ประธานศาลฎีกา ตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง

17 ต.ค.2566 - นางอโนชา ชีวิตโสภณ ประธานศาลฎีกาคนที่ 49 ได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 แต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายด้านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งก่อนฟ้อง และระหว่างการพิจารณาของศาล เป็นไปด้วยความเรียบร้อย พัฒนาช่องทางที่ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ปฏิรูประบบงาน ขจัดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนล่าช้าอันจะเป็นอุปสรรคในการบริการประชาชน

โดยมีนายอดุลย์ ขันทอง ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็นประธานคณะทำงาน นายปรัชญา อยู่ประเสริฐ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลแพ่ง , นายเนติภูมิ มายสกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลจังหวัดธัญบุรีช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา ,นายภพ เอครพานิช รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ,นายสุริยัณห์ หงษ์วิไล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดจันทบุรีช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา และผู้อำนวยการศูนย์รักษาความปลอดภัย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมตุลาการ นิติกร ข้าราชการชำนาญการ รวม 11 คนร่วมคณะทำงาน

โดยมีภารกิจสำคัญ คณะทำงานพัฒนาระบบไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง มีอำนาจหน้าที่ศึกษาระบบ จัดทำคู่มือแก่ศาลยุติธรรมทั่วประเทศเพื่อนำไปใช้ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน พัฒนาช่องทางระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องที่ประชาชนเข้าถึงโดยสะดวกรวดเร็ว ไม่ก่อภาระค่าใช้จ่ายแก่ประชาชน ประสานความร่วมมือ จัดประชุมระดมความคิดเห็นกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อความรวดเร็วและประสิทธิภาพในระบบไกล่เกลี่ย เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องในศาลยุติธรรมทั่วประเทศ และดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและการไกล่เกลี่ยระหว่างพิจารณาคดีของศาล โดยจะรายงานผลดำเนินการตามภารกิจทั้งหมดต่อประธานศาลฎีกาทราบต่อไป

โดยการขับเคลื่อนและส่งเสริมกระบวนการระงับข้อพิพาททางเลือกให้สามารถไกล่เกลี่ยได้ในทุกขั้นตอน นอกจากช่วยให้ความขัดแย้งยุติลงด้วยความสมานฉันท์แล้วยังลดภาระค่าใช้จ่ายแก่คู่ความ โดยศาลยุติธรรมพร้อมเสมอจะเป็นที่พึ่งของประชาชนในโอกาสแรก จึงขอเชิญชวนประชาชนที่มีข้อพิพาทไม่ว่ากรณีใด ๆ สามารถขอใช้บริการได้ที่ศาลยุติธรรมทั่วประเทศ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังนางอโนชา ได้ขึ้นดำรงตำเเหน่ง ประธานศาลฎีกา ได้กำหนดแนวทางการบริหารงานแก่ศาลยุติธรรมทั่วประเทศ ภายใต้นโยบาย “ที่พึ่ง เที่ยงธรรม เท่าเทียม ทันโลก”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทวี' ชี้ ‘เขากระโดง’ คำวินิจฉัยศาลฎีกา 5,083 ไร่ เป็นที่ดินของการรถไฟ ถือสิ้นสุด

เรื่องนี้ไม่ใช่ศาลฎีกาอย่างเดียว กฤษฎีกาก็วินิจฉัยแล้ว ป.ป.ช.ก็วินิจฉัยแล้ว ก็ถือว่าสิ้นสุด ที่สำคัญมีการบังคับคดีและยึดที่คืน

นักกฎหมาย หวั่นคำสั่งทางปค. กรณีที่ดินเขากระโดง อยู่เหนือคำพิพากษาศาลฎีกา จะขัดต่อหลักนิติรัฐ

“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ มติเขากระโดง หักมุม ไม่เชื่อรูปแผนที่ในคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมเหนือกว่าคำสั่งทางปกครอง

'ทนายตั้ม' พร้อมนอนคุก! เตรียมหลักทรัพย์ยื่นประกันเฉพาะเมีย

ทนายเผย 'ตั้ม' ยังไม่ยื่นประกันตัววันนี้ เตรียมหลักทรัพย์ประกันเฉพาะเมียแทน 'ทนายเจ๊อ้อย’ โผล่ ยื่นค้านประกันตัวชี้มีพฤติกรรมหลบหนี หวั่นยุ่งเหยิงพยาน

เลือกซ่อม ก.ต. 'อดิศักดิ์' ผงาด! 'เศกสิทธิ์-พงษ์เดช-อนุรักษ์' เข้าวินชั้นฎีกา

‘อดิศักดิ์’ ปธ.ศาลอุทธรณ์ ผงาด! ตุลาการเลือก ก.ต.ชั้นอุทธรณ์ 'เศกสิทธิ์-พงษ์เดช-อนุรักษ์' จับมือเข้าวิน นั่ง ก.ต.ชั้นฎีกา

ลุ้นศาลรับคำร้อง! 'หมอวรงค์' ชี้พฤติการณ์ชั้น 14 มัด 'ทักษิณ-พท.'

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ "ทักษิณจะถือว่าล้มล้างการปกครองหรือไม่?" โดยระบุว่า

'ปธ.วิปรัฐบาล' ลั่นไม่มีหน้าที่ตามจับ 'พล.อ.พิศาล' โวย 'โรม' ปั่นกระทู้ปลุกแตกแยก

'วิสุทธิ์' บอกไม่รู้ตอนนี้ 'พิศาล' อยู่ไหน วิปรัฐบาลไม่มีหน้าที่ตามจับใคร ยันไม่ได้ปกป้อง แต่ไม่มีใครใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ข้องใจ 'โรม' ตั้งกระทู้ปั่นในสภาฯ เพื่ออะไร หวั่นจุดชนวนแตกแยก