กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน 6 จว.เจอฝนตกหนัก-คลื่นลมแรงต่อเนื่องถึง 18 ธ.ค.

17 ธ.ค.2564 - กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "ฝนตกหนักและคลื่นลมแรงบริเวณภาคใต้ตอนล่าง (มีผลกระทบถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2564) " ฉบับที่ 10 ระบุว่า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ พื้นที่ที่คาดว่าได้รับผลกระทบมีดังนี้

วันที่ 17 ธันวาคม 2564: บริเวณจังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล

วันที่ 18 ธันวาคม 2564: บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยบริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่งไว้ด้วย ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 17-18 ธ.ค. 2564

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พยากรณ์ 15 วันล่วงหน้า ช่วงปีใหม่ลมหนาวพัดต่อเนื่อง เบาสลับแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 27 ธ.ค. 67 - 10 ม.ค. 68

อุตุฯ เตือนอากาศเย็นถึงหนาว มีหมอกตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ใต้ฝนตก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว

กรมอุตุฯ เผยลมหนาวแผ่ลงมาต่อเนื่องช่วงปีใหม่ 28 ธ.ค. ถึง 9 ม.ค.68

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 15 วันล่วงหน้า ระหว่าง 26 ธ.ค.67 - 9 ม.ค.68 init. 2024122512 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป

เดินตามแนวพระราชดำริ...ช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมชุมพร

ในช่วงวันที่ 13-15 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมามรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงได้พัดปก คลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคใต้ตอนล่างเคลื่อนลงสู่ทะเลอัน