'อนุชา' ดันต่อเนื่อง 'เกษตรพ่วงปศุสัตว์' ยกเป็นโมเดลเกษตรกรจับเงินล้าน

‘รมช.อนุชา’ ชื่นชมความสำเร็จ พื้นที่ Agri-Map ยกเป็นตัวอย่างเกษตรกร ปรับเปลี่ยนสู่ร่ำรวย เกษตรกรปลื้มรายได้เพิ่มขึ้น ได้มีโอกาสจับเงินล้าน มีอนาคตที่ดีขึ้น

3 ธ.ค.2566 – นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมตามแผนที่เกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) กิจกรรมพัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map (เกษตรผสมผสานและปศุสัตว์) พร้อมพบปะประชาชน เกษตรกร และหมอดินอาสา ณ พื้นที่แปลงเกษตรกร นายวิชาญ นามอาษา หมอดินอาสา ตำบลนาม่วง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ว่า   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในพื้นที่ปลูกข้าวและพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ให้เกิดการปรับเปลี่ยนการผลิต ไปสู่กิจกรรมการผลิตที่มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน

นายอนุชา ระบุว่า โดยบูรณาการข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ด้านการเกษตร จากทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ข้อมูลทรัพยากรพื้นฐานการผลิต (ดิน น้ำ พืช) ข้อมูลเกษตร เศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้วางแผนการผลิตสินค้าเกษตรในพื้นที่ และบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับสภาพความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต และการตลาดในพื้นที่ได้อย่างดี

”ประเทศไทยมีเกษตรกรเป็นกำลังหลัก ผมจึงมีนโยบาย “เงินบาทแรกของแผ่นดิน” คือ ให้ความสำคัญกับเงินจากน้ำ เงินจากดิน เงินจากหญ้า ซึ่งเป็นกำลังซื้อหลักของประเทศ ที่สามารถสร้างเม็ดเงินภาคเกษตร โดยเป้าหมายหลัก ต้องการเห็นพี่น้องเกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจน และต้องการเห็นลูกหลานเกษตรกรไทยมีอนาคตที่ดี มีรายได้ กลับมาทำอาชีพเกษตร โดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการทำเกษตรแบบเดิมที่ปลูกพืชชนิดเดียว ให้มีอาชีพเสริมด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนมาทำปศุสัตว์ เช่น ปลูกหญ้าอาหารสัตว์ หรือเลี้ยงโค เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะเพียงแค่ปลูกหญ้าอาหารสัตว์ก็สามารถมีรายได้เลี้ยงครอบครัวให้มั่นคงได้ เช่นเดียวกับพื้นที่แปลงเกษตรแห่งนี้ของนายวิชาญที่ประสบความสำเร็จ นับเป็นการดำเนินการที่ยอดเยี่ยม และถือเป็นแหล่งเรียนรู้ตัวอย่าง เพื่อนำไปขยายผลต่อยอดการดำเนินการในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งหากทุกหน่วยงานบูรณาการความร่วมมือในการมุ่งปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมมาทำภาคปศุสัตว์เชื่อมั่นว่าเกษตรกรไทยจะหลุดพ้นความยากจน มีรายได้ที่มั่นคง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมมุ่งหวังและเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างจริงจัง“ นายอนุชา ระบุ

นายอนุชา กล่าวต่อไปว่า จากการพูดคุยกับเกษตรกรเจ้าของแปลง พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจเป็นอย่างมากหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ โดยยอมรับว่าการทำนาแบบแต่ก่อนนั้นทำมากแต่รายได้น้อย แต่เมื่อมาปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกหญ้าอาหารสัตว์ทำให้รายได้เพิ่มขึ้น จากเดิมก่อนการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าว 15 ไร่ มีรายได้ตลอดปี 14,940 บาท หลังปรับเปลี่ยนพื้นที่ รายได้เพิ่มขึ้นเป็นเงิน 148,700 บาท มีรายได้เพิ่มจากการขายมูลวัว ผลผลิตพืชบนคันดิน เป็ดไก่ ปลา เป็นต้น มีรายได้หมุนเวียนทุกวัน และเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน

ทั้งนี้ กรมพัฒนาที่ดิน ได้จัดทำกิจกรรมพัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-map ภายใต้โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมตามแผนที่เกษตรเชิงรุก (Agri-Map) ซึ่งผลดำเนินงานตั้งแต่ปี 2560 – 2566 สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว เป็นกิจกรรมการเกษตรอื่น จำนวน 649,532 ไร่ แบ่งเป็น ปลูกพืชผสมผสาน 542,217 ไร่ ประมง 20,178 ไร่  เลี้ยงสัตว์ 87,137 ไร่ ในส่วนจังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ปลูกข้าว 1,893,080 ไร่ พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าว 596,884 ไร่ การดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาที่ดินเพื่อการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri-Map ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 – 2566 ของ จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการแล้วรวมพื้นที่ 30,218 ไร่ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 4,133 ราย.



เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลขีดเส้น 30 วัน เร่งเยียวยาเกษตรกรใต้ 9.4 หมื่นราย

'อนุกูล' เผยรัฐบาลเร่งเยียวยาเกษตรกรชาวใต้หลังน้ำท่วม ตีกรอบสำรวจความเสียหาย 30 วัน รับเงินช่วยเหลือภายใน 10 วัน หลัง ธกส. อนุมัติ

'มิสเตอร์เกษตร' วอนรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ

‘มิสเตอร์เกษตร’ วอน รัฐบาลแก้ปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ เร่งคลอดมาตรการช่วยเหลือ แนะกรมการค้าภายใน ประสานรง.อาหารสัตว์รับซื้อมันเส้น

ดีเดย์ กระทรวงเกษตรฯ ส่งรายชื่อผู้ที่ได้รับสิทธิเงินไร่ละ 1,000 บาท ให้ธนาคารแล้ววันนี้

นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวย้ำคุณสมบัติของเกษตรผู้มีสิทธิได้รับเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ไร่ละ 1,000

ชาวนาลุ้น ‘ครม.’ อนุมัติเงินช่วยไร่ละ 1,000 บาท พร้อมโอนเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว

นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่จังหวัดเชียงใ

“นภินทร” ดึงจุดเด่น “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” เนื้อแน่นนุ่ม ไม่คาว วัตถุดิบชั้นดี GI รังสรรค์ใน ”Thai Select“ เพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้เกษตรกร

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำทีมลงพื้นที่เยี่ยมชมถิ่นกำเนิดของสินค้า GI ของจังหวัดสงขลา ได้แก่ “ปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา” โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าของปลากะพงสามน้ำทะเลสาบสงขลา