อุตุฯ ประกาศฉบับ 9 พายุไต้ฝุ่น 'โคอินุ' อ่อนกำลังลง จับตาอีกลูกพายุโซนร้อน 'บอละเวน'

9 ต.ค.2566 - เมื่อเวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุ “โคอินุ” ฉบับที่ 9 ระบุว่า เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ พายุโซนร้อน “โคอินุ” บริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 21.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 112.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้เคลื่อนที่ทางตะวันตกค่อนทางใต้เล็กน้อยด้วยความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าในช่วงวันที่ 10-11 ต.ค. 66 จะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

เพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น "โคอินุ (KOINU) ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกตามแนวชายฝั่งตอนใต้ของประเทศจีนในวันที่ 9-10 ต.ค.66 แต่เมื่อปะทะกับมวลอากาศเย็นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ พายุนี้จะไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย 

แต่ฝนที่เกิดขึ้นมาจากร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมในขณะนี้ และ ในมหาสมุทรแปซิฟิกมี พายุโซนร้อน "บอละเวน (BOLAVEN)" ก่อตัวคาดว่าจะแรงขึ้นอีก แต่อยู่ห่างจากประเทศไทยมาก จึงไม่มีผลกระทบ

ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำทางด้านตะวันออกของฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคล่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ ในช่วงวันที่ 13 -16 ต.ค.66 แต่ก่อตัวในช่วงที่มีมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว จึงไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย แต่ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ พยากรณ์มรสุมกำลังอ่อนลง ทั่วไทยฝนลด ยังตก 35 จังหวัด

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง

กรมอุตุฯ เตือน 43 จว. ยังมีฝนฟ้าคะนอง ‘กทม.’ ชุ่มฉ่ำร้อยละ 60 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย

อุตุฯเตือน ภาคอีสาน-ใต้ รับมือฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น