10 ธ.ค. 2566 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “แป้ง นาโหนด กับกระบวนการยุติธรรมไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการหนีคุกของ “แป้ง นาโหนด” กับกระบวนการยุติธรรมไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการติดตามข่าวการหนีคุกของนายเชาวลิต ทองด้วง หรือ “แป้ง นาโหนด” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 53.66 ระบุว่า ติดตามบ้างพอสมควร รองลงมา ร้อยละ 36.87 ระบุว่า ไม่ติดตามเลย และร้อยละ 9.47 ระบุว่า ติดตามตลอด
เมื่อถามผู้ที่ระบุว่าติดตามข่าวตลอด และติดตามบ้างพอสมควร เกี่ยวกับข่าวการหนีคุกของนายเชาวลิต ทองด้วง หรือ “แป้ง นาโหนด” (จำนวน 827 หน่วยตัวอย่าง) ถึงผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย กรณีการหนีคุกรวมถึงการอัดคลิปร้องขอความเป็นธรรมของ “แป้ง นาโหนด” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.20 ระบุว่า ส่งผลกระทบอย่างมาก รองลงมา ร้อยละ 37.85 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผลกระทบร้อยละ 9.07 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผลกระทบ ร้อยละ 8.46 ระบุว่า ไม่ส่งผลกระทบเลย และร้อยละ 2.42 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามผู้ที่ระบุว่าติดตามข่าวตลอด และติดตามบ้างพอสมควร เกี่ยวกับข่าวการหนีคุกของนายเชาวลิต ทองด้วง หรือ “แป้ง นาโหนด” (จำนวน 827 หน่วยตัวอย่าง) ถึงสิ่งที่ประชาชนคิดว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำกับกรณีของ “แป้ง นาโหนด” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.94 ระบุว่า ควรตรวจสอบข้อร้องเรียนของ “แป้ง นาโหนด” พร้อมทั้งให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย รองลงมา ร้อยละ 31.56 ระบุว่า ควรเจรจาให้ “แป้ง นาโหนด” เข้ามามอบตัว ร้อยละ 27.09 ระบุว่า ต้องจับ “แป้ง นาโหนด” ให้ได้ ร้อยละ 25.27 ระบุว่า ใช้โอกาสนี้ ประกาศปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เป็นวาระแห่งชาติ ร้อยละ 7.01 ระบุว่า ไม่ต้องทำอะไรเพราะ “แป้ง นาโหนด” จะเข้ามามอบตัวเอง ร้อยละ 4.23 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องสนใจข้อร้องเรียนของ “แป้ง นาโหนด” ร้อยละ 2.42 ระบุว่า ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยให้เรื่องเงียบไปเอง และร้อยละ 0.73 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามผู้ที่ระบุว่าติดตามข่าวตลอด และติดตามบ้างพอสมควร เกี่ยวกับข่าวการหนีคุกของนายเชาวลิต ทองด้วง หรือ “แป้ง นาโหนด” (จำนวน 827 หน่วยตัวอย่าง) ถึงสิ่งที่ประชาชนเชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำกับกรณีของ “แป้ง นาโหนด” พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 42.32 ระบุว่า จะตรวจสอบข้อร้องเรียนของ “แป้ง นาโหนด” พร้อมทั้งให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย รองลงมา ร้อยละ 24.55 ระบุว่าจะสามารถจับ “แป้ง นาโหนด” ได้ ร้อยละ 24.06 ระบุว่า จะประสบความสำเร็จในการเจรจาให้ “แป้ง นาโหนด” เข้ามามอบตัว ร้อยละ 22.85 ระบุว่า จะใช้โอกาสนี้ ประกาศปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้เป็นวาระแห่งชาติ ร้อยละ 9.67 ระบุว่า “แป้ง นาโหนด” จะเข้ามามอบตัวเอง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ทำอะไรเลย ร้อยละ 9.55 ระบุว่า จะไม่ทำอะไร ปล่อยให้เรื่องเงียบไปเอง ร้อยละ 5.20 ระบุว่า จะไม่สนใจ
ข้อร้องเรียนของ “แป้ง นาโหนด” และร้อยละ 2.42 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ณฐพร’ ห่วงบุคลากรกระบวนการยุติธรรม ไม่ทำหน้าที่ตาม รธน.
ดร.ณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ทุกท่านต้องไม่ลืมว่า ท่านมีหน้าที่ตามบทบัญัตติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 50 (1)(2)
โพลชี้ ปี 67 คนเหนื่อยหน่าย ‘รายได้ต่ำ-เศรษฐกิจตก’
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “เหนื่อยหน่ายกับอะไรบ้าง ในปี 2567 ที่ผ่านมา”
'พิชิต' ชี้ 'ทวี' ต้องรับผิดชอบทางการเมือง! ปมป่วยทิพย์ชั้น 14
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.)
'ดร.อานนท์' ยกนิ้วชม 'ลุงป้อม' สมกับเป็นทหาร!
ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล
ไม่รอด! บุก ป.ป.ช. ทวงถาม ‘รมต.ทวี’ หลุดโผเอื้อนักโทษเทวดาชั้น 14
สืบเนื่องจากกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง (ป.ป.ช.) มีมติรับเรื่องไว้พิจารณาและดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด