'ศุภมาส' ชี้ สางปมพิพาทจุฬาลงกรณ์-อุเทนถวาย ต้องคำนึงกฎหมายควบคู่ความรู้สึก และทุกคนเห็นตรงกัน เผย มีความระแวงกลัวเอาพื้นที่ไปใช้เชิงพาณิชย์
16 พ.ย. 2566- ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ศุภมาส อิสรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้สัมภาษณ์ถึงข้อพิพาทระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย เรื่องการย้ายอุเทนถวายออกจากพื้นที่ ว่า ได้รับรายงานจากที่ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนยุติข้อพิพาทการย้ายมหาวิทยาลัยที่มีปลัดกระทรวง อว.เป็นประธานเมื่อวันที่ 16 พ.ย.ว่า บรรยากาศในการประชุมเป็นไปด้วยเหตุและผล ทุกคนเข้าใจสถานการณ์ทุกอย่าง ซึ่งมีข้อเสนอ 2 ทางเลือก โดยมีการเสนอให้ไปศึกษาก่อนว่าข้อเสนอที่เสนอมานั้นเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการประชุมครั้งต่อไปคงจะมีข้อสรุปกันต่อว่าสิ่งต่างๆ จะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าเป็นไปได้จะเดินต่ออย่างไร ถ้าเป็นไปไม่ได้ก็ต้องหาแนวทางใหม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า จุดยืนนักศึกษาอุเทนถวาย ถึงอย่างไรก็ไม่ออกจากพื้นที่ตรงนั้นใช่หรือไม่ น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า เท่าที่ฟังไม่ถึงขนาดนั้น เพียงแต่นักศึกษาอุเทนถวายต้องการภาพที่ชัดเจน โดยบอกว่าเคยมีเหตุการณ์แบบนี้ แต่ไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งเป็นมาหลายครั้งแล้ว เพราะฉะนั้นครั้งนี้นักศึกษาจึงกลัวว่าเมื่อตกลงไปแล้วถึงเวลาก็จะไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ นักศึกษาต้องการความชัดเจนว่าก่อนที่เขาจะเรียนจบจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือ เขาต้องไปอยู่ที่ไหนอย่างไร ใครจะดูแลแบบไหนอย่างไร เขาไม่รู้ว่าในอนาคตบทสรุปจะเป็นอย่างไร
เมื่อถามว่า ไทม์ไลน์การเจรจา จะได้ข้อสรุปเมื่อไหร่ น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า เราคงไปกำหนดแบบนั้นไม่ได้ เพราะการไปตีกรอบก็เหมือนกับยิ่งไปเพิ่มอารมณ์ความรุนแรง เพียงแต่ตอนนี้ทุกคนอยากได้ข้อยุติที่เร็วที่สุด
เมื่อถามถึงรุ่นพี่ที่จบการศึกษาไปแล้วแต่ยังมาสนับสนุนรุ่นน้องให้ดำเนินการแบบนี้อยู่ น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า ในวงหารือเมื่อวันที่ 16 พ.ย. ก็มีศิษย์เก่ามาร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ซึ่งได้มีข้อเสนอว่าเมื่อปัญหายังคาราคาซังแบบนี้ จึงอยากรับฟังจากอุเทนถวายว่าต้องการอะไรบ้าง และทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถสนับสนุนข้อเสนอนี้อย่างไรได้บ้าง อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าถ้าอุเทนถวายเห็นภาพชัดว่าทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ที่คืนไปแล้วไม่ได้เอาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่เอาไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์ อาจจะเป็นสวนสาธารณะหรือพิพิธภัณฑ์สำหรับเด็กเพื่อการศึกษาเหมือนกับหอศิลป์ใน กทม. แบบนี้อาจจะเป็นข้อเสนอใหม่ที่ทางอุเทนถวายอาจจะพิจารณาได้ ซึ่งน่าจะเป็นแนวโน้มที่ดี
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหานี้จะสามารถจบได้ในยุคนี้หรือไม่ น.ส.ศุภมาส กล่าวว่า ปัญหานี้มีมานานแล้ว คงไม่ใช่ใช้คำว่าจบ แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ และบังเอิญว่าช่วง 20 ปีที่ผ่านไม่มีคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดมา ซึ่งมีการฟ้องร้องกันมาเรื่อยๆ ยุคนี้ทุกฝ่ายต้องถือเอากฎหมายสูงสุด เพียงแต่ไม่สามารถยึดหลักกฎหมายอย่างเดียวได้ แต่ต้องยึดหลักความสงบเรียบร้อยและต้องดูแลความรู้สึกของบุคลากรทุกคนในอุเทนถวายด้วย เพราะเราคงไม่อยากเห็นสถาบันที่ร่ำเรียนมาหายไปในช่วงข้ามคืน ดังนั้น เรื่องความรู้สึกของคนเป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้เรื่องของหลักกฎหมาย จึงต้องเป็นการบังคับใช้กฎหมายโดยสมัครใจ และทุกคนเห็นตรงกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ศุภมาส” นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.พ.อ. เตรียมชง ครม. เยียวยาข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัยหลังข้าราชการครูปรับเงินเดือนขึ้น พร้อมปรับเงินเดือนชดเชยให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุก่อน 1 พ.ค. 2567 และก่อน 1 พ.ค. 2568
เมื่อวันที่ 30 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
'ศุภมาส' ประกาศข่าวดี กระทรวง อว.จัดงบอุดหนุน ให้นักเรียนทั่วประเทศสมัครสอบ TGAT ในระบบ TCAS 68 ฟรี! พร้อมเปิดให้สมัครเลือกคณะได้ฟรี 7 อันดับ เผย เตรียมจัดเฉลยข้อสอบ A-level เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสให้เยาวชนไทยเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียม
น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า การสมัครคัดเลือกในระบบ TCAS 68 หรือระบบการคัดเลือกกลางเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประจําปี 2568 นั้น กระทรวง อว. และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบรายวิชาในระบบ TCAS
นายกฯ นั่งหัวโต๊ะ ถกสภานโยบายอุดมศึกษาฯ หวังพัฒนาองค์ความรู้ขั้นสูง
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 โดยมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
"ศุภมาส" ห่วงน้ำท่วมภาคเหนือ มอบ ม.ราชมงคลทั่วประเทศ ผนึกเทศบาลนครเชียงใหม่ สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติแห่งชาติและภาคีเครือข่าย เปิดศูนย์ประสานงานส่วนหน้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ. เชียงใหม่
เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2567 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ในหลายพื้นที่ กระทรวง อว. โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ
เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568 นำร่อง 3 สถาบัน “จุฬาฯ - มจพ. - สจล.”
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.67 น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการแถลงข่าว “อว. For Semiconductor” การเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล
“ศุภมาส” รมว.กระทรวง อว. เปิดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2567”
17 สิงหาคม 2567 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)