24 ก.ย. 2566 – สำนักวิจัย สยาม เทคโน โพล (Siam Techno Poll) วิทยาลัย เทคโนโลยี สยาม เสนอผลสำรวจ เรื่อง ความกังวลต่อโลกไซเบอร์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,021 ราย ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 15 – 23 กันยายน พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา พบประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ
เมื่อถามถึง ประสบการณ์ของประชาชนถูกหลอกลวงในโลกไซเบอร์ โลกออนไลน์ จากการใช้ โซเชียล พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.0 เคยถูกหลอกลวง ในขณะที่ร้อยละ 24.0 ไม่เคย นอกจากนี้ เมื่อถามถึงระดับความกังวลในภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อความมั่นคงชาติและความปลอดภัยของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.0 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 35.1 กังวลปานกลาง และร้อยละ 8.9 กังวลค่อนข้างน้อย ถึง ไม่กังวลเลย ยิ่งไปกว่านั้น เกือบครึ่งหรือร้อยละ 49.7 กังวลค่อนข้างมาก ถึง มากที่สุด ต่อ ความไม่ปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ร้อยละ 39.5 กังวลปานกลาง และร้อยละ 10.8 กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ที่น่าพิจารณาคือ ความพอใจของประชาชนต่อนโยบายรัฐบาลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อความมั่นคงชาติ ระบบเศรษฐกิจของประเทศและความปลอดภัยของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.5 ระบุยังต้องปรับปรุงแก้ไข และร้อยละ 20.3 ระบุต้องแก้ไขเร่งด่วน ในขณะที่เพียงร้อยละ 12.2 พอใจมากถึงมากที่สุด
ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ในฐานะศิษย์เก่า มหาวิทยาลัย จอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ วิทยาลัย เทคโนโลยี สยาม กล่าวว่า ในเวลานี้ประชาชนคนไทยกว่า 60 ล้านคนมีข้อมูลอยู่บนโลกไซเบอร์และมีการใช้โทรศัพท์มือถือกว่าร้อยล้านเลขหมาย จึงกลายเป็นจุดอ่อนที่สุดในการถูกโจมตีทางไซเบอร์ได้ และจากข้อมูลวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า ประชาชนมีความวางใจต่อความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่รัฐในความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังไม่มากเพียงพอ
“ที่น่าเป็นห่วงคือ ยังไม่พบว่า ประเทศไทยมีมาตรฐานกลางที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนไทยในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีต่อ ความมั่นคงชาติ ระบบเศรษฐกิจและความปลอดภัยของประชาชน และยังไม่พบกฎหมายที่ครอบคลุมทุกมิติในเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ตั้งแต่ต้นน้ำคือ การเฝ้าระวัง การเกาะติดอุบัติการณ์ การตอบสนองต่ออุบัติการณ์ และการฟื้นฟูเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอันจะช่วยรักษาความมั่นคงชาติ ระบบเศรษฐกิจของประเทศและความปลอดภัยของประชาชนได้ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตร.84%ภูมิใจ ใส่เครื่องแบบ ปูน‘บำเหน็จ’ รองหรั่ง6ขั้น
ตำรวจ 84% ภูมิใจในเครื่องแบบ สายงานสืบสวนพอใจน้อยที่สุด
กลุ่ม LGBTQ ยังไม่เข้าใจกม.สมรสเท่าเทียม
นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง เสียงของ LGBTQiA+ กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่ม LGBTQiA+ ทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย เสริมภูมิคุ้มกันบุคลากร ตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ เจแอนด์ที เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก ได้จัดกิจกรรมอบรมพิเศษให้กับพนักงาน ณ สำนักงานใหญ่
โพลชี้ชัดเจน ประชาชน อยากเห็นนายกฯ ปฏิรูปตำรวจ
นายนพดล กรรณิกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่ปรึกษามูลนิธิ สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ และผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพล เสนอผลการศึกษาเรื่อง ปฏิรูปตำรวจ กับ ศรัทธาจากประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวนทั้งสิ้น 1,597 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 - 4 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจความคิดเห็น 'เงินถูกโจรกรรม ใครต้องรับผิด'
นายนพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งซูเปอร์โพลและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง
'นักเรียนไทยในสหรัฐ' เรียกร้องสองรัฐบาล ขยายเวลาวีซ่า F1
นายกฤตัชญ์ กรรณิกา เหรัญญิกสมาคมนักศึกษาไทยในสหรัฐอเมริกา (ATSA) ในฐานะผู้แทนนักศึกษาไทยประชุมร่วมเวที 190 ปี สายสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอเมริกา