เผยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาในไทย สัปดาห์ที่ 31/66 พบผู้ป่วยครบทุกภาค

19 ส.ค.2566 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรณีสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาในประเทศไทย ในสัปดาห์ที่ 31 คือ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 9 สิงหาคม 2566 พบผู้ป่วยสะสมจำนวน 172 ราย อัตราป่วย 0.26 ต่อประชากรแสนคน ไม่พบผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยครบทุกภาค กระจายใน 21 จังหวัด โดยพบอัตราป่วยสูงสุดในภาคกลาง รองลงมา คือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกรมควบคุมโรค ได้ออกคำเตือนในช่วงนี้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยยุงลาย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน ทำให้มีน้ำขังตามภาชนะต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ก่อให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งโรคติดเชื้อไวรัสซิกานี้ สามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ เป็นโรคที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องเฝ้าระวังและป้องกันตนเองอย่าให้ถูกยุงกัด เพราะหากแม่ติดเชื้อไวรัสซิกาแล้ว อาจส่งผลให้เด็กที่คลอดออกมามีความผิดปกติ

นางสาวรัชดา กล่าวถึงข้อมูลกรมควบคุมโรคระบุว่า โรคติดเชื้อไวรัสซิกา มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ทำให้ผู้ป่วยมีผื่นแดงตามลำตัวและแขนขา มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตาแดง และสามารถติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ ทารกเกิดความพิการทางสมองและระบบประสาท ส่งผลให้ทารกที่เกิดมามีความผิดปกติ เช่น ศีรษะเล็ก การได้ยินผิดปกติ และพัฒนาการช้า เป็นต้น โดยกรมควบคุมโรคแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ควรป้องกันตนเองอย่าให้ถูกยุงกัด ไปฝากครรภ์ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์จนกว่าจะคลอด หากตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสซิกาต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยสูตินรีแพทย์

“นอกจากนี้ กรมควบคุมโรคย้ำขอให้ประชาชนทั่วไปช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบริเวณบ้านและในชุมชน โดยใช้มาตรการ 3 เก็บป้องกัน 3 โรค คือ 1) เก็บบ้าน ให้สะอาดไม่ให้ยุงลายเข้ามาเกาะพัก 2) เก็บขยะ ภายในบริเวณบ้านและชุมชน ให้เรียบร้อยไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 3) เก็บน้ำ เก็บภาชนะกักเก็บน้ำให้มิดชิดเพื่อป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ รวมถึงการป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัดด้วยการทายากันยุง และนอนในมุ้งหรือห้องที่มีมุ้งลวดกันยุง เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และขอให้ประชาชนสังเกตอาการป่วยของคนในครอบครัว ไม่ควรซื้อยาลดไข้ในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ได้แก่ แอสไพริน และไอบูโพรเฟนมารับประทาน และให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์หรือสถานบริการสาธารณสุขที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว จะช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทีมโทรโข่งรัฐบาล ติวเข้มโฆษกกระทรวงส่ง 'ข่าวดี' ทุกสัปดาห์ เร่งตีปี๊บผลงาน 3 เดือน

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายคารม พลพรกลาง นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ครม. ตั้ง 'บิ๊กรอย' นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม 'คารม-ศศิกานต์' รองโฆษกรัฐบาล

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1.พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรมว.กลาโหม

จับตา! ครม.ได้ฤกษ์ตั้ง ขรก.การเมืองล็อตใหญ่ ‘จิรายุ’ โฆษกรบ. ’คารม-ศศิกานต์’ รองฯ

เลขาฯนายกฯเผยตรวจสอบคุณสมบัติ ขรก.การเมืองเสร็จส่วนหนึ่งแล้ว เชื่อว่าจะสามารถนำรายชื่อเสนอในการประชุมครม.วันที่ 1 ต.ค.พิจารณาแต่งตั้งได้เป็นส่วนใหญ่ตามที่ได้เสนอชื่อมา

'จิรายุ' แจงครม.ยังไม่เคาะตั้งข้าราชการการเมือง นายกฯกำชับตรวจคุณสมบัติ

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะมนตรี (ครม.) ว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการในการแต่งตั้งข้าราชการเมือง โดย 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมาไม่สามารถนำรายชื่อเข้าที่ประชุมครม.ได้ เนื่องจากนายกฯได้สั่งการสืบเนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้องกับมาตรฐานจริยธรรม รวมทั้งระเบียบพ.ร.บ.

ครม.ยังไม่แต่งตั้งข้าราชการการเมือง-ทีมโฆษกรัฐบาล รอตรวจสอบคุณสมบัติเข้มข้น

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า วันนี้ไม่ได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการการเมือง ซึ่งส่งมา 40 – 50 คน เพราะต้องกลั่นกรองให้เรียบร้อย