อุตุฯ พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า ยังไม่เริ่มต้นฤดูหนาว

3 พ.ย. 2566 – พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.: (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง ุ3 – 12 พ.ย. 66 อัปเดตจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) :

3 – 5 พ.ย. 66 มวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ลมหนาวที่พัดปกคลุมอ่อนกำลังลงด้วย ฝนน้อยลง แต่ยังมีฝนเล็กน้อยได้บางแห่ง บริเวณภาคกเหนือด้านตะวันตก ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก อากาศเริ่มเย็นลง ยังไม่ถึงกับหนาว มีเพียงยอดภู ยอดดอยพอได้สัมผัส อากาศหนาวเย็น มีหมอกในตอนเช้า การเริ่มต้นฤดูหนาวปีนี้ยังไม่ครบเงื่อนไข อาจจะต้องเลื่อนไป

ส่วนภาคใต้ยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง แต่มีแนวโน้มลดลงกว่าที่ผ่านมา ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทย คลื่นลมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ช่วง 6 – 12 พ.ย. 66 คาดว่าจะมีมวลอากาศเย็นที่แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระลอกๆ แต่กำลังไม่แรง อากาศยังเปลี่ยนแปลง ฝนยังเกิดขึ้นได้ได้ช่วงแรกที่มวลอากาศเย็นแผ่ลงมา ส่วนใหญ่เป็นฝนเล็กน้อย โดยเฉพาะช่วง 6 – 7 พ.ย. 66 อากาศยังเย็นลงไม่มาก ความชื้นสูง และยังมีลมตะวันออกพัดเข้ามาแทรกบางช่วง พี่น้องเกษตรกรที่กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตต้องเฝ้าระวัง เช้าถึงบ่ายแดดดี เย็นๆ อาจมีเมฆมาก ฝนเล็กน้อย ส่วนภาคใต้ยังมีฝนได้ต่อเนื่องหนักเบาสลับกันไป (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ).

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ พยากรณ์มรสุมกำลังอ่อนลง ทั่วไทยฝนลด ยังตก 35 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง

กรมอุตุฯ เตือน 43 จว. ยังมีฝนฟ้าคะนอง ‘กทม.’ ชุ่มฉ่ำร้อยละ 60 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

อุตุฯเตือน ภาคอีสาน-ใต้ รับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น