ชมเลย ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย

29 ต.ค. 2566 – NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ทำการไลฟ์สด ปรากฏการณ์ จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย ในช่วงเช้ามืด 29 ตุลาคม 2566 นี้!! เริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 01:01 – 05:26 น. (เวลาท้องถิ่น ณ กรุงเทพมหานคร) จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว เวลาประมาณ 01:01 น. แสงสว่างของดวงจันทร์จะลดลงเล็กน้อย สังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก

จนกระทั่งเวลาประมาณ 02:35 น. ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์เต็มดวงจะค่อย ๆ เว้าแหว่งไปทีละน้อย เงาโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03:14 น. ประมาณร้อยละ 6 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ จนสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนในเวลาประมาณ 03:52 น. รวมเวลาเกิดจันทรุปราคาบางส่วนนาน 1 ชั่วโมง 17 นาที จากนั้นดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลกอีกครั้ง และสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาโดยสมบูรณ์ในเวลาประมาณ 05:26 น.

ชมวีดีโอ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สดร. เปิดเทศกาลชมดาว รับลมหนาว เริ่ม 2 พ.ย.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ชวนคนไทยดูดาวหนาวนี้ เริ่มกิจกรรมแรก 2 พฤศจิกายน 2567 กับการ“เปิดเทศกาลชมดาว…รับลมหนาว”

ประเดิมรับลมหนาว! หอดูดาว 5 แห่ง จัดชมปรากฏการณ์ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี 3 พ.ย.นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งว่า 3 พฤศจิกายนนี้ ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ชวนคนไทยส่อง #ดาวพฤหัสบดี ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ หอดูดาวทั้ง 5 แห่งของ NARIT ที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา และขอนแก่น ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย

สดร. เปิดภาพปรากฏการณ์ 'จันทรุปราคาบางส่วน'

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยภาพ “ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน” ช่วงเงามืดของโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03.14 น. ต่อเนื่องคืนวันที่ 29 ตุลาคม 2566 หรือเช้าวันออกพรรษา บันทึกภาพจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ

NARIT โชว์ภาพ ‘ดาวศุกร์’ ช่วงเช้าก่อนรุ่งสาง สว่างที่สุดครั้งสุดท้ายในรอบปีนี้

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุว่า ดาวศุกร์ หรือ ดาวประกายพรึก รุ่งเช้าวันนี้

มาแล้ว 'ซูเปอร์บลูมูน' 2 ปรากฏการณ์ จันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน และอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า เตรียมพร้อมถ่ายภาพ #ดวงจันทร์เต็มดวงใหญ่ที่สุดในรอบปี