เขื่อนเจ้าพระยา กลับมาเพิ่มระบายน้ำขึ้นอีก ด้าน สทนช.ประกาศเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง 3-7 ต.ค.นี้ คาดจะมีน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,200-1,400 ลบ.ม./วินาที น้ำท้ายเขื่อนจะสูงขึ้น 1.50 เมตร
1 ต.ค.66 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝนที่ตกหนักในพื้นที่ตอนบนบริเวณแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา กลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยวันนี้ เมื่อเวลา 08.00 น. ปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ มีปริมาณ 1,290 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 235 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท มีปริมาณ 1,244 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 106 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที น้ำระบายท้ายเขื่อน 917 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 113 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อน ที่ อ.สรรพยา สูงขึ้นจากเมื่อวาน 49 เซนติเมตร อยู่ที่ระดับ 10.61 เมตร(รทก) ต่ำกว่าตลิ่ง 5.73 เมตร
ด้าน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกประกาศฉบับที่ 1/2566 ให้เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่มและน้ำล้นตลิ่ง เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าในวันที่ 3-6 ตุลาคม 2566 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดย สทนช. ได้วิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยในช่วงวันที่ 3-7 ตุลาคม 2566 ให้เฝ้าระวังพื้นเสี่ยงหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ระวังน้ำหลากดินถล่ม และเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำเจ้าพระยา
สำหรับแม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,200-1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 1 เมตร ถึง 1.50 เมตร บริเวณคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือทันที และวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยปรับแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และระบบชลประทาน เพื่อเป็นการหน่วงน้ำที่ไหลมาสมทบแม่น้ำสายหลักให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งจัดการจราจรทางน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำยมและแม่น้ำเจ้าพระยา และประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการขนของขึ้นที่สูง หรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลชวนร่วมงาน 'วิจิตรเจ้าพระยา' 16 พ.ย.-15 ธ.ค.
รัฐบาลเชิญชวน ปชช. ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน “VIJIT CHAO PHRAYA 2024” ชมแสง สี เสียง การแสดงพลุ สุดอลังการ ร่วมชม 14 จุดการแสดงทั่ว กทม.ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ 16 พ.ย. - 15 ธ.ค. นี้
ทช.ชวนชมไฟประดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในวันลอยกระทง
‘กรมทางหลวงชนบท‘ชวนประชาชนร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทง พร้อมชมทัศนียภาพไฟประดับสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในวันศุกร์ที่ 15พ.ย.นี้
ศปช. ปรับลดระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา คาดไม่เกิน 3 วันถึงจุดต่ำสุดเข้าสู่ภาวะปกติ
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ศปช.ยังคงติดตาม การบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เพื่อให้มีน้ำเพียงพอในช่วงหน้าแล้ง
ศปช. เตือนชุมชนริมน้ำ 7 จังหวัดระวังน้ำท่วม หลังน้ำทะเลหนุนต่อเนื่อง 10 วัน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) และ ศปช. ส่วนหน้า เปิดเผยว่า ภายหลังนายกรัฐมนตรีเปิดงาน โครงการไทยแลนด์วินเทอร์เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในทุกมิติที่ผ่านมานั้น
ประชาชนเนืองแน่น 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา รอชมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
บริเวณสวนสันติชัยปราการประชาชนแต่งกายชุดสีเหลือง มารอเฝ้าฯรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน
ศปช. เตือน 11 จังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา เตรียมรับมือน้ำสูงขึ้น 30-50 ซม.
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนเจ้าพระยาในพื้นที่บริเวณจังหวัดอุทัยธานี