เขย่า 'กสม.' ปฏิบัติการเร่งด่วน ปกป้องนักสิทธิมนุษยชน ชนวนรุนแรงเหมืองแร่

นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ยื่นหนังสือ ประธาน กสม.ทำงานเชิงรุก พร้อมออกมาตรการเร่งด่วนในการปกป้องผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษชนในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงเหมืองแร่

17 ก.ย.2566 – น.ส.จุฑามาส  ศรีหัตถผดุงกิจ  โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่  (PPM)  ระบุว่า ได้ยื่นหนังสือข้อเสนอเปิดผนึกต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ในกรณีกรณีการปกป้องและคุ้มครองการทำงานของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน  ดังต่อไปนี้ คือ  การใช้มาตรการเชิงรุกในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเสนอให้มีการลงพื้นที่และสอบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเร่งด่วนและทันท่วงที เมื่อมีรายงานเกี่ยวกับการละเมิดและการข่มขู่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ควรมีการตอบสนองที่รวดเร็วและตอบรับต่อสถานการณ์ได้ทันท่วงทีเพื่อให้กระบวนการตรวจสอบสอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๖ (๑) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีหน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้า

“ โดยการใช้มาตรการในการทำงานเชิงรุกไปยังสถานที่เกิดเหตุและให้ความคุ้มครองให้แก่ผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยง การเข้าร่วมประชุมติดตามสถานการณ์และทำงานร่วมกับชุมชนของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสถานการณ์และสามารถในการหามาตรการคุ้มครองและสนับสนุนที่เหมาะสม รวมถึงการให้คำแนะนำและสนับสนุนให้กับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกดำเนินคดี เพื่อให้พวกเขาได้รับการปกป้องอย่างเหมาะสม” น.ส.จุฑามาส ระบุ

น.ส. จุทามาส กล่าวว่า นอกจากนี้ ขอให้ กสม.มีการแต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนในด้านต่างๆ ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยบุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนควรที่จะหารือกับผู้ได้รับผลกระทบในรายประเด็นสิทธิด้านต่างๆเพื่อให้ได้คณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการที่เข้าใจ รู้ปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หรือ การใช้กระบวนการไต่สวนสาธารณะในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เธอ ระบุด้วยว่า เมื่อต้องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการลงพื้นที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติหรือเจ้าหน้าหน้าที่ของสำนักคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรใช้กระบวนการที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจร่วมกับผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น  การกำหนดวัน การกำหนดประเด็นในการลงพื้นที่ร่วม เพื่อการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ หรือการสังเกตการณ์การชุมนุมโดยสันติของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่เป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมาย เพื่อเก็บรวบรวมหลักฐาน นำไปสู่การแสดงความรับผิดชอบและเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิ และสนับสนุนให้รับผิดชอบต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรับและตอบรายงานการสังเกตการณ์ของกรรมการสิทธิมนุษยชน 

“กำหนดแนวทางในการประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่เพื่อให้ทางจังหวัดเข้าใจว่ามีองค์กรอิสระที่ทำงานตรวจสอบการกระทำสิทธิมนุษยชน หรือหากมีความเสี่ยงหรือความรุนแรงที่อาจจะก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปกป้องและคุ้มครองผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน” น.ส.จุฑามาส ระบุ

น.ส.จุฑามาส กล่าวด้วยว่า ต้องมีการทำความเข้าใจและจัดทำบันทึกความเข้าใจ/ข้อตกลง (MOU) กับหน่วยงานของรัฐ: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรเผยแพร่ ทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่อันชอบธรรม สิทธิและความคุ้มครองที่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนพึงมีตามปฏิญญาว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ พร้อมทั้งเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ยุติการกระทำและทัศนคติที่ไม่ยอมรับการทำงานที่ชอบธรรมของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและการโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน มาตราการและความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ตำรวจ, ทหาร, หน่วยงานความมั่นคง และหน่วยงานปราบปรามทุจริต ในการดำเนินกิจกรรมที่มีการประสานงานเพื่อยุติการคุกคามและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ขณะที่ น.ส.สุธีรา  เปงอิน โพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (PI)  ระบุว่า  ในการทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยกับหน่วยงานของรัฐ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องแสดงจุดยืนที่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและเจ้าหน้าที่ต้องมีการประกาศพันธกิจอย่างชัดเจน ที่จะตีความสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมทั้งมีความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และข้อเสนอแนะของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเสนอแนะของผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

เธอระบุด้วยว่า กสม.ควรที่จะติดตามอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องต่อความเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เสนอต่อหน่วยงานรัฐหรือเอกชนเกี่ยวกับมาตรการในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน หรือมาตราการในการป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีก

