11 ธ.ค.2566 - รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า บอกลาหน้าหนาวเดี๋ยวมาแล้วไปแต่จะร้อนมากกว่าตลอดปี
ช่วงสัปดาห์หน้าตั้งแต่วันเสาร์ที่ 9-15 ธันวาคม สภาพอากาศจะร้อนกว่าปกติ (ดูกราฟิกแนบ) จากผลพวงจากปรากฏการณ์ El Nino ที่มีกำลังแรงในช่วงปลายปีจนถึงต้นปีหน้า มหาวิทยาลัยรังสิตรับปริญญาหน้าหนาว แต่ต้องเตรียมรับร้อนด้วยโดยเฉพาะช่วงบ่ายระวังสุขภาพกันด้วยครับ
อย่างไรก็ตามมีบางช่วงที่อากาศเย็นจะลงมาชั่วคราว จากความกดอากาศสูงจากแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะตั้งแต่วันที่ 18-25 ธันวาคม กำลังเย็นสบาย ไม่หนาวเหมือนช่วงวันที่ 17-18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และจะไม่หนาวเหมือนกับปีที่ผ่านมาในอดีต
หลังจากนั้นตั้งแต่วันคริสมาสปีนี้จนถึงปีใหม่ ตลอดทั้งเดือนมกราคมปี 2567 สภาพอากาศจะร้อนขึ้นมาอีก และจะร้อนที่สุดเดือนเมษายนน่ะครับ ทั้งร้อน และแล้ง ทั้งฝุ่น PM2.5 ทั้งไฟป่า ต้องเตรียมรับมือกันให้พร้อม โดยเฉพาะประเด็นด้านสุขภาพตามที่ COP28 มีการหารือกัน ชาวนา เกษตรกร วางแผนการใช้น้ำ ชุมชนเมืองเตรียมจ่ายค่าไฟแพงขึ้น แต่รายได้ไม่เพิ่มขึ้นเท่าค่าไฟน่ะจะบอกให้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ เผยภาคใต้เจอฝนถล่มหนัก 60-80% ส่วน กทม.เจอ 20%
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ภาคใต้ฝนตกหนักหลายพื้นที่ ระวังน้ำป่า เหนือ กลาง มีพายุฤดูร้อน ลูกเห็บตก
กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนัก
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่มถึง 1 เม.ย.
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่จนถึงวันที่ 1 เมษายน 2568) ฉบับที่ 11 โดยมีใจความว่า
อุตุฯ เตือนร้อนถึงร้อนจัด พายุฝนฟ้าคะนองถล่ม 38 จังหวัด ลมแรงลูกเห็บตก
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ตอนบน จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง
อุตุฯ เตือนไทยตอนบนรับมือพายุฤดูร้อน ภาคใต้ฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้
'ดร.เสรี ศุภราทิตย์' เผยวิธีปฏิบัติตัวเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ชี้ตึกสูงไม่เกิน 5 ชั้นเสี่ยงอันตรายกว่า
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า