นิด้าโพลเปิดผลสำรวจ ประชาชนมองสื่อทำข่าวปั่นกระแส - ลำเอียง

26 พ.ย. 2566 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “สื่อไหนเป็นกลาง ยกมือขึ้น!” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 21-24 พฤศจิกายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเสรีภาพและความเป็นกลางของสื่อมวลชน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนถึงการทำข่าวหรือรายงานข่าวของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.93 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อปั่นกระแส/สร้างดรามา รองลงมา ร้อยละ 33.59 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว อย่างลำเอียง ร้อยละ 30.69 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว จากข้อมูลที่ยังไม่มีการตรวจสอบความจริง ร้อยละ 30.23 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กรตนเอง ร้อยละ 25.34 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อประโยชน์ของประชาชน ร้อยละ 21.83 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว อย่างไม่ลำเอียง
ร้อยละ 20.08 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว จากข้อมูลจริงที่น่าเชื่อถือ ร้อยละ 17.63 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว อย่างไม่รับผิดชอบ

หากมีความผิดพลาดในการนำเสนอข้อมูล ร้อยละ 14.81 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว แบบไม่สนใจสิทธิของผู้อื่น ร้อยละ 14.05 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว ไม่ให้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ร้อยละ 13.82 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว ที่สร้างความแตกแยก เกลียดชังในสังคม ร้อยละ 11.07 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อประโยชน์ของตนเอง ร้อยละ 10.76 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว อย่างรับผิดชอบ หากมีความผิดพลาดในการนำเสนอข้อมูล ร้อยละ 10.00 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ร้อยละ 9.47 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว แต่ความจริง ร้อยละ 6.34 ระบุว่า ทำข่าว/รายงานข่าว ที่สร้างความสามัคคีในสังคม และร้อยละ 0.38 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านเสรีภาพในการทำข่าวหรือรายงานข่าวของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.08 ระบุว่า ค่อนข้างมีเสรีภาพ รองลงมา ร้อยละ 28.86 ระบุว่า มีเสรีภาพมาก ร้อยละ 24.73 ระบุว่า ไม่ค่อยมีเสรีภาพ ร้อยละ 6.11 ระบุว่า ไม่มีเสรีภาพเลย และร้อยละ 1.22 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเป็นกลางในการทำข่าวหรือรายงานข่าวของสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.70 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นกลาง รองลงมา ร้อยละ 32.06 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นกลาง ร้อยละ 13.90 ระบุว่า เป็นกลางอย่างมาก ร้อยละ 12.67 ระบุว่า ไม่เป็นกลางเลย และร้อยละ 2.67 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เผยคนไทยให้เกียรติคนที่ใช้ ตำแหน่ง ยศ นำหน้าชื่อ และเกือบ 90% ไม่เคยตรวจสอบว่าจริงหรือไม่

นำหน้านามนั้น สำคัญไฉน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับคำนำหน้านาม

‘นิด้าโพล’ ชี้ประชาชนหนุนมาตรการส่งดี เปิดดูสินค้าก่อนจ่าย

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Dee-Delivery เปิดก่อนจ่าย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9-11 กรกฎาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจประชาชนไม่สนใจ 'หวยเกษียณ' มองเป็นการมอมเมา

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “จะออมเงิน…ต้องซื้อหวยเกษียณ!”

เหนื่อยแน่! เพื่อไทย รับต้องปรับยุทธศาสตร์ หลังผลโพลตามหลังก้าวไกล

นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลนิด้าโพลเปิดผลโพลในไตรมาส 2 ที่ ปรากฏว่านายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) และ พรรค

ผลสำรวจนิด้าโพลชี้ ประชาชนหนุน 'พิธา' นั่งนายก ส่วน 'เศรษฐา' มาเป็นอันดับ 3

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/2567” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-18 มิถุนายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง