แฟ้มภาพ
10 ต.ค.2566- นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เตือนประชาชนเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง และน้ำล้นตลิ่ง เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีปริมาณฝนตกหนักสะสม ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้คาดการณ์จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นอีก ในช่วงวันที่ 9 – 12 ตุลาคม 2566 ส่งผลให้น้ำหลากลงสู่ลุ่มน้ำและอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น จึงขอให้เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ ในช่วงวันที่ 12 – 18 ตุลาคม 2566 ดังนี้
- อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่
อ่างเก็บน้ำกิ่วลม และแม่มอก จังหวัดลำปาง
อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี
อ่างเก็บน้ำน้ำพุง และหนองหาร จังหวัดสกลนคร
อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น
อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก
อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ คาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน และมีแนวโน้มปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80
- พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ
2.1 แม่น้ำยม บริเวณ อำเภอศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
อำเภอพรหมพิราม และบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอสามง่าม และโพทะเล จังหวัดพิจิตร
2.2 แม่น้ำมูล บริเวณสถานี M.7 อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่ที่ +113.00 ถึง +113.50 เมตร ระดับทะเลปานกลาง สูงกว่าตลิ่ง 1.00 – 1.50 เมตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ บริเวณอำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ พิบูลมังสาหาร ดอนมดแดง ตระการพืชผล และม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
2.3 แม่น้ำยัง บริเวณสถานี E.92 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คาดการณ์ว่าระดับจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สูงกว่าตลิ่ง 1.00 – 1.50 เมตร ในวันที่ 10 – 11 ตุลาคม 2566 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบริเวณ อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และลดลงต่ำกว่าตลิ่ง ในวันที่ 13 – 14 ตุลาคม 2566
“นายกรัฐมนตรีสั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที” นายคารม กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เผยแจ้งความออนไลน์ 1 มี.ค 65 - 31 ต.ค. 67 เฉลี่ยเสียหายวันละ 7.7 ล้านบาท
'รองโฆษกรัฐบาล' เผยสถิติแจ้งความออนไลน์ ตั้งแต่ 1 มี.ค 65 – 31 ต.ค.67 มูลค่าความเสียหายรวม 7.48 หมื่นล้านบาท เฉลี่ย 77 ล้านบาทต่อวัน
'นฤมล' เผยข่าวดีครม.อนุมัติงบ 2.57 พันล้านบาท ฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรที่ประสบอุทกภัย
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ถึงข่าวดีของเกษตรกรว่า ปีนี้อ่างกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทั่วประเทศ
ครม. ตั้ง 'บิ๊กรอย' นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม 'คารม-ศศิกานต์' รองโฆษกรัฐบาล
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1.พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรมว.กลาโหม
โฆษกมหาดไทยเผย 24 ต.ค. นี้ โอนเงินช่วยน้ำท่วมล็อตใหญ่ 8 จังหวัด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล โฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตามที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหา
เชียงใหม่ยังวิกฤต! มวลน้ำป่าทะลักลงแม่ปิงค่ำนี้ เพิ่มสูงส่อทุบสถิติใหม่
สถานการณ์น้ำท่วมตัวเมืองเชียงใหม่ยังคงวิกฤตต่อเนื่อง แม้ระดับน้ำปิงที่จุด p1 จะขึ้นสูงสุดช่วงตีสองที่ผ่านมา 4.81 เมตร
เช็กเลย! พื้นที่ไหนต้องเฝ้าระวังภัยอะไร ปภ.แจ้งเตือนสาธารณภัย
เพจ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานการแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 25 ก.ย. 2567 ระบุว่า