ครม. มีมติรับทราบผลการดำเนินการมาตรการ Quick Win นโยบาย 30 บาทพลัส และข้อเสนอแนะมาตรการหารือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับกรณีการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด
28 พ.ย.2566 - นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. (28 พฤศจิกายน 2566) มีมติรับทราบผลการดำเนินการมาตรการ Quick Win นโยบาย 30 บาทพลัส และข้อเสนอแนะมาตรการหารือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับกรณีการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การยกระดับ 30 บาทพลัส ที่ครอบคลุมการดูแลสุขภาพในทุกมิติ ทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีของคนไทย ผ่านนโยบาย 12 ประเด็น โดย 1 ในนั้น คือนโยบายมะเร็งครบวงจร ซึ่งมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตการเสียชีวิตอันดับ 1 ของหญิงไทย โดยมีเป้าหมายลดอัตราการเสียชีวิตจาก 11/100,000 ประชากร เหลือเป็น 4/100,000 ประชากร ซึ่งการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก 1,000,000 โดสในหญิงอายุ 11-20 ปี เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยได้ปีละอย่างน้อย 4,000 คน ซึ่งตั้งแต่ 8 - 27 พฤศจิกายน 2566 เฉลี่ยวันละ 40,794 เข็ม ฉีดสะสมไปแล้ว 507,506 เข็ม
โดย ครม. ยังมีมติรับทราบข้อเสนอแนะมาตรการหารือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับกรณีการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิด 2 มาตรการ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
1. มาตรการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิดก่อนการตั้งครรภ์
-ระยะสั้น ให้ สธ. สปสช. และ สปส. ปรับปรุงเพิ่มสิทธิการเข้าถึงบริการกรดโฟลิกของหญิงไทยที่เป็นผู้ประกันตนตามสิทธิประกันสังคม รวมถึงการขยายสิทธิให้สามารถเข้ารับบริการผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังค์หรือบริการส่งวิตามินทางไกล
- ระยะกลาง ขยายสิทธิไปยังแรงงานต่างด้าวที่เป็นผูประกันตน และดำเนินการเชิงรุก ผ่านการส่งเสริมการแจกกรกโฟลิกในสถานประกอบการขนาดใหญ่
- ระยะยาว ขยายสิทธิไปยังกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติและแรงงานต่างดาวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับประชาชนไทย
2. มาตรการป้องกันภาวะความพิการแต่กำเนิดระหว่างการตั้งครรภ์
-ระยะสั้น ให้ สธ. สปสช. และ สปส. ปรับปรุงเพิ่มวงเงินถัวเฉลี่ยให้ครอบคลุมการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม รวมถึงเพิ่มตัวเลือกให้หญิงตั้งครรภ์เลือกตรวจคัดกรอง โดยเสียค่าใช้ส่วนต่างที่ไม่ครอบคลุม และขยายสิทธิไปยังแรงงานต่างด้าวที่เป็นผู้ประกันตน
- ระยะกลาง ขยายสิทธิไปยังกลุ่มคนไร้รัฐไร้สัญชาติและแรงงานต่างดาวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ให้ได้รับสิทธิเช่นเดียวกับประชาชนไทย
- ระระยาว เปลี่ยนแปลงการตรวจคัดกรองเบื้องต้นมาเป็นแบบ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทากในครรภ์จากเลือดมารดา) โดยเริ่มจากกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เป็นประชาชนชาวไทยทั่วไป
ส่งจาก iPhone ของฉัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ครม. ไฟเขียวหลักเกณฑ์เร่งรัดแก้ปัญหาสัญชาติกว่า 4.8 แสนคน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนออนุมัติหลักเกณฑ์ เพื่อเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาสัญชาติ, สถานะของกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย
วางคิว ‘นายกฯอิ๊งค์’ ลงพื้นที่แม่สายเดือนพ.ย. ก่อนประชุม ครม.สัญจรครั้งแรก จ.เชียงใหม่
ในเดือนหน้า นายกฯมีกำหนดลงพื้นที่ตรวจราชการที่ จ.เชียงราย และเป็นประธานประชุม ครม.สัญจร ที่จ.เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการประชุม ครม.สัญจรนัดแรกของรัฐบาลชุดนี้
จับตา! ครม.ได้ฤกษ์ตั้ง ขรก.การเมืองล็อตใหญ่ ‘จิรายุ’ โฆษกรบ. ’คารม-ศศิกานต์’ รองฯ
เลขาฯนายกฯเผยตรวจสอบคุณสมบัติ ขรก.การเมืองเสร็จส่วนหนึ่งแล้ว เชื่อว่าจะสามารถนำรายชื่อเสนอในการประชุมครม.วันที่ 1 ต.ค.พิจารณาแต่งตั้งได้เป็นส่วนใหญ่ตามที่ได้เสนอชื่อมา
'ปธ.วันนอร์' ยัน 'จริยธรรมการเมือง' ยังจำเป็น แต่ไม่สูงไปจนผู้นำระแวง
'ปธ.วันนอร์' ย้ำมาตรฐานจริยธรรมทางการเมืองยังจำเป็น แต่ต้องไม่สูงจนผู้นำระแวง ผวาร้องจนทำงานลำบาก แจง สส.ลาประชุม เหตุกม.เปิดช่อง ชี้ กก.จริยธรรมใกล้ได้องค์ประชุมครบ ลุยสอบ 'ลุงป้อม'
ครม.อนุมัติไม่เก็บค่าไฟเดือน ก.ย. ในพื้นที่น้ำท่วม ส่วน ต.ค. ให้ส่วนลด 30%
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดําเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก
รุกฆาต! กลุ่มคนปริศนา ยื่นกกต.ส่งศาลสอยครม.อิ๊งค์ยกคณะ ระบุแถลงนโยบายขัดรธน. 162
กลุ่มบุคคลที่ใช้ชื่อว่า คณะนิติชน-เชิดชูธรรม ได้ยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร และรัฐมนตรีทุกคนในคณะ