิบัติอัยการจะแจ้งญาติถามว่าจะเรียกค่าสินใหม่ทดแทนหรือความเสียหายต่อชีวิตเป็นจำนวนเท่าไหร่แล้วอัยการก็จะฟ้องไปตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 288 เพื่อให้ศาลลงโทษจำคุกพร้อมกับเรียกร้องค่าเสียหายตามมาตรา 44 / 1 เรียกค่าเสียหายที่ทำให้เกิดความตายเกิดขึ้นได้

ส่วนผู้ที่ค้องชดใช้คือการฟ้องเราฟ้องเด็กเเต่ค่าเสียหายไปบังคับคดีเอาผู้ปกครองก็ต้องเอามารับผิดอยู่แล้ว

ในส่วนอาญาผู้ปกครองต้องมีโทษอาญาด้วยหรือไม่นั้น

มันจะมีพรบ.คุ้มครองเด็กฯ บัญญัติไว้ว่าผู้ปกครองถ้าไม่ดูแลเด็กปล่อยให้เด็กกระทำผิดก็จะมีอัตราโทษจำคุก 3 เดือนซึ่งอันนี้จะต้องเป็นการดำเนินคดีโดยพนักงานสอบสวนร้องทุกข์เข้ามา ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดี ตามพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

ซึ่งเป็นคดีอาญาทั่วไปที่ดำเนินคดีผู้ปกครองของไม่ได้ฟ้องเด็ก ซึ่งโดยหลักการแล้วผู้ปกครองปล่อยประละเลย ตามพรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 มาตรา 26 (3) บัญญัติไว้ว่า ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรซึ่งจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดเป็นโทษทางอาญาลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน เป็นคดีศาลแขวงเป็นการ ดำเนินคดีแยกจากคดีเด็กที่อยู่ในศาลเยาวชน ซึ่งเรื่องการฟ้องผู้ปกครองมันต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า ส่งเสริมให้เด็กยินยอมหรือประพฤติตนไม่สมควร เด็กมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทำผิด

เมื่อถามว่า ถึงกรณีที่ปรากฎเป็นข่าวว่าหากมีพ่อเป็นตำรวจสายสืบมีการช่วยเหลือให้ผู้อื่นรับโทษเเทนหากเป็นข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร

นายวัชรินทร์กล่าวว่าหากเป็นจริงเรื่องนี้ต้องไปถูกดำเนินคดีอาญามาตรา 200 เป็นความผิดเกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่แทนคนละเรื่องกันกับที่จะฟ้องผู้ปกครองไม่ปล่อยปละดูเเล รองอธิบดีอัยการสอบสวนระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัยการร่วมสอบจับเรือค้าน้ำมันเถื่อน ต้นก.ค. นั่งฮ.ลุยพื้นที่จริง ยังไม่มีชื่อ 'เสี่ยจ.' ในสำนวน

รองอธ.อัยการ ‘วัชรินทร์’ อัยการร่วมสอบจับเรือค้าน้ำมันเถื่อน ชี้ประเด็นจุดจับกุม เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญคดี ต้นเดือนก.ค.นั่ง ฮ.ลุยพื้นที่จริง ยังไม่มีชื่อ ‘เสี่ยจ.’ในสำนวน

อัยการสอบ 'ลุงเปี๊ยก' ชี้รูปถ่าย จดจำคนทรมานได้ครบหมด คดีจับแพะฆ่าป้าบัวผัน

อัยการวัชรินทร์ บุกสอบปากคำลุงเปี๊ยก เผยเจ้าตัวจำได้หมดใครร่วมบังคับทรมานบ้าง ยันป้ากบไม่ได้เป็นเมียคนเข้าใจผิดไปเอง

เรื่องไม่เงียบ! อสส. เซ็นตั้ง 'วัชรินทร์' หน.ชุดกำกับสอบ 'คดีลุงเปี๊ยก'

นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์ อัยการสูงสุด ออกคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ 373/2567 แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบหรือกำกับการสอบสวน กรณีนายปัญญา หรือลุงเปี๊ยก

โฆษก DSI เผยขั้นตอน รับกรณี ‘ลุงเปี๊ยก’ เป็นคดีพิเศษ

จากกรณีนายปัญญา คงแสนคำ อายุ 54 ปี หรือลุงเปี๊ยก (สามีผู้ตาย) เป็นแพะในคดีเกิดเหตุฆาตกรรมอุกฉกรรจ์ในจังหวัดสระแก้ว น.ส.บัวผัน ตันสุอายุ 47 ปีถูกกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 13-16 ปี จำนวน 5 ราย ซึ่งมีลูกชายของรองสารวัตรฝ่ายสืบสวน สภ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ร่วมกันทำร้ายร่างกายป้าบัวผันจนถึงแก่ชีวิต ก่อนนำร่างทิ้งสระน้ำ