จับตา! ศาลปกครองชี้ขาดปม 3 โครงการในมาบตาพุดต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญหรือไม่!

ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษาปมชาวบ้านร้อง 3 โครงการในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉางไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลชั้นต้นสั่งให้ดำเนินการตามมาตรา 67 ของ รธน.ปี 2550 ใน 30 วัน

28 ก.ย.2566 - ในเวลา 14.00 น ณ ห้องพิจารณาคดี 9 ชั้น 3 ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 422/2553 คดีหมายเลขแดงที่ 663/2558 ระหว่าง สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ที่ 1 กับพวกรวม 35 คน (ผู้ฟ้องคดี) กับ เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 1 กับพวกรวม 9 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร

โดยคดีนี้ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่า เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ 1 กับพวกรวม 9 คน ให้ความเห็นชอบรายงานการประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และออกใบอนุญาตให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ในพื้นที่มาบตาพุด บ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยไม่มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำคดีมาฟ้อง

ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าร่วมกันหรือแทนกัน มีคำสั่งให้ผู้ประกอบกิจการโครงการผลิตเหล็กเส้นของบริษัท เหล็กทรัพย์ตะวันออก จำกัด โครงการท่าเทียบเรือขนถ่ายสินค้าเหลวของบริษัท เอเซียเทอร์มินัล จำกัด และโครงการโรงไฟฟ้า T.N.P 2 อุตสาหกรรม 2 แห่ง ของบริษัท เนชั่นแนลเพาเวอร์ 2 จำกัด ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยมีคำสั่งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการทั้งสามรายดำเนินการให้แล้วเสร็จ และนำมาประกอบการขออนุญาตประกอบกิจการ เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่าโครงการหรือกิจกรรมที่พิพาทในคดีนี้มีจำนวน 3 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งเก้าร่วมกันหรือแทนกันไม่ออกคำสั่งให้ผู้ประกอบกิจการทั้งสามโครงการดังกล่าวดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี จึงยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ครบองค์ประกอบ! เรืองไกรร้องผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลปกครองตีตกดิจิทัลวอลเล็ต

'เรืองไกร' ขอผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลปกครองวินิจฉัยล้มดิจิทัลวอลเล็ต เหตุเลือกปฏิบัติไม่เสมอภาคขัดรัฐธรรมนูญ

ยุ่งแล้ว! อดีตผู้สมัคร สว. จ่อร้องศาลปค.สูงสุด ไต่สวนคุ้มครองประกาศผลเลือก สว.

อดีตผู้สมัครสว. จ่อยื่นศาลปกครองสูงสุด ขอไต่สวนฉุกเฉินคุ้มครองชั่วคราวประกาศผลเลือกสว.ชุดเชื่อมโยงการเมือง ชี้เป็นการเลือกสว.ที่มีการหักหลังกันอย่างน่าเกลียด น่าเวทนา จี้กกต.ฟันสว.นกแล และผู้สมัครแจ้งประวัติไม่ตรงกลุ่มอาชีพ

'ดร.สามารถ' แพร่บทความ บทเรียนสูญ 1.3 แสนล้าน รถไฟฟ้าสายสีส้ม ต้องมีผู้รับผิดชอบ

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ รถไฟฟ้าสายสีส้ม "บทเรียนที่ต้องเรียน" มีเนื้อหาดังนี้

'ศาลปค.สูงสุด' ชี้ขาดแล้ว รฟม.เดินหน้าเซ็นสัญญา BEM ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องในคดี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562