'ส้นสูง' บุกทำเนียบอีกรอบทวงเงินเยียวยา โอดมาตรการรัฐช่วยคนกลางคืนไม่ตรงเป้า

20 ธ.ค.2564 - ทันตา เลาวิลาวัณยกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพนักงานบริการ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ เปิดเผยว่าพนักงานบริการได้เดินทางไปบริเวณหน้าทำเนียบเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ให้ชดเชยเงินเยียวยาให้ เดือนละ 5,000 บาทให้กับพนักงานบริการจนกว่าจะกลับมาทำงานได้ โดยได้รอฟังข่าวจากภาครัฐแต่ก็ยังนิ่งเงียบ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั้งรัฐบาลประกาศจะเปิดประเทศ 1 ธันวาคมและจะให้สถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ กลับมาเปิดได้พนักงานบริการต่างก็ดีใจและเตรียมตัวในการทำงาน เอารองเท้าที่ไม่ได้ใช้มานาน มาปัดทำความสะอาด แต่สุดท้ายกลับถูกเลื่อนไปเป็นปีหน้า ทั้ง ๆที่พนักงานบริการต่างดีใจและเตรียมพร้อมที่จะทำงานในช่วงปีใหม่กันแล้ว ทำให้ความหวังของพนักงานบริการพังลง

ทันตากล่าวว่า กลุ่มพนักงานบริการเราเห็นว่าไหน ๆก็ไม่ได้ทำงาน รองเท้าที่เตรียมไว้ก็ไม่ได้ใช้จึงร่วมทำคลิประบายความในใจและส่งรองเท้าไปให้รัฐบาลเพื่อบอกว่าอย่าลืมพวกเรานะ โดยใช้คำเปญว่า “ส้นสูงส่งเสียง” และพนักงานบริการได้ช่วยกันส่งรองเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาลกว่า 100 กล่อง แต่รัฐกลับไม่รับฟังเสียงและรองเท้าของเราถูกตีกลับมา และโครงการที่รัฐกำลังจะมีมติออกมาเพื่อเยียวยาก็ไม่มีความชัดเจนว่าเราพนักงานบริการจะเข้าถึงได้อย่างไรเพราะพนักงานบริการส่วนมากไม่มีประกันสังคมและทำงานอิสระ ร้านยังไม่ได้กลับมาเปิดทำงานได้ เราจึงจะนำรองเท้าส้นสูงของเราที่ถูกตีกลับไปทวงถามอีกครั้งว่าเมื่อไหร่รัฐบาลจะมองเห็นเราสักที

“พวกเราจะนำรองเท้าที่ถูกตีกลับมาจัดนิทรรศกาลว่านี้คือคำตอบของรัฐบาล ณ บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพในวันที่ 21 ธันวาคม เวลา15.00 -20.00 น. และในวันที่ 22 พวกเราจะไปยื่นหนังสือเพื่อทวงถามอีกครั้งที่หน้าทำเนียบรัฐบาลเวลา 10.00 น.”ทันตา กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่ามาตรการเยียวยาที่รัฐบาลกำลังจะออกใหม่ เข้าไม่ถึงกลุ่มคนทำงานกลางคืนหรือ ไหมกล่าวว่าเป็นการเข้าถึงเพียงแค่บางกลุ่มเท่านั้น เช่น นักร้อง นักดนตรี แต่พวกตนไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขเหล่านั้นเลย ทั้งพนักงานอาบอบนวด บาร์อะโกโก้ ซึ่งรัฐบาลไม่มีชัดเจนว่าจะให้เงินเยียวยาหรือไม่ ที่สำคัญคือดูเหมือนว่าคนที่จะได้รับเงินเยียวยาต้องไปขึ้นทะเบียนกับสมาคม ซึ่งพนักงานบริการไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขเหล่านั้น ดังนั้นเราจึงอยากไปถามว่าทำไมถึงไม่ให้ชัดเจน

ทั้งนี้พนักงานบริการได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ระบุว่า พวกเรารวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมสิทธิของพนักงานบริการ สมาชิกในกลุ่ม คือ คนทำงานบริการในสถานบริการ บาร์ คาราโอเกะ อะโกโก้ อาบอบนวด นวดสปา และคนทำงานในพื้นที่อิสระ รวมไปถึงบนแพรตฟอร์มออนไลน์ เราพนักงานบริการทำกิจกรรมเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในการทำงานและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ได้รับสิทธิ ไม่ถูกเลือกปฏิบัติและตีตรา

แถลงการณ์ระบุว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ มกราคม ปี 2563 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 426 วัน ที่รัฐบาลสั่งปิดสถานบริการ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา พนักงานบริการได้เรียกร้องกับรัฐบาลมาโดยตลอด ให้ดำเนินการเยียวยาคำสั่งปิดสถานบริการ เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท ต่อเดือนให้กับพนักงานบริการและคนทำงานในสถานบริการทุกคนจนกว่าสถานบริการจะกลับมาเปิดดำเนินกิจการได้ แต่รัฐบาลยังคงเพิกเฉยไม่มีการเยียวยาใด ๆ พนักงานบริการได้รับการเยียวยาอยู่เพียง 90 วันในโควิดระลอกแรก จากโครงการเราไม่ทิ้งกัน เป็นเงินจำนวน 15,000 บาท เห็นชัดว่าว่ารัฐบาลไม่ใส่ใจทิ้งกลุ่มคนทำงานบริการภาคกลางคืนไว้ข้างหลัง

“โควิดส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้สถานบริการขนาดกลางและขนาดเล็กต้องปิดตัวลง พนักงานถูกให้ออก เกิดภาวะตกงานทั่วประเทศ อีกทั้งการบริหารจัดการแก้ไขของรัฐบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพและล่าช้า แม้ว่ารัฐบาลจะได้ออกมาตรการต่าง ๆ มาช่วยเหลือประชาชน เช่น โครงการเราชนะ เราไม่ทิ้งกัน เรารักกัน หรือเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม ซึ่งพบว่าเงินเยียวยาไม่เพียงพอ ไม่ทั่วถึง บางมาตรการก็เข้าไม่ถึงโดยเฉพาะพนักงานบริการที่ไม่มีประกันสังคม ที่มีถึง90% และพนักงานบริการที่เป็นแรงงานข้ามชาติหรือชาติพันธุ์”แถลงการณ์ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล