27 ส.ค.2566-พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผู้สมัคร ก.พ.ค.ตร. โพสต์เฟซบุ๊ก “พลตำรวจโท อำนวย นิ่มมะโน” หัวข้อ “พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ…. เป็นรั้วทองแดง กำแพงเหล็กป้องกันการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง ได้จริงหรือไม่?? ” เนื้อหาระบุ
“มีนายกรัฐมนตรีใหม่แล้ว นายกฯประยุทธ อย่าเพิ่งแต่งตั้ง ผบ.ตร.รอให้ นายกฯคนใหม่ รัฐบาลใหม่มาแต่งตั้งเอง” เป็นเสียงคำรามจากฝ่ายการเมืองด้วยกัน …..ด้วยเกรงว่ารัฐบาลรักษาการจะแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเสียก่อน พูดกันอย่างตรงไปตรงมาเป็นการแย่งกันแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ซึ่งก็คือการแทรกแซงองค์กรตำรวจโดยตรงนั่นเอง แล้วจะมากล่าวหาองค์กรตำรวจว่า เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง รับใช้นักการเมือง อะไรต่อมิอะไรกันได้อย่างไร? ภาพที่ปรากฏตำรวจในหลายๆ จังหวัดจะต้องมีสเปคพิเศษ ผู้การบางจังหวัด เช่น บุรีรัมย์อาจจะต้องจบเน… ผู้การจังหวัดสุพรรณบุรีอาจจะต้องจบด้านศิลปะ….. ผู้การจังหวัดชลบุรี.. เชียงใหม่.. สุราษฎร์ธานี…. ภาพของการถือพวงมาลัยไปเข้าแถวรอขอบคุณนักการเมืองใหญ่ที่ให้การสนับสนุนในการแต่งตั้งเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง จึงปรากฎให้เห็นกันอย่างจำเจ
ในการปฏิรูปตำรวจประเด็นสำคัญยิ่งประเด็นหนึ่งก็คือ จะต้องทำให้ข้าราชการตำรวจมีความเป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจภายนอกโดยเฉพาะการเมือง….เพราะหน้าที่หลักของตำรวจ “ป้องกันปราบปรามอาชญากรรม อำนวยความยุติธรรมในทางอาญาในอันที่จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน” งานด้านป้องกันปราบปรามอาชญากรรมยังพอรับได้ที่จะให้ฝ่ายบริหารเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย แต่มิใช่มีอำนาจในการแต่งตั้งโยกย้ายให้คุณให้โทษสร้างตำรวจไว้เป็นเครื่องมือของตนเอง ส่วนงานด้านอำนวยความยุติธรรมในทางอาญาจำเป็นต้องให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ทำนองเดียวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีหน้าที่เพียงไปวางศิลาฤกษ์ เปิดที่ทำการศาลใหม่แต่ไม่มีอำนาจเข้าไปข้องเกี่ยวกับอรรถคดี……..
ความพยายามในการไม่ให้การเมืองเข้ามาแทรกแซงองค์กรตำรวจ ด้วยการบัญญัติในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ…. ไม่ให้นายกรัฐมนตรีมานั่งเป็นประธาน ก.ตร. ซึ่งกระผมเองเป็นกรรมการร่วมยกร่างอยู่ด้วยนั้น แม้จะไม่สามารถบรรลุตามที่ใฝ่ฝันได้ ด้วยมีข้อจำกัดหลายประการ…. แต่กรรมการยกร่างก็ได้สร้างกลไกที่จะมาถ่วงดุลอำนาจในการแต่งตั้ง และโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ซึ่งอยู่ในอำนาจของ ก.ตร. อันมีนายกรัฐมนตรีมานั่งเป็นประธานอย่างถาวรตั้งแต่พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา ด้วยการสร้างคณะกรรมการอิสระขึ้นมา 2 คณะ คือ คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ หรือ ก.พ.ค.ตร. และ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ หรือ ก.ร.ตร. โดย ก.พ.ค.ตร. มีหน้าที่และอำนาจสร้างความเป็นธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามระบบคุณธรรมอย่างแท้จริง เริ่มตั้งแต่ กฎ ก.ตร. กติกา หลักเกณฑ์การแต่งตั้งไปจนถึงความเป็นธรรมในการแต่งตั้ง พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ เรื่องอุทธรณ์กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมทั้งเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย และการพิจารณาทัณฑ์ทางวินัยซึ่งถือว่าเป็นการถ่วงดุล ก.ตร. โดยมีนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธานอยู่โดยตรง
คณะกรรมการคณะนี้เป็นคณะกรรมการอิสระอย่างแท้จริง เพราะมีที่มาโดยการสรรหาจากบุคคลภายนอก จากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น จาก อดีตผู้พิพากษา อดีตอัยการ อดีตข้าราชการตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือเทียบเท่า อดีตข้าราชการตำรวจในตำแหน่งตั้งแต่ผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นต้น …..แต่เป็นที่น่าเสียดาย คณะกรรมการคณะนี้ยังสรรหาไม่แล้วเสร็จ ทั้งๆที่ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติใช้มา จวนจะครบ 1 ปีในวันที่ 17 ตุลาคมนี้แล้ว……..
