เอลนีโญแผลงฤทธิ์! นักวิชาการชี้โอกาสเกิดเต็ม 100% ลากยาวถึง ก.ค.67

แฟ้มภาพ

17 ส.ค.2566 - รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า อัปเดตน้ำท่วมน้ำแล้ง (16 ส.ค. 66) เอลนีโญเต็ม 100%! ร้อนทำสถิติสูงสุดต่อเนื่อง ก.ค. 66 ร้อนที่สุดเมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. ด้วยกันในรอบ 174 ปี!

เอลนีโญจะลากยาวถึง ก.ค. 67 โดยจะทำจุดสูงสุดช่วง ธ.ค.66 ส่วนฝนจะลดลงเร็วกว่าเดิมที่คาดว่าในเดือนที่แล้ว เขื่อนหลักภาคเหนือและกลางลุ้นน้ำเข้าเขื่อนเหนื่อยขึ้นกว่าเดิม

ช่วง ต.ค.-ธ.ค.66 ฝนจะน้อยกว่าปกติในภาคเหนือ กลาง ตะวันตก และใต้ตอนบน ขณะที่ใต้ตอนล่างฝนจะน้อยช่วง พ.ย.66-ก.พ.67

ทางองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) พบว่า อากาศร้อนทำสถิติสูงสุดต่อเนื่องจากเดือน มิ.ย. 66 โดย ก.ค. 2566 เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. ด้วยกันในรอบ 174 ปี! อุณหภูมิพื้นผิวโลกอยู่ที่ 1.12°C สูงกว่าค่าเฉลี่ยในศตวรรษที่ 20 ที่ 15.8°C และเป็นครั้งแรกที่อุณหภูมิพื้นผิวโลกในเดือน ก.ค. สูงเกินค่าเฉลี่ยในศตวรรษที่ 20 ถึง 1.0°C!! (ภาพที่ 2) และอุณหภูมิผิวน้ำทะเล (Ocean) ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. ด้วยกันในรอบ 174 ปี! โดยเพิ่มขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยปกติ 0.99°C ส่วนอุณหภูมิพื้นดิน (Land) ก็ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค. ด้วยกันในรอบ 174 ปี! โดยเพิ่มขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยปกติ 1.40°C

องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NOAA) (ภาพที่ 3) รายงานว่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญเต็ม 100%!! ค่ายสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะลากยาวถึงอย่างน้อย พ.ค. 67!! ด้วยความน่าจะเป็นเกิน 80% (ภาพซ้ายแท่งสีแดง) ขณะที่ค่ายยุโรปโดย System 5 จาก ECMWF คาดว่าเอลนีโญจะลากยาวถึง ก.ค. 67!! และงานวิจัยจาก CPC (NOAA) คาดว่ากำลังของเอลนีโญจะทำระดับสูงสุดช่วง ธ.ค. 66 ในระดับรุนแรง (>1.5 °C) ด้วยความน่าจะเป็น 66% (ภาพขวาแท่งสีแดงเข้ม)

ล่าสุด (15 ส.ค. 66) International Research Institute for Climate Society (IRI) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (ภาพที่ 4) ได้พยากรณ์ว่าฤดูฝนปี 66 เอลนีโญแผลงฤทธิ์ช่วงพีค ทำให้ปริมาณฝนจะลดลงเร็วขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ในเดือนที่ผ่านมา เขื่อนหลักภาคเหนือและภาคกลางลุ้นน้ำเข้าเขื่อนเหนื่อยขึ้นกว่าเดิม โดยช่วง ต.ค.-ธ.ค.66 ปริมาณฝนจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติในภาคเหนือ กลาง ตะวันตก และใต้ตอนบน พื้นที่สีส้มเข้มต้องระวังฝนน้อยเป็นพิเศษ ส่วนช่วง พ.ย.66-ก.พ.67 ภาคใต้ตอนล่างต้องระวังฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ

สำหรับสถานการณ์น้ำในประเทศ พบว่า ปริมาณน้ำในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำที่ใช้การได้จริงเหลือเพียง 22% ของความจุ เพิ่มขึ้นจาก 17% จากเดือนที่ผ่านมา เขื่อนหลักน้ำเหลือน้อยมากจนน่าเป็นห่วงต่อเนื่อง (เขื่อนภูมิพล 14% เขื่อนสิริกิติ์ 15% เขื่อนสิรินธร 18% เขื่อนอุบลรัตน์ 12% เขื่อนศรีนครินทร์ 14% เขื่อนวชิราลงกรณ 28%) ด้วยปริมาณฝนที่คาดว่าจะตกไม่เยอะมากในฤดูฝนปีจากการพยากรณ์ล่าสุดนี้ และภัยแล้งที่คาดว่าจะยาวนานถึง ก.ค. 67 ดังนั้น ต้องใช้น้ำอย่างประหยัดสุดๆ ต้องลุ้นให้ฝนตกเหนือเขื่อนให้มากที่สุดในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า ก่อนเผชิญภัยแล้งที่รุนแรงและยืดเยื้อ

เตรียมรับมือกับเอลนีโญในระดับรุนแรงด้วยความไม่ประมาทกันนะครับ อากาศจะร้อนกว่าปกติต้องระวังโรคฮีตสโตรก หรือโรคลมแดดกันด้วยนะครับ ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันกักเก็บน้ำในฤดูฝนนี้ให้มากที่สุดทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานกันนะครับ เรามีน้ำเหลือน้อยมาก แต่ต้องเผชิญกับภัยแล้งที่คาดว่าจะไม่ธรรมดาและอาจยาวนาน ขุดบ่อจิ๋วและสระสาธารณะใหม่เพิ่ม ขุดล่อคูคลองและสระสาธารณะที่ตื้นเขินเพื่อเพิ่มการกักเก็บน้ำและช่วยลดน้ำท่วมได้ อย่าให้น้ำฝนไหลลงทะเลโดยเปล่าประโยชน์ เกษตรกรต้องเตรียมน้ำให้เพียงพอ ปลูกพืชที่เหมาะสมกับน้ำที่มีและทนร้อนและแล้งได้ดี ต้องระวังผลผลิตเสียหายจากแมลงที่คาดว่าจะมากกว่าปกติและโรคในพืชและปศุสัตว์เพราะอากาศที่ร้อนอาจทำให้พืชและสัตว์อ่อนแอ ภาครัฐต้องคุมพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังให้ดีจากราคาข้าวที่พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ซึ่งจะทำให้เกษตรกรจะปลูกข้าวกันมากขึ้น และการใช้น้ำในภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้น ทำให้วิกฤติขาดแคลนน้ำสาหัสมากยิ่งขึ้น#ClimateChange #Flood #Drought #NewNormal

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อากาศแปรปรวน! ดร.เสรี เตือน 23-24 ก.ย. ‘เหนือ-อีสานบน’ ฝนหนัก 26 ก.ย. เริ่มร้อน

สภาพอากาศแปรปรวนโดยจะมีมวลอากาศเย็นจากแผ่นดินใหญ่มาปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 23-24 กันยายนนี้

พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า ทิศทางลมแปรปรวน ปลายเดือนฝนลดลง

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00น .วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า

ชาวนาบุรีรัมย์ เร่งสูบน้ำเข้านาข้าว ทยอยยืนต้นตาย เหตุฝนทิ้งช่วง

ชาวนาในเขต อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ ที่มีนาอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ต่างเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ระดมสูบน้ำเข้านาข้าวของตนเอง เพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าวที่กำลังเหี่ยวเฉา และเริ่มยืนต้นตายเป็นหย่อมๆ เพราะประสบปัญหาภัยแล้ง ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงนาข้าว อี

กรมอุตุฯ เผยเหตุช่วงนี้ฝนน้อยลง อากาศร้อนขึ้น ท้องฟ้าโปร่ง แดดแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา โพสต์ข้อความว่า หลายคนสงสัยช่วงนี้ฝนหายไปไหน : ตั้งแต่เมื่วาน (8/8/67) ถึงวันนี้ (9/8/67) เมฆและฝนน้อยลงไป ฝนที่เคยตกหนัก ยังหลังเหลือบางพื้นที่ด้านรับลมตะวันตกเฉียงใต้ อากาศร้อนขึ้น เช้าท้องฟ้าโปร่ง แดดแรง