29 ก.ย.2566 - เนเน่ รัดเกล้า สุวรรณคีรี อดีตผู้สมัคร ส.ส.กรุงเทพ พรรครวมไทยสร้างชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้
ในช่วงนี้มีข่าวใหญ่ๆ หลายข่าวที่ได้รับความสนใจจากทั้งผู้ผลิตสื่อและผู้เสพสื่อ… ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “บุกบ้านบิ๊กโจ๊ก แฉวงการตำรวจ” หรือเรื่อง “ตั๋วสิงคโปร์ ใช้ภาษีประชาชน เปลี่ยนที่กินเบียร์” แต่ข่าวนึงที่เนเน่ว่าคนยังพูดถึงน้อยเกินไป (แม้ว่าหลายๆ สื่อก็พยายามเผยแพร่เนื้อหาอยู่บ้าง) คือ ข่าวที่ในโลกโซเชี่ยวมีการพูดถึงคลิป #ครูตบหน้านักเรียน เพียงเพราะเด็กไม่ยอมเรียกครูว่า "แม่" ค่ะ
.
ในเว็บไซท์ของ TNews ได้รวบรวมคอมเมนท์ของศิษย์เก่าหลากหลายรุ่นที่พร้อมใจกันมาพิมพ์คอมเมนท์ #แฉ วีรกรรมว่าครูคนนี้ ว่ามีพฤติกรรม ทำร้ายเด็ก (หยิก ต่อย ตบ ด่าทอด้วยคำหยาบคาบ) ใช้อำนาจความเป็นครูบูลี่เด็ก (หักคะแนนหากเด็กไม่ทำตามคำสั่ง) รวมถึงว่าทางโรงเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของครูคนนี้ แต่ก็ปล่อยปะละเลยมาตลอดหลายปี… ล่าสุด นายธัชพล พลรัตน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ให้ครูคนนี้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน เพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมดส่งให้งานวินัยของมหาวิทยาลัย และจะตั้งกรรมการสอบครูคนนี้ต่อไป ในขณะที่ สส.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ก็ให้ความเห็นว่าครูท่านนี้ต้องถูกดำเนินคดีอาญาด้วย
.
ก็เหมือนว่าเรื่องจะจบแล้วใช่ไหมคะ คนผิดก็ต้องรับผิด… นั่นแหละค่ะ ที่เนเน่เป็นห่วง
.
ทุกคนจำกันได้ไหมคะว่าเมื่อปี 2563 เราเคยฮือฮากันไปแล้วรอบนึงกับข่าว #ครูพี่เลี้ยงทำร้ายเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ …ข่าวตอนนั้นได้รับความสนใจมากเพราะ 1) เป็นเด็กเล็กวัยอนุบาล ช่วยเหลือตัวเองยังไม่ได้ และ 2) ผู้ปกครองมากกว่าหนึ่งคนลุกขึ้นมาเรียกร้องเสียงดัง …แต่มีใครจำกันได้ไหมคะว่า มีผู้ปกครองของศิษย์เก่าออกมาเล่าให้ฟังด้วว่า ลูกเขาก็โดนทำร้ายโดยครูในโรงเรียนเดียวกันนี้ เมื่อ 4 ปีก่อนหน้า
.
สิ่งที่เนเน่อยากชี้ให้เห็นคือ… #ครูทำร้ายเด็ก อยู่กับเรามานาน และเราก็ไม่เคยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุกันเลย เราทำแค่ “ปั่นให้เป็นกระแส” เพื่อ “เอาผิดคนทำผิดให้ถึงที่สุด” แล้วก็ “มูฟออนไปสนใจเรื่องอื่น”
.
ในเว็บไซท์ Education Week มีบทความชิ้นนึงค่ะ ชื่อ “อย่าลืมผู้ใหญ่ : โรงเรียนและภาครัฐท้องถิ่นควรจะสนับสนุนการดูแลสุขภาพจิตของผู้สอนได้อย่างไร”
.
อย่าเข้าใจเนเน่ผิดนะคะ เนเน่ไม่ได้ปกป้องคุณครูที่ทำผิดค่ะ… ผิดก็คือผิด… แต่สังเกตกันไหมคะว่า ครูที่ทำผิดนั้นมีพฤติกรรมรุนแรงซ้ำๆ มาหลายปีได้อย่างไร สิ่งที่เขาทำสะท้อนให้เห็นได้ถึงความ “ผิดปรกติทางสภาพจิต” แล้วเราได้ถามต่อกันไหมว่า “สภาพแวดล้อมอะไรที่บ่มเพาะให้คนที่เป็นครู มีพฤติกรรมแบบนี้”
.
เมื่อเราพูดถึงโรงเรียน เรามักจะคิดแต่เรื่องการดูแล “เด็ก” กันจนเราลืมไปว่า คนที่ใกล้ชิดเด็กที่สุด มีโอกาสในการให้คุณหรือให้โทษเด็กได้มากที่สุดคือ “ผู้ใหญ่” ที่เป็นครู
.
ในบทความดังกล่าวได้เผยผลการสำรวจว่า 1 ใน 4 ของครูเคยมีประสบการณ์อยู่ใน #สภาวะซึมเศร้า ในขณะที่มีผู้บริหารของโรงเรียน และ/หรือ ผู้บริหารภาครัฐท้องถิ่น ออกตัวว่าเคยดำเนินการจัดให้มีโปรแกรมดูแลสุขภาพจิตครูให้เกิดขึ้น… ซึ่งอันนี้เป็นข้อมูลของอเมริกานะคะ… เนเน่ยังหาข้อมูลของประเทศไทยไม่เจอเลยค่ะ ว่าเคยมีใครทำเรื่องนี้ไหม
.
ลองจินตนาการถึงสภาพแวดล้อมการทำงานของครูไทยนะคะ…
.
ในหนึ่งวันครูต้องงัดกลเม็ดวิธีต่างๆ มาบริหารจัดการเด็กๆ ที่ยังไม่มีวุฒิภาวะในการบริหารจัดการตัวเอง บ้างก็งอแง บ้างก็ดื้อ บ้างก็ก้าวร้าว ซึ่งแน่นอนมันต้องเครียดมากๆ เก็บกดมากๆ …นอกเหนือจากนั้น สวัสดิการณ์ รายได้ ของครูนั้นก็ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอีก ซึ่งสิ่งนี้ก็สร้างความกดดันเพิ่มให้คนเป็นครูอีกไม่น้อยเลน… คือ... จิตไม่แข็งจริงๆ เป็นครูที่ดีไม่ได้แน่นอนค่ะ
.
ฉะนั้น… หากเราอยากแก้ปัญหาให้ถูกวิธี ให้เรื่อง #ครูทำร้ายเด็ก #หยุดเสียที โรงเรียนในประเทศไทยควรมีการตรวจสุขภาพจิตของครูเป็นประจำทุกปี ไม่ใช่เพื่อจับผิดนะคะ แต่เพื่อนำไปสู่การให้คำแนะนำในเชิงจิตวิทยา และการบำบัดเบื้องต้นค่ะ (หลายคนยังติดทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับผู้ที่ป่วยหรือมีสภาวะทางจิต อยากให้มองว่ามันไม่ต่างอะไรกับการป่วยทางกายนะคะ ไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจอะไรค่ะ)… เนเน่ เชื่อว่าครูที่ดีก็มีอยู่ค่ะ นอกเหนือจากสู้ด้วยการทุ่มแรงกายในทุกๆ วันแล้ว เขายังต้องสู้ข้างในใจคนเองทุกวินาทีด้วย อย่าให้คุณครูต้องต่อสู้กันเพียงลำพังเลยนะคะ
.
ฝากไอเดียเล็กๆ นี้ให้เสียงดังไปให้ถึงกระทรวงศึกษา และหน่วยงานอื่นๆ เกี่ยงข้องด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
.
ที่มาของข้อมูล
https://www.edweek.org/.../dont-forget-the-adults.../2022/03
https://www.matichon.co.th/education/news_2367524
https://www.tnews.co.th/social/social-news/597639
https://www.nationtv.tv/news/social/378931657
https://www.komchadluek.net/hot-social/Social/559670
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000087416
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7887605
https://today.line.me/th/v2/article/NvYzOwk
https://workpointtoday.com/hot-social/
https://www.thairath.co.th/news/society/2728668
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง
'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล
'เนเน่' ตอก 'ปิยบุตร' หมกมุ่น ตรรกะผิดเพี้ยน นั่งจับผิด 'นายกฯ-องคมนตรี'
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก เนเน่ รัดเกล้า สุวรรณคีรี #หมกมุ่น #ฝั
'สาวรทสช.' ดีใจที่กลไกยุติธรรมลงโทษ นักการเมืองทำร้ายผู้หญิง
เนเน่ - รัดเกล้า สุวรรณคีรี อดีตผู้สมัครส.ส.กทม.พรรครวมไทยสร้างชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
'ลูกสาวไตรรงค์' ชำแหละ 'ก้าวไกล' ล่อนจ้อน ตั๋วปารีส แก้ม.112 รื้อรธน.หมวดพระมหากษัตริย์
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน (ที่คุณต๋อม ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล เคยเป็นถึงอดีตบรรณาธิการ) ผลิตหนังสือ เช่น ขอฝันใฝ่
‘รัดเกล้า’ ย้ำตัวตน ‘รทสช.’ เป็นนักสู้ แต่จะไม่มีวันสู้แบบประเทศจะเสียหาย
มีนักวิชาการบางคนมาสร้างข่าวลือว่า รทสช. จะชิงตำแหน่งนายก จะจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย ซึ่ง! ก็เป็นการปั้นน้ำเป็นตัว รทสช. เป็นนักสู้ แต่จะไม่มีวันสู้แบบที่ประเทศจะเสียหาย ไม่ต้องหลงประเด็น
'ว่าที่ผู้สมัครส.ส.หญิงรทสช.' ชงเพิ่มคนทำงานหญิง-ตำแหน่งสำคัญ เท่าเทียมกับผู้ชาย
'เนเน่ รัดเกล้า สุวรรณคีรี'ว่าที่ผู้สมัครส.ส.หญิงรทสช.ชงเพิ่มคนทำงานเพศหญิงให้อยู่ในอัตราส่วนที่เท่าเทียมกับผู้ชายและการเข้าดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ดันกม.ล่อลวง นำระบบAIมาช่วย หวังลดล่วงละเมิดออนไลน์