“กรณีที่เห็นควรสามารถใช้กระบวนการในการร้องขอข้อมูลหรือชี้แจงประเด็นกับหน่วยงานรัฐหรือเอกชนเพื่อให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ละเลย และใช้กระบวนการเรียกร้องทางกฎหมายหากจำเป็น การตรวจสอบการทำงานของรัฐและข้อเสนอที่มีต่อภาคเอกชนที่ต้องแก้ไขข้อพิพาทและป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิสิทธิชุมชน สิทธิในทรัพยากร หรือสิทธิของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๓๕ ขอให้ตั้งอนุกรรมการ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆมาร่วมตรวจสอบและให้ข้อมูล และใช้กลไกอนุกรรมการในการเรียกข้อมูลเอกสาร และชี้แจงประเด็นปัญหา” น.ส.สูธีรา ระบุ

 น.ส.สุธีรา กล่าวด้วยว่า ในการการเผยแพร่ข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลจากรายงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนระดับท้องถิ่นและชุมชน เพื่อเสริมสร้างการเข้าใจบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษชนและมาตราการปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชน  โดยการยื่นคำร้องต่อหน่วยงานระหว่างประเทศและการออกแถลงการณ์เพื่อเผยแพร่ระดับสากล เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภาคประชาสังคมที่ทำงานเกี่ยวกับการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

“ การจัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ ในกระบวนการเตรียมรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเพื่อนำเสนอให้รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีพิจารณา  ควรระบุข้อจำกัดที่มีของหน่วยงานรัฐในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเพิ่มเติม เพื่อให้รัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีทราบถึงข้อจำกัดที่ต้องเผชิญ เช่น ข้อจำกัดของงบประมาณของหน่วยงาน และกำลังของเจ้าหน้าที่ที่อาจไม่เพียงพอในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน หากมีรายงานเรื่องข้อจำกัดที่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แจ้งว่างบประมาณไม่เพียงพอ หรือมีพื้นที่ห่างไกล หรือมีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอที่จะสามารถดำเนินการได้ตามข้อเสนอแนะ สามารถเสนอให้มีการแก้ไขโดยการเสนอให้มีการเพิ่มทรัพยากรในการปกป้องและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (เช่น การขอเพิ่มงบประมาณหรือการส่งเจ้าหน้าที่ไปทำงานในพื้นที่เพิ่มเติมเพื่อลดความไม่ปลอดภัย)” น.ส.สุธีรา ระบุ

น.ส.สุธีรา กล่าวด้วยว่า เราจึงหวังว่าท่านจะรวบรวม ประสบการณ์ สถานการณ์ของผู้หญิงและนักปกป้องมนุษยชน และข้อเสนอแนะต่างๆในการประชุมรวมถึงข้อเสนอฉบับนี้ เพื่อหากลไกหรือมาตรการในการคุ้มครองผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนต่อไปให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรม หรือการให้คำแนะนำหรือเสนอข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่ที่จะกำลังเกิดขึ้น รัฐสภา และสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายและนโยบายที่จำเป็นในการปกป้องและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน  หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องมีส่วนร่วมในความพยายามสนับสนุนเพื่อโน้มน้าวการตัดสินใจเชิงนโยบายและส่งเสริมการปฏิรูปสิทธิมนุษยชน คือ การร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชน หรือกระตุ้นเตือนให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องมีหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองมิให้เกิดการละเมิดสิทธิจากทั้งรัฐและเอกชนจากการลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้ทันท่วงที

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (PPM) และ องค์กรโพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล (PI) ทำงานร่วมกับผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิชุมชน  สิทธิด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็นเรื่องการได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม   โดยก่อนหน้านี้  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังข้อมูลและความเห็นต่อสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ภาคตะวันออกฉียงเหนือ และภาคอื่นๆในประเทศไทยโดยรับฟังสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ภูมิธรรม’ มั่นใจนายกฯกลับมาประชุมตั้ง ‘เจทีซี’ เสร็จ ชงเข้าครม.19 พ.ย.ทันที

‘ภูมิธรรม’ ระบุ หากนายกฯกลับมา เรียกถก ตั้ง เจทีซี วันนี้ก็ เข้าครม.ทันพรุ่งนี้ โยน กต.เคาะรายชื่อ ลั่น เกาะกูดไม่จบซํ้ารอยเขาพระวิหารแน่ ยัน ไม่มีเหตุผลต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44

'สนธิญา' ยื่น 'กสม.' สอบ 'ทักษิณ' ละเมิดสิทธิ์ หานักร้องเป็นหมา

ที่สำนักงาน​คณะกรรมการ​สิทธิมนุษยชน​แห่ง​ชาติ​ (กสม.)​ นายสนธิญา สวัสดี เดินทางยื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานภาพข่าวการหาเสียงนายก องค์การ

'ภูมิใจไทย' นัดหลังปีใหม่ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาลครั้งต่อไป ว่า