"กรมอุตุนิยมวิทยา" เตือนรับ "มวลอากาศเย็น" กำลังแรงมาติดๆกัน 2 ระลอกในรอบ 7 วัน อุณหภูมิลดลง 5-9 องศา "อีสาน" เย็นยะเยือก กทม.ต่ำสุด 18 องศา ช่วงวันที่ 20-22 ธ.ค. หนาวสุด แนวโน้มหนาวเย็นต่อเนื่องอีกหลายวัน จับตาหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง เข้าใกล้ปลายแหลมญวน
16 ธ.ค.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 16-22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยในช่วงวันที่ 16 - 19 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 3 – 5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีอากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 – 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิลดลงอีก 2 – 4 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง ประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20 – 22 ธ.ค. 66 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง และมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ปลายแหลมญวนในระยะต่อไป
ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 17 – 22 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกให้ระมัดระวังอันตรายจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง และชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 21 - 22 ธ.ค. 66
คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 16 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 16 – 17 ธ.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งในวันที่ 17 ธ.ค. 66 อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 15 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 18 - 20 ธ.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 12 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 21 – 22 ธ.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุด 13 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 – 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 16 - 19 ธ.ค. 66 มีฝนเล็กน้อยบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 – 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ธ.ค. 66 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2 – 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11– 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม.
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 16 - 20 ธ.ค. 66 มีฝนเล็กน้อยบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 21 – 22 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 16 - 20 ธ.ค. 66 มีฝนเล็กน้อยบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 21 – 22 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2 - 4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 32 องศาเซลเซียส
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ในช่วงวันที่ 17 - 20 ธ.ค. 66 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 – 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สงขลา ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส
ส่วนในช่วงวันที่ 21 - 22 ธ.ค. 66 ตอนบนของภาค: อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 33 องศาเซลเซียส
ตอนล่างของภาค: ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สงขลา ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 17 - 22 ธ.ค. 66 ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 – 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส
กรุงเทพและปริมณฑล
ในช่วงวันที่ 16 - 20 ธ.ค. 66 มีฝนเล็กน้อยบางแห่งในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 21 – 22 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงอีก 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หนาวเย็นต่อเนื่อง กรมอุตุฯ ประกาศฉบับที่ 8 อุณหภูมิจะลดลงอีก 5-7 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2568) ฉบับที่ 8
เตรียมรับหนาวแรง 11-13 ม.ค. อุณหภูมิลด 5-7 องศา กทม.ลุ้นต่ำสุด 15 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 10 – 13 ม.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลั
พยากรณ์อากาศ 15 วันล่วงหน้า ลมหนาวพัดแรง ยาวถึงปลายเดือน
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 10 - 24 ม.ค. 68
ประกาศกรมอุตุฯ ฉบับ 5 อากาศหนาวลดฮวบ 3-7 องศา คลื่นลมแรงสูง 4 เมตร
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 13 มกราคม 2568) ฉบับที่ 5
อุตุฯ เตือนมวลอากาศเย็นระลอกใหม่แผ่ปกคลุม อุณหภูมิลด 1-3 องศา ใต้ฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ลักษณะอากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีน ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศลาวตอนบนและเวียดนามตอนบนแล้ว
สะท้านทรวง! หนาวที่สุดของปีนี้ 12-13 ม.ค. ความหนาวเย็นมาพร้อมลมแรง
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า หนาวสุดท้ายหนาวสะท้านทรวง 12-13 มกราคม