20 ต.ค.2566 - นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช. )ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดตั้งศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) ขึ้น เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริตเพื่อให้สามารถป้องปรามและลดปัญหาการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหน้าที่และอำนาจของหน่วยงาน ตลอดจนเพื่อให้เกิดระบบการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงการทุจริตและการบูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วน เพื่อช่วยระงับยับยั้งการทุจริตและแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างเป็นระบบ สร้างความเชื่อมั่นต่อระบบเฝ้าระวังการทุจริตที่มีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือและผนึกกำลังต้านทุจริตในวงกว้างตามกลไกของกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ซึ่งผลการดำเนินงานของศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 ที่ผ่านมาสามารถขับเคลื่อนงานด้านการป้องปรามการทุจริต โดยมีรายละเอียดดังนี้ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 มีจำนวนเรื่อง ประเด็นหรือข้อมูลเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตเข้ามายังศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) จำนวนทั้งสิ้น 1,360 เรื่อง โดยจำแนกตามปีงบประมาณได้ ดังนี้ ระหว่างเดือน มกราคม - กันยายน 2565 จำนวน 541 เรื่องและระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566 จำนวน 819 เรื่อง
ผลการดำเนินการของเรื่องที่เข้ามายังศูนย์ CDC จากข้อมูลเรื่อง ประเด็นหรือข้อมูลเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต จำนวน 1,360 เรื่องปัจจุบันศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) ได้ดำเนินการอยู่ในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ แจ้งให้สำนักส่วนกลาง สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดรับทราบเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ จำนวน 220 เรื่อง, สำนักส่วนกลาง สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น มีการลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือดำเนินการเฝ้าระวังและรายงานกลับแล้ว จำนวน 1,140 เรื่อง
มีรายละเอียดดังนี้ ตรวจสอบเฝ้าระวังและแจ้งหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเข้าดำเนินการแล้วจำนวน 844 เรื่อง, หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจได้เข้าดำเนินการปรับปรุง/แก้ไขแล้ว จำนวน 245 เรื่อง, สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและลงพื้นที่แล้ว ปรากฏข้อมูลหลักฐานว่ามีพฤติการณ์เข้าข่ายกระทำการทุจริต และมีการลงรับเรื่องในระบบตรวจรับคำกล่าวหา หรือ PESCA จำนวน 51 เรื่อง
สำหรับเรื่อง ประเด็นหรือข้อมูลเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตที่เข้ามายังศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) สามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง/ระบบสาธารณูปโภค เป็นกรณีขอให้ตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง หรือ โครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค จำนวน 985 เรื่อง, การทุจริตต่อหน้าที่ เป็นกรณีปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จำนวน 212 เรื่อง, ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นกรณีที่ขอให้มีการตรวจสอบกระบวนการหรือตรวจสอบเจ้าพนักงานของรัฐดำเนินการเกี่ยวกับทรัพยากรสาธารณะไปแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 118 เรื่อง, เรียกรับทรัพย์สิน เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานของรัฐ เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจำนวน 42 เรื่อง, ร่ำรวยผิดปกติ เป็นกรณีมีทรัพย์สินมากผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากผิดปกติหรือการมีหนี้สินลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่มีมูลอันจะอ้างได้ตามกฎหมายสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติตามหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่จำนวน 3 เรื่อง ทั้งนี้ เมื่อรวมงบประมาณโดยคำนวณเฉพาะงบประมาณโครงการที่ศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) ได้เข้าไปตรวจสอบเพื่อป้องปรามระงับยับยั้งความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมมูลค่างบประมาณได้กว่า 131,462,000,000 ล้านบาท
โฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. เปิดเผยด้วยว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนดแผนการจัดทำ “โครงการเฝ้าระวังสถานการณ์ทุจริต (พัฒนาระบบเทคโนโลยีเฝ้าระวังและประเมินสภาวการณ์ทุจริตของศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติสำนักงาน ป.ป.ช. (Corruption Deterrence Center : CDC) เพื่อระงับยับยั้งและลดการทุจริตอย่างมีประสิทธิภาพ)” เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการแจ้งเตือน เฝ้าระวังการทุจริต ตรวจสอบและรายงานกลับอย่างรวดเร็ว (Corruption Barometer Detection and Rapid Appraisal) ระยะที่ 3 (ระบบศูนย์ฯ CDC) ซึ่งจะเป็นการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งด้านการจัดทำ Software และ Hardware ตลอดจนการจัดสร้างห้อง CDC War Room เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนภารกิจของศูนย์ฯ CDC ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์มุ่งหวังให้เกิดการระงับยับยั้งการทุจริตเพื่อลดการทุจริตอย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบป้องปรามการทุจริตด้วยการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือและผนึกกำลังต้านทุจริตในวงกว้าง ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ป.ป.ช. ตั้งที่ปรึกษาองค์คณะไต่สวน คดีเอื้อทักษิณนอนชั้น 14 ให้แจ้งคืบหน้าทุก 1 เดือน
นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. แถลงว่า ในวันนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งมีนายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ ป.ป.ช. เ
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
รัฐสภารับหลักการ ร่าง 'พ.ร.ป.ปราบทุจริต' สว.เสียงแตก หนุน-ค้าน
ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายมงคล สุระสัจจะ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่...) พ.ศ... ซึ่งเสนอโดย คณะรัฐมนตรี (ครม.)
‘หยุ่น’ ฟันเปรี้ยงรอดยาก! ชั้น 14 ดิ้นอย่างไรก็ไม่หลุด
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า เรื่องชั้น 14 จะดิ้นอย่างไรก็หลุดยาก จึงเห็นการเฉไฉ, ตีหน้าตาย
‘หมอวรงค์‘ ให้กำลังใจ ‘แพทยสภา’ ลุยสอบจริยธรรมแพทย์ช่วยนักโทษชั้น 14
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า #ให้กำลังใจแพทยสภา
'ชัยชนะ' ลั่นทักษิณไม่ผิด แต่เป็นผู้ได้รับผลของการกระทำนำตัวไปรักษาชั้น 14
นายชัยชนะ เดชเดโช สส.นครศรีธรรมราชและรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)