สดร. ชวน ปชช.หาพื้นที่เหมาะสม ดูฝนดาวตกเจมินิดส์ หลังเที่ยงคืน 13 ธ.ค.นี้

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้ข้อมูลก่อนชมฝนดาวตกเจมินิดส์ หลังเที่ยงคืน 13 ธ.ค นี้ ประมาณตีสอง ถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 ธ.ค.  แนะนำพื้นที่ห่างไกลแสงเหมาะสมดูมากสุด

13 ธ.ค.2564-เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อมูลก่อนชมฝนดาวตกเจมินิดส์ หลังเที่ยงคืน 13 ธ.ค นี้ ประมาณตีสอง ถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 ธ.ค.ระบุว่า เรามาทำความรู้จักกับ ฝนดาวตกเจมินิดส์ กันอีกสักหน่อย ฝนดาวตกเจมินิดส์ (Geminids) เป็นฝนดาวตกชุดที่มีต้นกำเนิดจากดาวเคราะห์น้อยเฟทอน (3200 Phaethon) เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรรูปร่างรีจนคล้ายวงโคจรดาวหาง ฝนดาวตกชุดนี้เป็นหนึ่งในฝนดาวตกไม่กี่ชุดที่มีต้นกำเนิดมาจากดาวเคราะห์น้อย ต่างจากฝนดาวตกส่วนใหญ่ที่มีต้นกำเนิดเป็นดาวหาง

ฝนดาวตกชุดนี้จะปรากฏให้เห็นประมาณวันที่ 4-17 ธันวาคมของทุกปี มีศูนย์กลางกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่  คาดการณ์ว่าช่วงที่มีอัตราดาวตกสูงสุดประมาณวันที่ 13-14 ธันวาคม จะมีอัตราดาวตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 120 ดวง/ชั่วโมง ฝนดาวตกเจมินิดส์นับเป็นหนึ่งในฝนดาวตกชุดที่น่าดูที่สุด เนื่องจากมีอัตราเร็วค่อนข้างช้า สังเกตได้ง่าย และยังมีอัตราดาวตกค่อนข้างสม่ำเสมอในแต่ละปี

ดาวตกในฝนดาวตกเจมินิดส์มีอัตราเร็วประมาณ 35 กิโลเมตร/วินาที  ค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับฝนดาวตกชุดอื่น อย่างฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ที่มีอัตราเร็วประมาณ 58 กิโลเมตร/วินาที หรือฝนดาวตกลีโอนิดส์ที่มีอัตราเร็วประมาณ 71 กิโลเมตร/วินาที

คาดการณ์ว่าฝนดาวตกเจมินิดส์ จะมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่ตีสองจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 14 ธันวาคม 2564 อัตราการตกสูงสุดประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่  กลุ่มดาวคนคู่จะปรากฏขึ้นจากขอบฟ้า ตั้งแต่เวลาประมาณ 20:00 น. ของวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ตาม ในคืนดังกล่าวจะมีแสงรบกวนจากดวงจันทร์ข้างขึ้น 10 ค่ำ ในช่วงแรกของปรากฏการณ์ แนะนำให้ชมหลังดวงจันทร์ลับขอบฟ้าแล้ว เวลาประมาณ 02:00 น. ของวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า

สถานที่ที่เหมาะสม ควรเป็นสถานที่ที่มีแสงไฟรบกวนน้อย ห่างไกลจากเมืองหรือแสงไฟตามถนน อุปกรณ์ที่ควรเตรียมเพื่อนอนดูฝนดาวตกประกอบด้วยเก้าอี้เอน เสื่อ ผ้าห่ม และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ให้ความอบอุ่น หากนอนดูดาวตกเพียงคนเดียว เวลานอนรอชมให้หันเท้าไปทางทิศใต้แล้วพยายามมองท้องฟ้าเป็นมุมกว้าง ไม่ควรมองเพ่งไปที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งบนท้องฟ้า เพราะดาวตกจะปรากฏกระจัดกระจายบนท้องฟ้า เมื่อเริ่มนอนชมท้องฟ้าในความมืดประมาณ 30 นาทีแล้ว ดวงตาของเราจะปรับให้เข้ากับความมืด จากนั้นก็อดใจรอจนกว่าคุณจะเริ่มเห็นดาวตก ย้ำว่าควรมองท้องฟ้าเป็นมุมกว้างเข้าไว้ ดาวตกบางลูกอาจปรากฏกลางมุมมองของคุณ หรือส่วนหนึ่งอาจปรากฏบริเวณใกล้ขอบมุมมองสายตา  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดภาพดาวหาง 'จื่อจินซาน-แอตลัส' กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์ เหนือองค์พระธาตุคู่เชียงใหม่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภาพดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์

IRPC ผสานสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ต่อยอดขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดย คุณอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เพื่อร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง ต่อยอดในการขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

วันนี้ 'วันครีษมายัน' กลางวันยาวสุดของปี พระอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชม.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน”

สดร.เผยภาพดาวหาง ฝีมือคนไทยบันทึกจากยอดดอยอินทนนท์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยภาพดาวหาง 12P/Pons-Brooks ที่เป็นฝีมือคนไทยบันทึกได้ช่วงหัวค่ำวันที่ 11 มีนาคม 2567 จากยอดดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่

IRPC เยี่ยมชม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

คุณอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรม บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมชม สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