13 ธ.ค. 2564 - ที่ อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นายชาญชัย แสวงศักดิ์ ประธานศาลปกครองสูงสุด และนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้เกียรติเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยมี นางสมฤดี ธัญญสิริ เลขาธิการสำนักงาน ศาลปกครอง และ พันตำรวจโท กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมลงนาม ในบันทึกข้อตกลงดังกล่าว เพื่อประสานความร่วมมือภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงานให้สอดคล้องเชื่อมโยงกัน อันจะเป็นการส่งเสริมให้การปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและต่อประชาชน
เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง กล่าวว่า สำนักงานศาลปกครองมีภารกิจสำคัญประการหนึ่งในการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีปกครอง เพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการต่อหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐ เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือไม่เป็นธรรม และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมของประชาชนอันเกิดจากกระทำของหน่วยงานของรัฐ ตลอดจนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน ตามหมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ ที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ ทั้งสองหน่วยงานจึงมีภารกิจที่สอดคล้องและมีเป้าหมายอย่างเดียวกัน คือ การเสริมสร้างธรรมาภิบาล ในสังคม จึงได้เห็นพ้องที่จะมีความร่วมมือในการสนับสนุนส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเรื่องร้องเรียน ของผู้ตรวจการแผ่นดินและข้อมูลคดีปกครอง เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีปกครองและแนวทาง การปฏิบัติราชการจากคำพิพากษาของศาลปกครอง ตลอดจนวิเคราะห์เหตุแห่งการร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อเสนอแนะให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่ง หรือขั้นตอนการปฏิบัติงานใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน หรือความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ อีกทั้งความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการประสานความร่วมมือภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่สอดคล้องเชื่อมโยงกัน โดยมีแนวทางความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคม การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านคดีปกครอง การพัฒนาบุคลากร การศึกษาวิจัยและงานวิชาการ และการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ รวมทั้งงานด้านอื่น ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของทั้งสองหน่วยงานด้วย
ด้านเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และสำนักงาน ศาลปกครอง ได้ตระหนักร่วมกันถึงความสำคัญของภารกิจการเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบต่อหน่วยงานของรัฐ เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคม และส่งเสริม สนับสนุน การดำเนินงานของศาลปกครองร่วมกับผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือทางวิชาการของ ทั้งสองหน่วยงานในครั้งนี้ จะเป็นการยกระดับการทำหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงานในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน และเป็นแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของทั้งสองหน่วยงานในอนาคตต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ขรก.ฝ่ายศาลปกครอง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ 3 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ
นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่
ศาลปกครองสูงสุด ปิดเงียบผลชี้ขาดคดีบิ๊กโจ๊ก สั่งเก็บหลักฐานฟันสื่อละเมิดอำนาจศาล
นายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
จบแล้วบิ๊กโจ๊ก! สะพัด ศาลปกครองสูงสุด ชี้คำสั่ง 'ให้ออกจากราชการ' ชอบด้วยกฎหมาย
ที่ศาลปกครองกลาง ถ.เเจ้งวัฒนะ มีการประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด โดยนายประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานการประชุม
อธิบดีกรมที่ดิน ยันคำแถลงคกก.สอบเขากระโดง ไม่มีฟอกขาว ยึดข้อกฎหมายไม่ใช้ดุลพินิจ
นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวชี้แจงถึงกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ผลสรุปกรมที่ดินกรณีที่ดินเขากระโดง ว่า ในส่วนของกรมที่ดินทำ ทำอยู่สามส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมายไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ
'ศรีสุวรรณ' ฟ้อง กกพ.-กพช.-กบง. ระงับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนเพิ่ม ทำให้ไฟฟ้าล้นประเทศ
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากประชาชนทั่วประเทศ ได้เดินทางมายื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ต่อศาลปกครอง