การประชุม ก.ตร. เมื่อวันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม 2566 มีวาระการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ตร. ซึ่งปรากฏว่านายกรัฐมนตรีรักษาการให้เลื่อนวาระการแต่งตั้ง ผบ.ตร.ออกไปก่อน จึงกลายเป็นเรื่อง Talk Of The Town ในวงการสีกากี เพราะเหตุใดหรือครับ? น่าจะเป็นเพราะเจตนารมณ์ในพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติที่คณะกรรมการยกร่างได้วางไว้เป็นรั้วทองแดง กำแพงเหล็ก ซึ่งแม้ว่าจะให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาและเสนอชื่อผู้เหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร. ก็ตาม
แต่หาได้ให้อำนาจเสนอได้ตามอำเภอใจง่ายๆ อย่างแต่ก่อนไม่ …. จะต้องคำนึงถึงอาวุโส และความรู้ความสามารถประกอบกัน โดยเฉพาะประสบการณ์ ในงานสืบสวนสอบสวนหรืองานป้องกันปราบปราม…(มาตรา 78 อนุ 1) ซึ่งก็หมายความว่าหากมีการเสนอชื่อบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติเหมาะสม หรือมีแต่ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ เช่น ประสบการณ์ด้านงานสืบสวนสอบสวน หรือป้องกันปราบปรามซึ่งถือเป็นงานหลักของตำรวจ บุคคลที่จะมาเป็นผู้นำหน่วยในตำแหน่ง ผบ.ตร. จะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ดังนั้นผู้ที่เสนอชื่อ ผบ.ตร.จะต้องแบกความรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้…..
หลักเกณฑ์การแต่งตั้งก็ได้นำมากำหนดและบัญญัติไว้ในกฎหมาย ตำแหน่ง รองผบ.ตร. ลงไปถึง ผบช. โดยให้เรียงลำดับอาวุโสร้อยเปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ รอง ผบช. ลงไปถึง ผบก. ร้อยละ 50 ตั้งแต่ รอง ผบก. ลงไปถึง สว. ร้อยละ 33 ไว้อย่างชัดเจน ความเป็นธรรมก็จะบังเกิด ระบบคุณธรรมก็จะปรากฏขึ้นในการแต่งตั้งและโยกย้ายเสียที แต่ถ้าจะให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบก็จะต้องเร่งรัดให้มี ก.พ.ค.ตร. เพื่อควบคุม ตรวจสอบ ให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม หลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี ซึ่งทราบว่าจะมีการสรรหาในเดือนกันยายนนี้ และกระผมเป็นหนึ่งในผู้สมัครซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นแล้ว หากผ่านการสรรหาก็ขออาสาเข้าไปติดกระดุมเม็ดแรกเพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายได้อย่างแท้จริง เพราะได้ร่วมยกร่างมากับหนึ่งสมองสองมือ
ถึงแม้ว่าขณะนี้กระผมจะเป็นกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ หรือ ก.ร.ตร. อยู่แล้วก็ตาม กระผมพร้อมที่จะลาออกเพื่อมารับตำแหน่งอันสำคัญนี้และจะได้นำอุปสรรคปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอิสระที่ประสบพบเห็นซึ่งปฏิบัติงานมาร่วม 4 เดือนแล้ว การยกร่างระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ และวิธีการในเรื่องต่างๆซึ่งจะต้องนำมาใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานยังไม่แล้วเสร็จ…. ปัญหาภายนอก ปัญหาภายในมีมากมาย (โอกาสหน้า จะได้สาธยายให้ได้อ่านกันครับ)
นายกรัฐมนตรีรักษาการให้เลื่อนวาระแต่งตั้ง ผบ.ตร. ออกไปก่อน และให้ ผบ.ตร. เป็นประธาน ก.ตร. แทน เพื่อประชุมแต่งตั้งและโยกย้ายในระดับรองลงมา ในที่สุด ผบ.ตร.ในฐานะประธานในที่ประชุมก็ให้เลื่อนการแต่งตั้งครั้งนี้ออกไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายนนั้นก็แปลว่า อานิสงส์แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ รั้วทองแดง กำแพงเหล็กกำลังทำงานแล้ว…. ฝ่ายการเมืองหรือผู้มีอำนาจที่จะเข้ามาแต่งตั้งแลโยกย้ายตำรวจ แม้ว่าจะยังไม่มี ก.พ.ค.ตร. คอยควบคุม กำกับ อยู่ก็ตามที แต่โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หากมีการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ โดยไม่ชอบเกิดขึ้น กระผมคงไม่ต้องอธิบายความถึงเรื่องราวที่จะติดตามมานะครับ…………
“ตำรวจมีหน้าที่ในการสร้างความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม ในขณะเดียวกันตนเองไม่มีโอกาสสัมผัสกับความเป็นธรรม… และความเป็นอิสระในการปฎิบัติหน้าที่เลย…..”!!!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็ก 41 รายชื่อแต่งตั้งนายพลสีกากี ระดับ รองผบ.ตร.-ผบช. วาระประจำปี 2567
การประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่มีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 21 พ.ย.2567 ได้มีมติเห็นชอบบัญชีรายชื่อแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
ผบ.ทบ. เซ็น แต่งตั้ง-โยกย้าย ผู้บังคับกองพันทั่วประเทศ 461 นาย
การแจกจ่ายคำสั่งกองทัพบกที่ 442/ 2567 โดยมี พ.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก ลงนาม เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2567 แต่งตั้งโยกย้ายนายทหารระดับผู้บังคับกองพันทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 461 นาย
'บิ๊กต่าย' สั่งสอบ 'พ.ต.ต.' อาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจ กระทำอนาจาร
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เปิดเผยกรณีเพจดังเผยแพร่ข้อมูลระบุว่า มีนักเรียนนายร้อยตำรวจ ถูกอาจารย์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และสารวัตร (สอบสวน) สังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล
เคาะแล้ว! ก.ตร. แต่งตั้ง รองผบ.ตร.-ผบช. 'สยาม บุญสม' ม้ามืดผงาดนครบาล
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่ 10/2567 โดยวาระสำคัญ คือวาระที่ 4 เรื่องที่ 4 การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ วาระประจำปี 2567 ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ถึงผู้บัญชาการ (ผบช.) เป็นการใช้ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เป็นครั้งแรก
นายกฯ ถึงไทย ‘บิ๊กต่าย’ เข้ารายงานปมร้อน จัดโผแต่งตั้ง รองผบ.ตร- ผบช. 20 พ.ย.นี้
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้เข้ารายงานนายกฯถึงการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ครั้งที่10/2567 ในวันที่ 20 พ.ย.นี้ เวลา 14.30 น.
ตำรวจกองปราบ หิ้ว ‘เจ๊พัช’ ตบทรัพย์ดิไอคอน ฝากขังศาลทุจริตฯ พร้อมค้านประกัน
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้คุมตัวน.ส.กฤษอนงค์ สุวรรณวงศ์ หรือ เจ๊พัช ประธานอำนวยการศูนย์ประสานงานส่งเสริมเครือข่าย-ออนไลน์ ผู้ต้องหาในข้อหา กรรโชกทรัพย์ และการเรียกรับสินบน