น่าห่วง! ไทยเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงาน เหตุวัยทำงานลดลงต่อเนื่อง

3 ธ.ค.2566-รศ. ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ และ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ประชากรในวัยทำงานของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องและในอัตราเร่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยปี 2566 มีผู้สูงวัย 20% วัยแรงงาน 63% และวัยเด็กเพียง 16% ประชากรในวัยทำงานปัจจุบันอยู่ที่ 42.4 ล้านคน และ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ขณะนี้บางกิจการ บางอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตต่อไปได้โดยอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน บางอุตสาหกรรมปรับใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ระบบหุ่นยนต์และเอไอมากขึ้น พึ่งพิงแรงงานมนุษย์ลดลง และผลิตภาพเพิ่มสูงขึ้น

จากงานวิจัยของ ธนาคารโลก เรื่อง “Aging and the Labour Market in Thailand พบว่า ภาวะประชากรสูงวัยส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานไทยและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม จำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลงของประเทศไทยส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของบุคคลในประเทศเติบโตลดลง และหากไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ต่อหัวลดลงอีกร้อยละ 0.86 ในทศวรรษ 2020 ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมาก นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า หากอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานนั้นคงที่ตามอายุและเพศแล้ว โครงสร้างประชากรของประเทศไทยจะเปลี่ยนไปโดยคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานโดยรวมจะลดลงประมาณร้อยละ 5 ระหว่างปี 2563 ถึงปี 2603 และจำนวนแรงงานลดลงถึง 14.4 ล้านคน ทั้งนี้จำนวนแรงงานที่ลดลงอาจส่งผลให้ประเทศอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานซึ่งอาจขัดขวางโอกาสในการเติบโตของประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น อาจช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บางส่วน ในขณะที่ผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อาจทวีความรุนแรง เนื่องจากความต้องการแรงงานที่มีทักษะความชำนาญในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น

ดร. อนุสรณ์ กล่าวว่า ไทยมีปัญหาการกระจุกตัวของการผลิตและการจ้างงานสูง เกิดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ แต่ระบบประกันสังคมช่วยสร้างระบบสวัสดิการขนาดใหญ่ครอบคลุมแรงงานในระบบทั่วทั้งประเทศ และ สร้างระบบการออมแบบบังคับเพื่อดูแลผู้สูงอายุในวัยเกษียณ จากงานวิจัยของ ศ. ดร. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ พบว่า ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้าง มีดัชนีจินีอยู่ที่ 0.4 ถือว่าสูงเกินไปและโอกาสการมีงานทำ หรือ working-lifetime สั้นเกินไป แรงงานจำนวนไม่น้อยออกจากตลาดแรงงานในระบบโรงงานตั้งแต่อายุ 45 ปี การทำงานหรือประกอบอาชีพอะไร

หลังจากนั้นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ปัญหาการกระจุกตัวของการผลิต การประกอบการ การจ้างงานในประเทศไทย สะท้อน ปัญหาความเหลื่อมล้ำในมิติพื้นที่อย่างชัดเจน กรุงเทพและปริมณฑลมีการจ้างงานในระบบ 6-7 ล้านคน มีสถานประกอบการในระบบกว่า 239,000 แห่ง มีจีดีพีอยู่ที่ 7.5-7.6 ล้านล้านบาท และมีโอกาสการมีงานทำสูงสุด เป้าหมายทางนโยบายสาธารณะต้องลดการกระจุกตัวและกระจายโอกาสในการจ้างงานไปยังทั่วทุกภูมิภาค การย้ายแหล่งการผลิตและการจ้างงานไปยังต่างจังหวัดตามภูมิภาคต่างๆ จะเกิดผลดีต่อพื้นที่ และ เกิด “ตัวทวีคูณท้องถิ่น” (Local Multiplier) นอกจากนี้ยังลดปัญหาความแออัด ปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสลัมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ การแตกสลายของสถาบันครอบครัวในชนบทจากการที่พ่อแม่ลูกไม่ได้อยู่ด้วยกัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" ระดมทีมช่างฝีมือแรงงาน ทั่วภาคเหนือ ซ่อมฟรี! ระบบใช้ไฟฟ้าในบ้าน มอเตอร์ไซค์ อุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยบรรเทาผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย

วันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 10.30น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ผม พร้อมด้วยนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และนางบังอร มะลิดิน

ถกค่าแรง 400 บาทล่ม ประชุม 3 ฝ่ายสะดุด!

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ชุดที่ 22 เป็นประธานการประชุมบอร์ดค่าจ้าง ครั้งที่ 9/2567 ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อพิจารณาปรับอัตรา

'อารี' มุ่งเสริมสถานประกอบการ คุมเข้มความปลอดภัยลูกจ้าง ลดอุบัติเหตุจากการทำงานเป็นศูนย์

นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้รับมอบหมายจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดงานสัมมนาวิชาการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในส่วนภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2567 โดยมีผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงแรงงาน จังหวัดนครราชสีมา ร่วมให้การต้อนรับ ย้ำสถานประกอบต้องคุมเข้มความปลอดภัยแรงงานทุกระดับ ณ ห้องลำตะคอง โรงแรม แคนทารี โคราช จังหวัดนครราชสีมา