นักวิชาการอิสระ เชื่อไม่มีใครค้านพัฒนาหัวลำโพง แต่ต้องไม่ทำให้ ปชช.รายได้น้อยเดือดร้อน

‘ดร.กิตติธัช’ เชื่อไม่มีใครค้านพัฒนาหัวลำโพง แนะต้องเพิ่มมูลค่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนรายได้น้อย

13 ธ.ค.2564- ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ​ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีและประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม กล่าวถึงกรณีที่นายวินท์ สุธีรชัย อดีต ส.ส. และนักธุรกิจรุ่นใหม่ เสนอให้มีการพัฒนาหัวลำโพงให้เทียบเท่ากับแลนด์มาร์คในต่างประเทศว่า ประเด็นนี้ไม่มีใครคัดค้านที่การรถไฟฯจะนำพื้นที่ว่างไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ หรือปล่อยให้เอกชนเช่าเพื่อพัฒนา เพราะคงเป็นเรื่องดีที่การรถไฟจะมีรายได้ ปลดหนี้ และมีเงินมาพัฒนาสวัสดิภาพของพนักงานและการให้บริการสาธารณะ แต่สิ่งที่ประชาชนคาดหวังคือ การพัฒนานั้นต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถนำคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของหัวลำโพง มาสร้างเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นไปพร้อมกับการเพิ่มพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนในเมืองด้วย

ดร.กิตติธัช กล่าวต่อว่า การจัดการพื้นที่หัวลำโพงควรแบ่งเป็น 2 ประเด็น ประการแรก คือ การเดินรถ ซึ่งในอนาคตชุมทางรถไฟจะต้องย้ายไปอยู่บางซื่อ และหัวลำโพงจะกลายมาเป็นเพียงสถานีรถไฟในเมืองแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ด้วยการที่เส้นทางระหว่างบางซื่อ-หัวลำโพงยังอยู่ในขั้นตอนประมูลเท่านั้น ทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยต้องลำบากกับค่าใช้จ่ายและเวลาเดินทางที่เพิ่มเข้ามา ดังนั้นในระหว่างที่ Missing Link ยังไม่เสร็จ การรถไฟฯ ควรบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยการให้มีการเดินรถบนดินเข้าไปยังหัวลำโพง โดยเน้นที่ขบวนรถไฟชั้น 3 เพื่อไม่สร้างภาระให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ต้องอาศัยรถไฟเข้ามายังหัวลำโพง

ประการที่สอง คือ เรื่องการนำพื้นที่หัวลำโพงไปบริหารจัดการ ซึ่งมีความเป็นไปได้ 2 รูปแบบ 1. รูปแบบแรกคือ การเปลี่ยนกิจกรรมภายใน จากสถานีรถไฟ กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรม หรือลานกิจกรรมของคนเมือง เพื่อเปิดโอกาสให้คนได้เข้ามาใช้พื้นที่ในการสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดในการผลักดันย่านสร้างสรรค์ (Creative District) ซึ่งรูปแบบนี้การรถไฟอาจประสานความร่วมมือกับทาง TCDC ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น นอกจากนี้ควรจะนำใช้พื้นที่บางส่วนให้เช่าสำหรับทำกิจกรรมหรือร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้า ที่นำเอาเอกลักษณ์ของหัวลำโพงมาเป็นจุดขายเพื่อหารายได้มาใช้สำหรับบริหารจัดการอาคารและพื้นที่

“ในส่วนรูปแบบที่สอง คือ การรักษาความเป็นสถานีไว้ ในขณะที่ชุมทางหลักไปอยู่บางซื่อ หัวลำโพงก็จะมีรถเข้ามาน้อยลง และมีผู้ใช้งานน้อยลง หัวลำโพงจึงอาจเปลี่ยนจากสถานีแบบเดิม ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ลานกิจกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร ผสมไปกับพื้นที่สถานีเดิม เช่นกรณีสถานีรถไฟ Atocha ในประเทศสเปน ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้หัวลำโพงยังคงทำหน้าที่เป็นสถานี พร้อมกับปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตคนเมืองมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้การถไฟมีรายได้เพิ่มขึ้น และประชาชนก็ได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากพื้นที่สาธารณะที่เพิ่มเข้ามาในบริเวณนั้น”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการ แนะจับตาเลือกสว.นัดสุดท้าย คนน้อย-เห็นรายชื่อ เชื่อทุ่มเงินหนักแน่

นักวิชาการ ให้จับตาเลือกสว.นัดสุดท้าย หลังคนเหลือน้อย-เห็นรายชื่อ อาจมีคนพร้อมจ่ายยิงเงินรายหัว ถ้ามั่นใจยิงตรงแล้วโอกาสได้ หลักล้านก็พร้อมควัก

เตือนสติ ! นักวิชาการ ชี้ ดึง 'กัญชา' กลับเป็นยาเสพติด กระทบผู้ประกอบการ-ผู้ป่วย

รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว รองคณบดี คณะรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ม.บูรพา ให้สัมภาษณ์ในประเด็นเรื่องข้อถกเถียงกรณีกา

โชว์ภาวะผู้นำ ! นักวิชาการ ชื่นชม 'อนุทิน' ขู่ถอนวีซ่าต่างชาติ พฤติกรรมมาเฟีย

ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ให้ความเห็นเรื่องการเกิดขึ้นของมาเฟียต่างชาติ โดยเฉพาะที่จังหวัดภูเก็ต

‘ดร.กิตติธัช’ เตือนอย่าปลุกบรรยากาศแบบ  6 ตุลา ปล่อย จนท.ดำเนินตามหลักกม.

บรรยากาศแบบ 6 ตุลาคม ไม่ได้ให้อะไรกับสังคม มีแต่บาดแผลและความเจ็บปวด ภาพลักษณ์ของสถาบันฯ ก็ถูกทำให้แย่ลง