กทม.ขานรับแก้ไขฝุ่น PM2.5 ชวนประชาชนร่วมแคมเปญ 'รถคันนี้ลดฝุ่น'

โฆษกรัฐบาลเผย กทม. ขานรับการทำงานเร่งลดผลกระทบ แก้ไขสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ชวนประชาชนร่วม ร่วมแคมเปญ 'รถคันนี้ลดฝุ่น'

12 ม.ค.2567- นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลปัญหาฝุ่น โดย กทม. ขานรับมอบจุลินทรีย์พิเศษให้กับเกษตรกร และเชิญชวนประชาชนคนกรุงร่วมแคมเปญ “รถคันนี้ลดฝุ่น” เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง / ไส้กรอง ลดฝุ่น PM2.5

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา ลดความรุนแรง ปัญหาสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยต่อการเผาชีวมวลจากการเกษตรมากขึ้น ทั้งในพื้นที่กทม.หรือปริมณฑล กทม.จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบจุลินทรีย์พิเศษให้กับเกษตรกร ซึ่งเป็นสูตรพิเศษที่สามารถหมักชีวมวลได้รวดเร็วขึ้นจาก 30 วัน เหลือเพียง 7 วัน เพื่อให้ประชาชนลดจำนวนฟางข้าวที่ต้องเผาลงได้ รวมทั้งได้ร่วมกับ 15 บริษัทค่ายรถยนต์และผู้ค้าน้ำมัน จัดแคมเปญ “รถคันนี้ลดฝุ่น” ชวนคนกรุงเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง / ไส้กรอง นอกจากร่วมกันช่วยลด PM2.5 ยังผลดีต่อรถยนต์ของผู้ที่เข้าร่วมแคมเปญ

จากข้อมูลของ กทม. โครงการ "รถคันนี้ลดฝุ่น" ข้อมูลถึงวันที่ 9 มกราคม 2567 มีรถเข้าร่วมโครงการเปลี่ยนไส้กรองแล้ว 41,488 คัน ช่วยลดฝุ่น PM2.5 ได้ 2% ซึ่งมีการตั้งเป้าเปลี่ยนไส้กรองรถจำนวน 300,000 คัน เพื่อช่วยลดฝุ่น PM2.5 จากภาคการจราจรได้ 15%

ทั้งนี้ ในส่วนของ กทม. ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านแอปพลิเคชัน AirBKK เว็บไซต์ ww.airbkk.com

“นายกรัฐมนตรีห่วงใยประชาชนต่อสถานการณ์ PM2.5 โดยได้กำหนดแนวทางการทำงานให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหามาตรการลดผลกระทบ แก้ไขปัญหา เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน โดยนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการในทุกช่องทางเพื่อแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น ทั้งนี้ ในช่วงที่ค่าคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพขอให้ประชาชนระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำแนะนำ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง” นายชัย กล่าว

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด