5 รัฐมนตรีหญิงผนึกกำลังรณรงค์ต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี

26 พ.ย. 2566 -นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม “เนื่องจากในเดือนนี้ เป็นเดือนรณรงค์ยุติความรุนแรง ของเด็ก สตรี และคนในครอบครัว ตัวดิฉันเองได้เห็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา คือการบูลลี่ (Bully) ด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่บูลลี่รุ่นน้อง หรือเพื่อนบูลลี่เพื่อน หรือแม้กระทั่งน้องบูลลี่พี่ก็ตาม ซึ่งปัญหาความรุนแรงในสถานศึกษา บางครั้งเราจะโทษเด็กอย่างเดียวคงไม่ได้ คงต้องกลับไปมองถึงต้นตอของปัญหา คือที่บ้าน เราควรจะเริ่มต้นจากครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในสังคม คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลลูก อบรมสั่งสอนลูกให้รู้ว่า สิ่งที่ควรทำคืออะไร สิ่งที่ไม่ควรทำคืออะไร ความเหมาะสมคืออะไร

หลายๆ ครั้ง เราได้ยินเรื่องของเด็กฆ่าตัวตาย หรือเราทราบมาว่าเรื่องราวของเด็กที่ฆ่าตัวตาย นอกจากเรื่องปัญหาของการเรียนแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องเพื่อน ความสัมพันธ์กับเพื่อน เรื่องของความรัก เรื่องของความสัมพันธ์ที่ไม่เข้าใจกับญาติพี่น้อง พ่อแม่ ครอบครัว ความสัมพันธ์ที่ไม่เข้าใจกับครู นอกจากในบ้านแล้ว ออกมาที่โรงเรียนหรือว่าสถานศึกษาต่างๆ สถานศึกษาควรจะมีระบบโค้ชชิ่ง (Coaching) คือระบบการดูแลนิสิต นักศึกษา นักเรียน ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเรื่องของการเป็นอยู่ โดยเฉพาะเรื่องของสภาพจิตใจ ขณะเดียวกันก็ให้มีระบบคอลเซ็นเตอร์ที่คอยรับฟังและรับเรื่องราวที่ไม่สบายใจ จะมีระบบที่เพื่อนดูแลเพื่อน มีระบบที่พี่ดูแลน้อง จะทำให้เกิด Early Detect หลายครั้งสามารถที่จะตรวจจับปัญหาได้ก่อนที่จะเกิดความรุนแรงขึ้น

ขอเชิญชวนให้ทุกท่านมาช่วยกันรวมพลังหยุดความรุนแรง ต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ศุภมาส' สั่งการ 'ปลัด อว.' เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการซื้อขายวุฒิการศึกษา

น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะโฆษกกระทรวง อว. เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับรายงานเบื้องต้นว่ามีประชาชนไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้น

'ศุภมาส' ให้ วศ.อว. ผลักดันผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ล่าสุด 'เฝือกขาจากยางพารา (Bio-Slab)' ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยสำเร็จแล้ว

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีงานวิจัยและนวัตกรรมจำนวนมาก ไม่สามารถผลักดันสู่การใช้งานจริงได้ เนื่องจากขาดการรับรองคุณภาพของผลงานวิจัย โดยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมส่วนใหญ่ยังไม่มีเกณฑ์กำหนดหรือมาตรฐานมารับรองคุณภาพ