กรมอุตุฯ แจ้งอีสานอากาศเย็นลมแรง กรุงเทพฯอุณหภูมิต่ำสุด 24 องศาฯ

25 พ.ย.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงให้ระวังอันตรายจากอัคคีภัยที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอากาศแห้งไว้ด้วย

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมทะเลจีนใต้ตอนล่างมีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 25–27 พ.ย. 66 ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06.00 น. วันนี้ ถึง 06.00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนมากทางตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก อากาศเย็นในตอนเช้า กับฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ ชุมพร ขึ้นไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ สุราษฎร์ธานี ลงมา ลมตะวันออก ความเร็ว 20 – 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล เมฆบางส่วน อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สะท้านทรวง! หนาวที่สุดของปีนี้ 12-13 ม.ค. ความหนาวเย็นมาพร้อมลมแรง

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ภาพพร้อมข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า หนาวสุดท้ายหนาวสะท้านทรวง 12-13 มกราคม

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 2 ลมหนาวกำลังแรงระลอกใหม่ อุณหภูมิลด 5-7 องศา

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 10-13 มกราคม 2568) ฉบับที่ 2

อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว ยอดดอยมีน้ำค้างแข็ง ใต้ฝนฟ้าคะนอง 20-30%

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้