'คารม' แจงเหตุขยายเวลาจัดทำกฎหมายลำดับรองออกไปอีก 1 ปี

'คารม' เผย ครม. มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ออกไป 1 ปี

16 พ.ย.2566 - นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 พ.ย.มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 ออกไป 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ

นายคารม กล่าวว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 ซึ่งบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 19 ฉบับ โดย สธ.ได้ยกร่างกฎหมายลำดับรองและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 18 ฉบับ ขณะนี้ยังมีกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างกฎหมายอีก 1 ฉบับ แต่โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกำกฎหมายฯ มีผลบังคับใช้ การออกกฎหมายลำดับรอง จึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี จึงมีความจำเป็นต้องเสนอ ครม.เพื่อขอขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 1 ฉบับดังกล่าว

“ร่างประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. .... อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้จ้างงานสามารถเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน หลักประกันความเสียหายในการทำงานจากผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้จ้างงานและผู้รับงาน กรณีที่งานที่รับไปทำมีมูลค่าสูงหรือมีปริมาณมาก เพื่อคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน มิต้องเดือดร้อนในการหาหลักประกันเกินกว่าที่กำหนด และป้องกันมิให้ผู้จ้างงานแสวงหาผลประโยชน์จากหลักประกันโดยไม่สมควร” นายคารมกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"พิพัฒน์" จับมือ ธอส. ปล่อยสินเชื่อซื้อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ 1.59% ต่อปี วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสิทธิประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง

วันที่ 26 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

"พิพัฒน์" ระดมทีมช่างฝีมือแรงงาน ทั่วภาคเหนือ ซ่อมฟรี! ระบบใช้ไฟฟ้าในบ้าน มอเตอร์ไซค์ อุปกรณ์ประกอบอาชีพ ช่วยบรรเทาผู้ประสบอุทกภัยเชียงราย

วันที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 10.30น. นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ในวันนี้ผม พร้อมด้วยนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และนางบังอร มะลิดิน

1 หมื่น อัตรา ! "พิพัฒน์ - สุรศักดิ์" จับมือ นำ นักเรียน นักศึกษา ทำงานช่วงปิดภาคเรียน MOU 22 ธุรกิจเอกชน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย ขยายโอกาส ตั้งแต่วัยเรียน

วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พิพัฒน์ เรียกร้องนายจ้าง เห็นใจลูกจ้าง ขึ้นค่าแรง 400 บาท วอนเข้าร่วมประชุมไตรภาคี พรุ่งนี้ 13.30 น. แย้ม ก.คลัง เห็นด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบนายจ้าง

วันที่ 19 กันยายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าการขึ้นค่าแรง 400 บาทว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 ก.ย.67) เวลา 13.30

บุญสงค์ เลขาธิการ สปส. เยือนเมืองหมอแคน เปิดงานประชุมวิชาการเสวนา “การขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน” (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการเสวนา “การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย