รัฐบาลตั้งเป้าลด-เลิกใช้กล่องโฟม หลอดพลาสติก ภายในปีหน้า

18 ธ.ค.2564 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก สั่งเดินหน้าแก้ปัญหาขยะพลาสติกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยอย่างจริงจัง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 64 ซึ่งเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) ภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานกับทุกภาคส่วน มุ่งจัดการขยะพลาสติกที่ยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม

ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 - 2573 ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการดำเนินการแบบสมัครใจ ดังนี้

1.การเลิกใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม (Cap Seal)

2.การเลิกใช้ไมโครบีดส์จากพลาสติก

3.การเลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดบาง ร่วมกับภาคีเครือข่ายห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ

4.การลด เลิกใช้กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติกแบบบาง และหลอดพลาสติก ภายในปี 2565 โดยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน

5.การสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก รณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะพลาสติกผ่านช่องทางต่าง ๆ

6. การจัดทำฐานข้อมูล Material Flow of Plastic ของประเทศไทย

7. การจัดตั้งพื้นที่นำร่อง เพื่อเป็นชุมชนตัวอย่างด้านการจัดการขยะพลาสติก

8.การพัฒนาแนวทางการใช้ประโยชน์จากขยะพลาสติก

9.การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานจังหวัด ร้านขายของชำและตลาดสด เพื่อขยายผลการดำเนินมาตรการงดให้ถุงพลาสติก

10.การขับเคลื่อนการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวและขยะพลาสติก จากธุรกิจสินค้าออนไลน์

11. การลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวจากการบริการส่งอาหาร (Food Delivery)

12.การขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในทะเล ร่วมกับองค์กรต่าง ๆ อาทิ ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาเอเชีย องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน

และ 13. การกำหนดมาตรการกำกับเพื่อควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ

“นายกรัฐมนตรีชื่นชมภาครัฐ เอกชน และประชาชน ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยลดการใช้พลาสติก ลดการสร้างขยะและรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนช่วยสำคัญในการบริหารจัดการขยะ เพิ่มความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังเป็นการเริ่มต้นที่จะเกิดการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมกับการพัฒนาประเทศให้เติบโตไปในภายภาคหน้าอย่างยั่งยืนด้วย” นางสาวรัชดา กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์

เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม

เมื่อ “ขยะมีไม่พอ!” สำหรับงานศิลปะ หาคำตอบที่งาน SX2024

ขณะที่คนทั่วโลกกำลังกังวลเรื่องขยะล้นโลก นักออกแบบและผู้นำการเทรนด์การอัพไซเคิล (Upcycle) กลับมองว่าเรามีขยะไม่พอกับความต้องการใช้เพื่อสร้างสรรค์ของใช้และงานศิลปะ

ขยะท่วมชุมชนริมน้ำกก ขนย้ายไม่ทันกลิ่นเหม็นโชย จี้บอร์ด คอส. สั่งแก้ปัญหา

นางไพวัลย์ เดชผล สมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงราย และชาวบ้านเกาะลอย กล่าวว่า ไม่มีใครคาดถึงว่าน้ำกกจะทะลักท่วมสูงชุมชนได้ขนาดนี้ เพราะเป็นน้ำป่าที่ไหลแรงและเร็วมาก

ขยะท่วมเชียงรายหลังอุทกภัย นักวิชาการเสนอแผนจัดเก็บ หวั่นฟื้นฟูล่าช้ายิ่งเสียหายหนัก

นายสืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย และอาสาสมัครศูนย์ช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติ จ.เชียงราย ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์การช่วยเหลือ