กรมอุตุฯ เผยมวลอากาศเย็นระลอกใหม่ 12-14 ธ.ค. 'เหนือ-อีสาน' อุณหภูมิลดลง 1-3 องศา

8 ธ.ค.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 8-14 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้จะมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมีลมตะวันออกพัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลง กับมีฝนบางแห่งในระยะแรก โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง

คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 8 – 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 9 – 12 ธ.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 13 – 14 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 9 - 11 ธ.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 14 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 1 – 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 9 - 11 ธ.ค. 66 มีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 14 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 9 - 11 ธ.ค. 66 มีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 35 องศาเซลเซียส

ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 14 ธ.ค. 66 มีอากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 9 - 14 ธ.ค. 66 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 60 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 10 – 14 ธันวาคม อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 34 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 9 - 12 ธ.ค. 66
ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 13 – 14 ธ.ค. 66
ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 – 60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพฯและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 9 - 11 ธ.ค. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 – 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 14 ธ.ค. 66 อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 – 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ อัปเดตพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ' เตือน 33 จังหวัด เจอฝนตกหนัก 60-70%

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 6 ระบุว่า เมื่อเวลา 17.00 น. ของวันนี้ (22 ก.ค. 67) พายุโซนร้อน “พระพิรุณ” บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีน หรือที่ละติจูด 20.2 องศาเหนือ

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 5 อัปเดตเส้นทางพายุโซนร้อน 'พระพิรุณ'

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “พระพิรุณ” ฉบับที่ 5 (145/2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนฝนฟ้าคะนอง 36 จังหวัด รับมือท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ประกอบกับพายุโซนร้อน

กรมอุตุฯ ประกาศฉ.4 พายุพระพิรุณขึ้นฝั่งจีนตอนใต้ 21-23 ก.ค. ไม่ส่งผลกระทบไทย

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