นายกฯเกาะติดน้ำท่วม กระโดดมอนิเตอร์สถานการณ์กรมชลฯ ห่วงสุโขทัยหนัก

นายกฯ รุดมอนิเตอร์สถานการณ์น้ำกรมชลฯ ยอมรับห่วงสุโขทัยที่สุด บอก พรุ่งนี้ 8 โมงน้ำทะลัก ขออย่าแก้ปัญหาระยะสั้น

1 ต.ค.2566 – เมื่อเวลา19.00 น.ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจริยะ กรมชลประทาน สามเสน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลังเดินทางติดตามสถานการณ์น้ำ โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  นายพีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรฯนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา นายสุริยพล นุชอนงค์  รองอธิบดีกรมชลประทาน

โดยรองอธิบดีกรมชลประทานได้รายงานสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำและเขื่อนต่างๆในประเทศ นอกจากนี้ นายกฯยังได้วิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ กับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่อยู่ระหว่างลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำที่ จ.สุโขทัย 

โดยช่วงหนึ่งนายเศรษฐา ระบุว่า เรื่องน้ำกินน้ำใช้เราไม่มีปัญหา ปัญหาใหญ่ที่มักมีการพูดถึงคือเรื่องเกษตรกรรม แต่อย่างหนึ่งที่คนมักมองข้าม คือ เรื่องอุตสาหกรรมเพราะภาคอุตสาหกรรม เราให้นักลุงทุนต่างประเทศเข้ามาเยอะมาก ถ้าต้นปีหน้าหรือกลางปีหน้า มีข่าวออกไปว่าเรามีน้ำไม่เพียงพอเราจะเสียหายเยอะมาก ขอฝากตรงนี้ และขอขอบคุณทุกท่านที่สละเวลาทำงาน น้ำท่วม 3 วันนี้ตนเองติดตามใกล้ชิดประชาชนเดือดร้อนถ้วนหน้า เรามีความเป็นห่วงเป็นที่มาที่ต้องมาดูที่ศูนย์บริหารจัดการน้ำแห่งนี้ เพื่อติดตามสถานการฟังข้อคิดในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญมาเป็นกำลังใจ เพราะไม่ใช่เรื่องเล็ก เป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องมาเป็นกำลังใจให้ 

นายกรัฐมนตรี ระบุว่า วันนี้สำนักงานชลประทานทั่วประเทศ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ร่วมกับประเมินสถานการณ์เพื่อให้การทำงานคล่องตัวที่สุด เบื้องต้นจากการรับฟังรายงาน ตนเองเป็นห่วงสถานการณ์ที่ แพร่ ลำปาง และอุบลราชธานี ที่แม้สถานการณ์จะคลี่คลายลงไปแล้วบ้างแต่ต้องเผ้าระวังอย่างใกล้ชิด แต่ต้องดูแลฟื้นฟูความเสียหายบ้านเรื่อนประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.สุโขทัย น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะต้องรองรับมวลน้ำจาก จ.แพร่ สู่พื้นที่เกษตรกรรมและตัวเมืองบางส่วน เรื่องสำคัญวันนี้ต้องวางแผนรับมือมวลน้ำที่เข้ามาอีกระลอก และขอว่าอย่ามองระยะสั้น อย่างเดียว เช่นอุบลราชธานี ที่ระบุน่าเป็นห่วงปีก่อนโดนเป็นอาทิตย์ ดังนั้นจึงอย่าห่วงแค่เรื่องเฉพาะหน้า

“วันนี้เรื่องสำคัญที่ต้องหารือ คือการวางแผนรับมือกับมวลน้ำที่จะเข้ามาอีกระลอก ซึ่งจะซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลงไปกว่าเดิม การประชุมวันนี้ขอให้ทุกท่านให้ความเห็นอย่างเต็มที่ ติดขัดอะไรขอให้พูดกันตรง ๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุดและทันสถานการณ์” นายกรัฐมนตรี ระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากนัันนายกฯ ได้สั่งการว่า 1.การจัดการน้ำ ให้กรมชลประทานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดจราจรน้ำในน้ำชี-มูล ลุ่มน้ำยม-น่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา2.การจัดการอาคารกั้นน้ำ ให้หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมโยธิการและผังเมือง กรมทางหลวงกรมทางหลวงชนบท และกรมชลประทาน ตรวจสอบความมั่นคงของพนังกั้นน้ำ สะพาน และอาคารชลประทาน ให้มีความมั่นคงและพร้อมใช้งานตลอดช่วงฤดูน้ำหลาก

 3.การช่วยเหลือประชาชน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน เช่น เร่งซ่อมแชมที่อยู่อาศัย กำจัดขยะที่มากับน้ำ และตามที่ประชาชนร้องขอ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บูรณาการระดมสรรพกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทัพ หน่วยงานท้องถิ่น 4.พยากรณ์อากาศ ให้กรมอุตุนิยมวิทยาติดตามสภาพอากาศ และแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแจ้งเตือนสภาพอากาศกับประชาชน เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด 5.การแจ้งเตือน ให้กรมชลประทานร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนในพื้นที่ให้ทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง

จากนั้นเวลา  19.40 น. นายกฯให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมเพียงสั้นๆว่า เป็นห่วงจังหวัดสุโขทัย โดยวันที่ 2 ตุลาคม เวลา 08.00 น. จะมีน้ำไหลเข้าจังหวัดสุโขทัย ซึ่งได้สั่งการไปแล้ว 

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการพัฒนาระบบเตือนภัย เช่น SMS หรือไม่  นายกฯ กล่าวว่า “ยังไม่ได้ดูทั้งหมดเลยครับ” ก่อนขึ้นรถเดินทางกลับออกไปทันที. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทศบาลนครศรีธรรมราช ปักธงเหลือง มวลน้ำจากคีรีวงไหลเข้าตัวเมือง หลังฝนตกหนัก

มวลน้ำจากพื้นที่คีรีวงกำลังไหลเข้าสู่ตัวเมืองนครศรีธรรมราชและเขตเทศบาลนครศรีธรรมราช หลังจากที่ฝนได้ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเช้าของวันนี้ (25 พฤศจิกายน 2567) ส่งผลให้พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมเริ่มมีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น

พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 27 พ.ย. ลมหนาวพัดแรงขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น. วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า

อุตุฯ เตือนอากาศเย็น มีหมอกบางตอนเช้า อุณหภูมิสูงขึ้น ใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง

ศปช. ส่งจนท.-เครื่องจักร เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัย 3 จังหวัดใต้

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง

ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้