ดีอีเอสเตือนชุดตรวจ ATK แบบอม ผ่านอย. เป็นข้อมูลเท็จ

ดีอีเอส เผยข่าวปลอมชุดตรวจ ATK แบบอม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว

23 ธ.ค. 2564 นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ตามที่มีการโฆษณาชวนเชื่อเรื่อง ชุดตรวจ ATK แบบอม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

จากกรณีแนะนำโฆษณาขายชุดตรวจโควิด-19 โดยระบุว่าชุดตรวจ ATK แบบอม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ชี้แจงว่าปัจจุบัน อย. ขึ้นทะเบียนชุดตรวจ ATK แบบตรวจจากโพรงจมูกและตรวจจากน้ำลาย โดยรูปแบบการเก็บขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานแต่ละยี่ห้อ แต่ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนชุดตรวจ ATK ที่เก็บตัวอย่างจากน้ำลายโดยใช้การอม เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัยในด้านต่างๆ เช่น การเกิดพิษเมื่อใช้ติดต่อกันหลายครั้ง หรือการยืนยันว่าจะไม่มีสารเคมีอันตรายที่อยู่บนแถบตรวจไหลกลับสู่ปากขณะอม หรือการรับรองการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี หากกัดจนชุดตรวจเกิดความเสียหายจะไม่มีสารเคมีอันตรายรั่วซึมออกมา ขอให้ประชาชนเลือกใช้ชุดตรวจ ATK ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. และปฏิบัติตามคู่มือคำแนะนำการใช้งานให้ถูกต้องตามชุดตรวจแต่ละยี่ห้อ เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการตรวจ โดยสามารถตรวจสอบชุดตรวจ ATK ที่ได้รับอนุญาตจาก อย. ได้ทาง เว็บไซต์ อย. และก่อนซื้อขอให้ผู้บริโภคสังเกตฉลากภาษาไทย ซึ่งจะมีข้อความแสดง “บุคคลทั่วไปสามารถใช้ได้”

เพื่อให้ได้รับชุดตรวจที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งนี้ ชุดตรวจ ATK เป็นชุดตรวจคัดกรองเบื้องต้น เหมาะกับผู้ที่มีประวัติ ความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโควิด-19 อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีเชื้อจำนวนไม่มากหรืออยู่ในช่วงการติดเชื้อระยะแรก ผลที่ได้อาจเป็นลบ ดังนั้น กรณีได้ผลลบแต่มีประวัติความเสี่ยงสูงหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ขอให้มีการเฝ้าระวังตนเองและดำเนินการตรวจซ้ำอีกครั้งใน 3-5 วัน ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th หรือโทร. 02-590-7000

นอกจากนี้ประชาชนสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ดร.อานนท์' โวย 'ดีอีเอส' ยังปล่อยคลิป 'วัคซีนพระราชทาน' ว่อนโซเชียล

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์