สำนักงานสถิติฯ เผยไทยมีแรงงานนอกระบบกว่า 21 ล้านคน แถมรายได้ต่ำกว่าในระบบ 2 เท่า

“สถานการณ์แรงงานนอกระบบในปี 2566 ประมาณครึ่งหนึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรม และลูกจ้างที่เป็นแรงงานนอกระบบได้รับค่าจ้างต่ำกว่าแรงงานในระบบ”

19 ธ.ค. 2566 – ดร.ปิยนุช วุฒิสอน ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจแรงงานนอกระบบเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการทำงาน และปัญหาที่เกิดจากการทำงานของแรงงานนอกระบบ โดยแรงงานนอกระบบ หมายถึง ผู้มีงานทำที่ไม่ได้รับการคุ้มครองหรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน ซึ่งผลการสำรวจในปี 2566 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ภาพรวมสถานการณ์แรงงานนอกระบบในปีนี้ พบว่า ผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 40.1 ล้านคน เป็นแรงงานนอกระบบจำนวน 21.0 ล้านคน (ร้อยละ 52.3)ซึ่งมากกว่าแรงงานในระบบที่มีจำนวน 19.1 ล้านคน (ร้อยละ 47.7) โดยครึ่งหนึ่งของแรงงานนอกระบบอยู่ในช่วง 40-59 ปี และที่น่าสนใจคือ กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ยังทำงานอยู่ประมาณ 5.1 ล้านคนนั้น เป็นแรงงานนอกระบบมากถึง 4.4 ล้านคน

แรงงานนอกระบบสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษามากที่สุด แต่เมื่อดูแนวโน้มการศึกษาที่จบของแรงงานนอกระบบ จะเห็นว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้นในทุกระดับการศึกษา แรงงานนอกระบบร้อยละ 55.4 ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรม โดยมีชั่วโมงทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ของแรงงานนอกระบบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเมื่อเปรียบเทียบค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือน พบว่าลูกจ้างที่เป็นแรงงานนอกระบบยังคงมีค่าจ้างต่ำกว่าลูกจ้างในระบบเกือบ 2 เท่า อีกทั้งมีแรงงานนอกระบบ ร้อยละ 28.2% ที่ประสบปัญหา โดยเป็นปัญหาจากการทำงานมากที่สุด เช่น ค่าตอบแทน งานขาดความต่อเนื่องงานหนักเกินไป เป็นต้น

โดยสรุป ในปี 2566 ยังคงมีจำนวนแรงงานนอกระบบมากกว่าแรงงานในระบบ โดยประมาณครึ่งหนึ่งของแรงงานนอกระบบทำงานในภาคเกษตรกรรม และมีชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ต่ำกว่าแรงงานในระบบ ในขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างที่เป็นแรงงานนอกระบบยังคงได้รับค่าจ้างค่อนข้างต่ำ ดังนั้น จึงต้องมีการดูแลและส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบได้รับความคุ้มครองหรือเข้าถึงหลักประกันทางสังคมให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของแรงงานนอกระบบต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" ส่ง สปส. จับมือการยางแห่งประเทศไทย ดูแลชาวสวนยาง กว่า 1.5 ล้านคน ให้สิทธิประโยชน์ ม. 40 สร้างคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ

เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 15.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในการเปิดโครงการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความเชื่อมั่นประกันสังคมมาตรา 40 รุ่นที่ 2 พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงแรงงาน

"พิพัฒน์" รับแก้ปัญหาแรงงานนอกระบบ อิสระ ทำงานที่บ้าน สั่งช่วยเปิดทางแหล่งทุน ที่ทำมาหากิน ฟื้นฟูเศรษฐกิจ พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้

วันที่ 13 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายภุชงค์ วรศรี ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงแรงงาน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ

REIC ชี้ ไทยที่อยู่อาศัยคนแก่ขาดแคลนสวนทางประชากรสูงวัยโตพรวด

“REIC” เปิดผลสำรวจที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ ปี 2567 ยังไม่เพียงพอรองรับความต้องการ หลังประชากรสูงวัยโตพรวด 4.89% กางทั้งประเทศมีโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุเพียง 916 แห่ง ส่วนใหญ่ปักหมุดในนกรุงเทพ-ปริมณฑล

รัฐบาล ยกโพลสนง.สถิติแห่งชาติ ชี้ประชาชนร้อยละ 87 พอใจ 'แจกเงินหมื่น'

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ระหว่างวันที่ 4 – 22 พ.ย.67 ดังนี้ 1.การสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2568

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุน A Good Digital Citizen “ก้าวไปสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน”

9 ตุลาคม 2567, กรุงเทพฯ - สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เตรียมความพร้อมให้ประชาชนก้าวสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ หวังประชาชนทุกคนมีทักษะดิจิทัล และเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีร่วมกัน จับมือเครือข่ายหน่วยงานภาคี จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุน A Good Digital Citizen“ก้าวไปสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน