โฆษก รบ. แจงกทม.ยกเลิกเฉพาะสวดมนต์ข้ามปี รัฐบาลอนุญาตเอกชนจัดได้ตามเดิม

โฆษกรัฐบาลชี้แจง กทม. ยืนยันเอกชนที่ได้รับอนุญาตแล้ว สามารถ​จัดงานช่วงปีใหม่ได้ แต่กำชับให้คุมเข้ม มาตรการป้องกันโควิด-19 ที่ยกเลิกเฉพาะงานกทม. เป็นเจ้าภาพ คือสวดมนต์ข้ามปีและงานรื่นเริง ถ. ลาดหญ้า

23 ธ.ค.2564 - นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย จากกรณีที่มีความเข้าใจผิดจากกระแสข่าว กรุงเทพมหานครแถลงข่าวยกเลิกการจัดงานเทศกาลขึ้นปีใหม่นั้น พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้รายงานข้อเท็จจริงให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหมในฐานะ ผอ. ศบค. ทราบว่า กรุงเทพมหานครงดการจัดงานในส่วนงานที่เป็นเจ้าภาพจัดเองในปีนี้ ซึ่งมีเพียง 2 งาน คือ 1.งานสวดมนต์ข้ามปี ที่บริเวณด้านหน้าลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร และ 2.งานรื่นเริง ที่ถนนลาดหญ้า ส่วนภาคเอกชนที่ได้ยื่นขออนุญาตจัดงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และได้รับอนุญาตแล้วสามารถจัดงานได้ โดยกำชับให้เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการเฝ้าระวังโควิด -19 ตามที่ ศบค. ได้กำหนดไว้

นายธนกร ปฏิเสธกระแสข่าวที่ว่ารัฐบาลประกาศยกเลิกกิจกรรมปีใหม่ทั้งหมดนั้น ไม่เป็นความจริง โดยยังคงอนุญาตให้มีการจัดงานกิจกรรมในช่วงวันปีใหม่ได้ ทั้งนี้ยึดตามมติ คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 20/2564 ที่มีมติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาที่อนุญาตให้ทุกพื้นที่ให้เปิดบริการและดื่มสุราได้ในคืนวันที่ 31 ธ.ค. 64 - 1 ม.ค. 65 ได้ไม่เกิน 01.00 น. เฉพาะร้านที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก มาตรการจัดงานปีใหม่ตั้งแต่ 1,000 คน ขึ้นไป ผู้ร่วมงานต้องฉีดวัคซีน 2 เข็ม และ/หรือ มีการตรวจ ATK ทั้งนี้ ยังสามารถจัดงานกิจกรรมในวันปีใหม่ได้ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ที่มีจัดงาน/กิจกรรม เป็นการบริหารจัดการของแต่ละพื้นที่ขึ้นกับ คณะกรรมการ ในระดับจังหวัดที่เห็นสมควร นายกรัฐมนตรีกำชับให้ทุกพื้นที่ติดตามผู้จัดงานให้ปฏิบัติตามประกาศ ศบค. และมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง Covid Free Setting การคัดกรองผู้เข้าร่วมงาน การแสดงผลตรวจ ATK อย่างเคร่งครัด ส่วนผู้ร่วมงานก็ต้องปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention การเว้นระยะ การสวมหน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงอยู่ในที่แออัดด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด