'สมศักดิ์' สำรวจสุดสายแม่น้ำชี ต่อยอดโครงการบริหารจัดการน้ำ

“สมศักดิ์” ควง สทนช. นั่งเฮลิคอปเตอร์ยาว ดูแม่น้ำชี จากอุบล-เลย-หนองบัวลำภู 643 กิโลเมตร เล็ง ต่อยอดโครงการบริหารจัดการน้ำ เผย ปี 68-70 มี 26 โครงการ

3 ธ.ค.2566 -นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายกิตติกร โล่ห์สุนทร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  (สทนช.) นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดอุบลราชธานี โดยจุดแรก ได้เดินทางไปที่องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อตรวจเยี่ยมการบริหารจัดการธนาคารน้ำใต้ดิน หลังประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้ง พร้อมพบปะหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชน ซึ่งมี นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายสมศักดิ์ บุญประชม สส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทรวมพลัง ให้การต้อนรับ

โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของ อบต.เก่าขาม ที่ได้รับรางวัลการพัฒนาธนาคารน้ำใต้ดินอย่างเป็นระบบ ส่วนการขยายผลไปสู่ประชาชนนั้น ตนเองมองว่า ต้องได้รับคำแนะนำ รวมถึงการดูแลอย่างใกล้ชิดจากหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาต่อยอด โดยตนขอให้พี่น้องประชาชน เตรียมรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะเอลนีโญ ซึ่งอาจส่งผลให้มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติ ดังนั้น ต้องช่วยกันประหยัดน้ำ ปฏิบัติตามมาตรการที่หน่วยงานรัฐได้ให้ความรู้ โดยตนเองขอยืนยันอีกครั้งว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนเป็นที่สุด เพราะต้องการเห็นประชาชนอยู่ดีกินดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“ผมขอชื่นชม อบต.เก่าขาม ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญที่ท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กำลังผลักดัน ดังนั้น ผมต้องขอบคุณที่ทำสิ่งเล็กๆให้เกิดประโยชน์ต่อภาคสังคมในจังหวัด โดยผมเชื่อว่า ถึงแม้ธนาคารน้ำใต้ดินจะเป็นเรื่องใหม่ แต่จะเป็นไปได้ เพราะโครงการเป็นประโยชน์ ที่จะช่วยได้ทั้งน้ำท่วม และน้ำแล้ง ซึ่งหากเอลนีโญเกิดขึ้นมันจะแรง 3 ปี รัฐบาลคงไม่เมินเฉย จึงต้องทำทุกโครงการให้เต็มที่ เพื่อให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด โดยผมได้ให้ สทนช. ช่วยสนับสนุนประชาชน ด้วยการสำรวจการซึมดินในแต่ละพื้นที่ ว่าดินทั่วประเทศนั้นเป็นอย่างไร เพราะจะสามารถ คิดคำนวณในการปลูกพืชหรือทำการเกษตรต่างๆได้เหมาะสม รวมถึงผมได้ขอให้ สทนช.บูรณาการกับทุกหน่วยงาน เพื่อรับมือภัยแล้ง ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำให้ประชาชนรับทราบ ศึกษาการบริหารจัดการน้ำใต้ดิน และจัดหาน้ำเมื่อเกิดการขาดแคลน เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชน” รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

จากนั้น นายสมศักดิ์ พร้อมคณะ ได้นั่งเฮลิคอปเตอร์จากโรงเรียนบ้านเก่าขาม เพื่อติดตามสภาพน้ำและการไหลของน้ำในแม่น้ำชี จากปลายน้ำ ไปยังต้นน้ำ โดยได้นั่งเฮลิคอปเตอร์ ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี ไปจังหวัดขอนแก่น จังหวัดเลย จนถึงจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นระยะทางกว่า 643 กิโลเมตร เพื่อตรวจเยี่ยมจุดเก็บน้ำสำคัญคือ เขื่อนธาตุน้อย เขื่อนยโสธร เขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนมหาสารคาม เขื่อนอุบลรัตน์ และจุดผันน้ำโครงการ โขง เลย ชี มูล บ้านคกมาด หมู่ 3 ตำบลเชียงคาน จังหวัดเลย

โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า ตนเองได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ สำรวจแม่น้ำชี ที่มีความยาวสูงสุดในประเทศ คือ 1,030 กิโลเมตร ขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 30.79 ล้านไร่ ซึ่งครอบคลุมหลายจังหวัดของภาคอีสาน ได้แก่ ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธ์ุ รัอยเอ็ด ยโสธร และ อุบลราชธานี เพื่อนำข้อมูลทั้งหมด ไปพิจารณาขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มีโครงการสำคัญ ปี 2567 จำนวน 8 โครงการ ปริมาณน้ำ 91 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 36,865 ไร่ มีประชาชนได้ประโยชน์ 147,179 ครัวเรือน รวมถึงช่วยป้องกันน้ำท่วม 8,225 ไร่ อาทิ โครงการปรับปรุงโครงการส่งน้ำกุมวาปี จ.อุดรธานี พัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ หนองหาร จ.สกลนคร ระบบระบายน้ำหลักชุมชนเมืองหนองบัวลำภู ส่วนในปี 2568-2570 มีจำนวน 26 โครงการ วงเงิน 29,729 ล้านบาท จะสามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำ 369 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 650,854 ไร่ มีประชาชนได้ประโยชน์ 81,945 ครัวเรือน และสามารถป้องกันน้ำท่วมได้ 15,083 ไร่.



เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ร้องผู้ตรวจการฯ สอบ สทนช. ละเว้นปฏิบัติหน้าที่-ข้อมูลไม่ครบ แต่เดินหน้าจัดเวทีสร้างเขื่อนสานะคาม

ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินสอบ สทนช. ละเว้นปฎิบัติหน้าที่-ข้อมูลไม่ครบแต่เดินหน้าจัดเวทีโครงการสร้างเขื่อนสานะคาม

กรมชลประทานคุมเข้มบริหารจัดการน้ำรับมือฤดูมรสุมภาคใต้

นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 16 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนรับมือในพื้นที่ภาคใต้ใกล้เข้าสู่ฤดูฝน

สทนช. อัปเดตสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ เตือนรับมือฝนตกหนัก 30 ก.ย.-1 ต.ค.

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 ก.ย. 67 เวลา 7.00 น. 1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.เชียงใหม่ (159 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ศรีสะเกษ (50 มม.) ภาคกลาง : จ.ลพบุรี (74 มม.)