'สังศิต' ชำแหละ 'ลูกไม้เก่าของสทนช.' ทำแผนแก้ภัยแล้ง-น้ําท่วม แนะขยายเวลาอีก2สัปดาห์


27 ธ.ค.2566 - ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา เผยแพร่บทความเรื่อง ลูกไม้เก่าของสทนช. มีเนื้อหาดังนี้

รัฐบาลชุดที่แล้วใช้งบประมาณหลายแสนล้านบาทในการให้สทนช.ทำแผนป้องกันภัยแล้งและน้ําท่วม ติดต่อกันยาวนานเป็นเวลาถึง 8 ปีแต่ก็ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เป็นเพราะสทนช.ทำแต่แผนสร้างโครงการแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางเท่านั้น โดยไม่สนใจให้การสนับสนุนการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กและไม่สนใจให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการทำแผนป้องกันภัยแล้งและภัยจากน้ำท่วมแต่อย่างใด

วันนี้สทนช.กำลังทำแผนแบบเดิมอีกแล้ว ในการจัดสรรงบประมาณแก้ภัยแล้งและงบประมาณประจำปี 2568

ถ้ารัฐบาลชุดนี้ไม่ต้องการผลลัพธ์ คือความล้มเหลวในการป้องกันภัยแล้งและน้ำท่วมแบบเดียวกับรัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลจำเป็นต้อง มีแนวความคิดและนโยบายการจัดสรรงบประมาณตลอดจนวิธีการทำงาน ที่แตกต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้วเท่านั้น

เทคนิคของสทนช.ที่จะทำในขณะนี้ เพื่อมิให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการทำงานด้านป้องกันภัยแล้งและภัยน้ำท่วม ในปี 2567 - 25668 คือ

1. ประกาศของสทนช. ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ที่ให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศจัดทำคำขอเพื่อก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก ในระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ถึงช่วงสิ้นปี 2566 โดยการเสนอโครงการและงบประมาณต้องเสนอผ่านระบบ Thai Water Plan ซึ่งเป็นระบบ AI

ประกาศนี้จะถูกส่งไปยังจังหวัดต่างๆทั่วประเทศประเทศ ซึ่งกว่าที่ประกาศนี้จะถูกส่งไปถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์ ซึ่งหมายความว่า องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจะไม่สามารถทำโครงการได้ทันเวลา

2 หากแม้จะมี องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจำนวนหนึ่งที่มีโครงการอยู่แล้วในมือและสามารถส่งโครงการเหล่านั้นเข้าสู่ระบบ AI ได้ตามเวลา แต่โอกาสที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นจะได้รับอนุมัติโครงการก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะหากมีข้อมูลที่ส่งเข้าไปคลาดเคลื่อน ไม่สมบูรณ์ หรือเพราะความเข้าใจผิด ระบบ AI ก็จะเขี่ยโครงการเหล่านั้นให้ตกไปทันที

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงมีความเห็นว่าหากรัฐบาลต้องการที่จะมีผลงานในเรื่องของการแก้ภัยแล้งและภัยน้ำท่วมที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2567 และ 2568 รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้คือ

1. ขยายระยะเวลาของโครงการนี้ออกไปอีก 10-15 วัน เพื่อให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีโอกาสตระเตรียมโครงการต่างๆได้ทันเวลา
และ

2 สำหรับโครงการแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งขนาดของงบประมาณอยู่ระหว่างหลักหมื่นถึงแสนบาทต่อโครงการ เช่นการทำฝายแกนดินซิเมนต์ไม่ควรทำผ่านระบบ Thai Water Plan ของสทนช. แต่ควรจะ ผ่านระบบของกระทรวงมหาดไทย ที่ให้ข้าราชการเป็นผู้ดำเนินการแทนระบบ AI

ซึ่งการขยายระยะเวลาไปอีกสองอาทิตย์ จะมิได้กระทบกระเทือนต่อกระบวนการทำงานเรื่องงบประมาณแต่อย่างใด หากแต่จะทำให้รัฐบาลสามารถมีผลงานในการแก้ปัญหาความทุกข์ร้อนจากปัญหาภัยแล้งและภัยน้ำท่วมให้แก่ประชาชนทั้งประเทศได้ดีกว่า ระบบที่สทนช. เป็นผู้กำหนดขึ้น โดยมิได้คำนึงถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทั้งประเทศแต่อย่างใด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ เตือนอากาศเย็น มีหมอกบางตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น ใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง

ศปช. ส่งจนท.-เครื่องจักร เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัย 3 จังหวัดใต้

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง

ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้