30 ก.ย.2566 - กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เช้าวันนี้(30/9/66) : พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "โคอินุ (KOINU)" (ความหมาย "ลูกสุนัข" ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น )แล้ว มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือในระยะแรก ทิศทางไปยังเกาะไต้หวัน และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งของประเทศจีนมาทางเกาะไหหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวมาถึงประเทศเวียดนามตอนบน ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้ ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ ทิศทางยังเปลี่ยนแปลง
พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.:(นับตั้งแต่ 07.00น. ถึง 07.00น.วันรุ่งขึ้น) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง ุ30 ก.ย.- 9 ต.ค.66 อัพเดท 2023092912 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : วันนี้ (30 ก.ย.66) ยังเป็นอีกวันที่ภาคเหนือ ยังมีฝนตกหนักบางแห่งโดยเฉพาะบริเวณทางด้านตะวันตกใกล้หย่อมความกดอาากาศต่ำบริเวณประเทศเมียนมา ต้องเฝ้าระวังฝนตกหนักและตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้
ส่วนภาคอื่นๆ ฝนเริ่มลงลงบ้าง แต่ยังมีเกิดขึ้นได้ เนื่องจากร่องมรสุมยังพาดผ่านบริเวณตอนกลางของไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ สำหรับภาคใต้จะมีบางแห่งโดยเฉพาะด้านรับมรสุม คลื่นลมจะเริ่มเบาลงในอ่าว แต่ยังมีคลื่นปานกลางในทะเลอันดามัน ช่วง 1- 5 ต.ค.66 ร่องมรสุมจะสวิงลงมาพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง (กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณจีนใต้ใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนาม ฝนเกิดขึ้นได้และตกต่อเนื่อง ตามแนวร่องมรสุม และใกล้หย่อมความกดอากาศต่ำ ยังต่อระวังฝนตกสะสม
ส่วน 6 -9 ต.ค.66 สถานการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกในขณะนี้ พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "โคอินุ (KOINU)" (ความหมาย "ลูกสุนัข" ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น ) มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือในระยะแรกไปทางเกาะไต้หวัน และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งของประเทศจีนมาทางเกาะไหหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนมาถึงประเทศเวียดนามตอนบน ยังไม่มีผลกระทบกับประเทศไทยในระยะนี้ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
'เหนือ-อีสาน' ยังเย็นต่อเนื่องส่วน 'ภาคใต้' ฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
ลมหนาวมาต่อเนื่อง กรมอุตุฯ เผยเหนือ-อีสาน อุณหภูมิลดฮวบ 2-4 องศา
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้
กรมอุตุฯ ออกประกาศ ฉ.1 พายุไต้ฝุ่น ‘หม่านหยี่’ บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน
พายุไต้ฝุ่น “หม่านหยี่” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 118.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง