‘SIIT ธรรมศาสตร์’ เดินหน้าลงทุนทางการศึกษาสร้าง ‘ทรัพยากรมนุษย์’ ขับเคลื่อนประเทศ ประกาศมอบทุนการศึกษาในโครงการสอบชิงทุน OSP ปี 2567 กว่า 100 ทุน เปิดโอกาสการเรียนรู้ศาสตร์ด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี พร้อมติดอาวุธที่สอดรับกับความต้องการของยุคสมัย หวังปั้นนักศึกษาสู่การเป็น ‘ผู้บริหารชั้นนำ’ ในอนาคต
21 ส.ค.2566 - ศ.ดร.พฤทธา ณ นคร ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า ทุนมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศ และมีงานวิจัยที่ยืนยันว่า ‘การลงทุนในเรื่องของการศึกษา’ นับเป็นการลงทุนที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ และยังสามารถสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศได้อย่างยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่ลงทุนด้านการศึกษาอยู่หลายกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลที่ต้องลงทุนกับระบบการศึกษาของประเทศ ครอบครัวและผู้ปกครองที่ลงทุนกับการศึกษาของบุตรหลาน ในขณะที่สถาบันการศึกษาก็ลงทุนในบริการด้านการศึกษา ให้กับนักศึกษาของตัวเอง
สำหรับ SIIT ให้ความสำคัญและลงทุนกับการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก โดยส่วนแรก ได้แก่ การลงทุนกับเครื่องมือ อุปกรณ์การเรียนการสอน บุคลากร อาจารย์ ตลอดจนอาคาร สถานที่ ห้องเรียนที่ทันสมัย โดยเฉพาะหลังโควิด-19 ที่ได้ปรับปรุงห้องเรียนให้พร้อมสำหรับการเรียนการสอนแบบใหม่ สอดรับกับรูปแบบ Active Learning ปรับปรุงห้องสมุดสู่ Co-working Space ตลอดจนการลงทุนสร้างอาคารปฏิบัติการ เป็นต้น และส่วนที่สองคือ การลงทุนผ่านการให้ ‘ทุนการศึกษา’ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสนับสนุนนักเรียนที่มีศักยภาพ โดย SIIT ให้ทุนในหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือโครงการสอบชิงทุนสำหรับนักเรียนที่มีผลการเรียนดีเลิศ หรือ Outstanding Student Program (OSP) ที่มีกว่า 100 ทุนเป็นประจำทุกปี ช่วยให้นักเรียนที่เรียนดีได้มีโอกาสเข้ามาพัฒนาทักษะด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีอันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการทำงานในโลกอุตสาหกรรมยุคอนาคต
“หากเราสังเกตผู้บริหารในตำแหน่งสูงๆ ที่อยู่ตามองค์กรขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ มีการจบการศึกษาในสายนี้ค่อนข้างมาก ซึ่งคิดว่าเหตุผลหนึ่งคือผู้ที่เรียนจบด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี จะได้รับทักษะในด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) และการคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking) ฝังติดตัวไปด้วย นั่นทำให้เมื่อเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เขาสามารถคิดหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ ส่งผลให้มีโอกาสเจริญเติบโตก้าวหน้าตามไปด้วย” ศ.ดร.พฤทธา กล่าว
ศ.ดร.พฤทธา กล่าวว่า สำหรับการเรียนการสอนในรั้ว SIIT จะมีองค์ประกอบอย่างน้อย 2 เรื่อง หนึ่งคือ ‘วิชาความรู้’ ซึ่งแน่นอนว่าทาง SIIT จะต้องมอบความรู้ที่ใหม่ล่าสุด ณ วันนั้นให้กับนักศึกษา แต่แน่นอนว่า เมื่อถึงวันหนึ่งความรู้เหล่านั้นก็อาจหมดอายุ ฉะนั้นจึงนำไปสู่องค์ประกอบสำคัญถัดมา นั่นคือการมอบ ‘ทักษะความสามารถในการแก้ไขปัญหา’ ฝึกฝนให้นักศึกษาเคยชินกับการแสวงหาความรู้ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ดี
“นักศึกษาที่เข้ามาเรียน SIIT จะมีโอกาสต่างๆ มากมายนอกเหนือไปจากประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ เพราะเรายังเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับบริษัทและมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ จึงมีโอกาสได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำกิจกรรม ตลอดจนร่วมแสดงศักยภาพในเวทีต่างๆ และเครือข่ายที่มีเหล่านี้ก็ยังส่งผลไปถึงอนาคตของนักศึกษา ที่มีทั้งช่องทางการเรียนต่อ รวมไปถึงการทำงาน ซึ่งตัวเลขสถิติที่สะท้อนออกมาก็แสดงให้เห็นว่านักศึกษาของเรา มีอัตราการได้งาน อัตราเงินเดือน รวมถึงระดับความพึงพอใจจากนายจ้าง มากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ” ศ.ดร.พฤทธา กล่าว
ด้าน รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ ภานุวัฒน์วนิชย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายรับเข้าศึกษาและประชาสัมพันธ์ SIIT กล่าวว่า โครงการสอบชิงทุน OSP ในปีการศึกษา 2567 นี้ จะมีทั้งสิ้นกว่า 100 ทุนการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ทุนเต็มจำนวน 2. ทุนครึ่งจำนวน และ 3. ทุนบางส่วน โดยนักเรียนที่สนใจสามารถสมัครได้ระหว่างวันที่ 15 สิงหาคม - 30 กันยายน 2566 ส่วนการสอบจะมีขึ้นในช่วงเดือนตุลาคม ใน 4 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา และอุดรธานี
ในส่วนของเกณฑ์การสอบชิงทุนยังคงเหมือนกับปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการปรับลด GPA ลงจาก 2.75 เหลือ 2.5 อันจะช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามาสอบชิงทุนได้มากขึ้น ในขณะที่ยังคงได้นักเรียนเก่งเข้ามาในระบบ โดยโครงการสอบชิงทุนดังกล่าวนั้นจะยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความสามารถ ได้รับโอกาสการต่อยอดที่มากขึ้น สะท้อนจากการแข่งขันในหลากหลายเวที รวมไปถึงการสอบชิงทุนศึกษาต่อต่างประเทศต่างๆ เช่น ของรัฐบาลญี่ปุ่น สหภาพยุโรป ฯลฯ ที่พบว่ามีนักศึกษาจากโครงการสอบชิงทุนดังกล่าวได้รับการคัดเลือกเป็นจำนวนมาก
“ที่ผ่านมาโครงการสอบชิงทุน OSP ได้ช่วยดึงนักเรียนที่เรียนดีให้ได้รับโอกาสเข้ามาในรั้ว SIIT ไม่เพียงในแง่ของทักษะความรู้เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมวินัยในการเรียน การใช้ชีวิต ที่เข้ามาช่วยหล่อหลอมให้ภาพรวมของ SIIT เกิดวัฒนธรรมของความเป็นเลิศ หรือ Culture of Excellence ทั้งในแง่การเรียน การทำงาน ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาทั้งหมด” รศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กล่าว
รองผู้อำนวยการ SIIT กล่าวต่อไปว่า เนื่องด้วยเกณฑ์การใช้คะแนน GPA ที่ไม่สูง รวมถึงการสมัครสอบที่ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด จึงอยากเชิญชวนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าสมัครสอบ ท้าทายตนเอง ซึ่งหากมีความตั้งใจศึกษาและเตรียมตัวที่ดี ก็มีสิทธิที่จะได้รับทุน หรือมีสิทธิเข้าศึกษาต่อ รวมถึงโอกาสในการต่อยอดในอนาคต โดยนักเรียนที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://admissions.siit.tu.ac.th
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธรรมศาสตร์'ฉลอง90ปี จัดใหญ่'กีฬามหาวิทยาลัยฯครั้ง50' มี126สถาบันฯร่วม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 50 "ธรรมศาสตร์เกมส์" (Thammasat Games 2025) ภายใต้แนวคิด "Unity of diversity, Victory for all - รวมความหลากหลาย สู่ชัยชนะเพื่อคนทั้งมวล” ตั้งเป้าหมายผลักดันศักยภาพนักกีฬาไทยให้ก้าวไกลไปสู่ระดับโลก พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการยอมรับความหลากหลาย การเคารพในความแตกต่าง สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ผ่านตราสัญลักษณ์การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ รวมทั้งสนับสนุนสร้างสุขภาวะที่ดี ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 18 มกราคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ชวนลูกแม่โดมร่วมงาน “วันธรรมศาสตร์ 90 ปี 2567” ชมรายการพิเศษทางโทรทัศน์เนื่องในวันธรรมศาสตร์ 9 ธันวาคม และสังสรรค์รำลึกความหลัง “วันธรรมศาสตร์ 10 ธันวาคม”
สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร นายกสมาคม ชวนลูกแม่โดมร่วมงาน “วันธรรมศาสตร์ 90 ปี 2567” ชมรายการพิเศษทางโทรทัศน์เนื่องในวันธรรมศาสตร์ คืนวันที่ 9
ธรรมศาสตร์ เปิดตัว 7 นวัตกรรมเพื่อสังคม ส่งมอบ 'SIT-TO-STAND' ดูแลผู้สูงวัย กทม.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัว “7 นวัตกรรมเพื่อสังคมสูงวัย” ตอบโจทย์ปัญหาประเทศ เตรียมพร้อมรับมือ Super Aged Society พร้อมมอบนวัตกรรม SIT-TO-STAND TRAINER อุปกรณ์เสริมสร้างกล้ามเนื้อ
สร้างภูมิคุ้มกัน 'พลัดตกหกล้ม' 10-11 ก.ย.นี้ เชิญชมนิทรรศการ 7 นวัตกรรมธรรมศาสตร์ เพื่อสังคมสูงวัย
เพราะทุกห้วงยามแห่งการร่วงหล่น มีหลายชีวิตพลัดหลงในกาลเวลา โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete
'เกษียร' แย้ง 'พุทธทาส' เมื่อไหร่เอาศาสนกิจมาเป็นเกณฑ์กำหนดการเมือง เมื่อนั้นจะได้เผด็จการโดยธรรม
ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ นักรัฐศาสตร์อาวุโส มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Kasian Tejapira ว่า ประชาธิปไตยไม่ได้มีไว้เพื่อ
'ธรรมศาสตร์' จัดงานครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย
“ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์” นำอ่านประกาศสันติภาพ 16 สิงหาคม 2488 ในงาน “ครบรอบ 79 ปี วันสันติภาพไทย” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดรำลึกปฏิบัติการกอบกู้ชาติของ “ขบวนการเสรีไทย” จน