รัฐบาลหนุนการวิจัยผลิตยาในประเทศลดการนำเข้า ดันพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อการผลิตมอร์ฟีนและยาต้านซึมเศร้า
09 ส.ค.2566 - น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในประเทศ เพื่อให้เกิดการผลิตสินค้า ตลอดจนยาและเวชภัณฑ์ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2566 คณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้อนุมัติร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่น และกำหนดพื้นที่ทดลองปลูกและสกัดสารสำคัญจากพืชเห็ดขี้ควาย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย
สาระสำคัญของกฎหมายได้กำหนดพื้นที่ทดลองเพาะปลูกและสกัดสารสำคัญจากฝิ่นและเห็ดขี้ควาย ตลอดจนมาตรการควบคุมและตรวจสอบการเพาะปลูกและสารสำคัญจากพืชดังกล่าว โดยกำหนดพื้นที่ทดลองปลูกในวิทยาลัยป้องกันและปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ สำนักงาน ป.ป.ส. ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ส่วนการทดลองสกัดมอร์ฟีนจากฝิ่นเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์นั้นให้ดำเนินการในพื้นที่องค์การเภสัชกรรม 2 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และปทุมธานี
ในร่างพระราชกฤษฎีกายังได้เพิ่มเติมพื้นที่ทดลองเพาะเห็ดขี้ควายเพื่อการศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภูมิภาคในพื้นที่ของสถาบันการศึกษาที่มีความพร้อม เพื่อให้ประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยการนำพืชฝิ่น หรือเห็ดขี้ควาย ไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ที่เป็นยาเพื่อใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ยาต้านการซึมเศร้า หรือผู้ป่วยที่จำเป็นอื่น ภายใต้มาตรการควบคุม และลดการนำเข้ายาประเภทมอร์ฟีนจากต่างประเทศในอนาคต
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้ามอร์ฟีนจากต่างประเทศ เนื่องจากขาดองค์ความรู้จากการวิจัยในการนำพืชฝิ่นมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยในช่วงปี 61-63 ไทยมีการนำเข้ามอร์ฟีนมูลค่ารวม 400.4 ล้านบาท
ขณะเดียวกันยังขาดองค์ความรู้และผลการศึกษาวิจัยในการนำเห็ดขี้ควายมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เนื่องจากพืชเห็ดขี้ควายจัดเป็นยาเสพติดให้โทษและมีการควบคุมที่เข้มงวด ทำให้นักวิจัยไม่สามารถดำเนินการศึกษาวิจัยได้ ซึ่งการออกพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ จะเปิดโอกาสให้มีการศึกษาและพัฒนาต่อยอดที่สำคัญสอดคล้องกับการศึกษาในต่างประเทศที่พบว่ามีสารเคมีสำคัญ 2 ชนิดที่อยู่ในเห็ดขี้ควาย คือ สารไซโลไซบิน(Psilocybin) และสารไซโลซีน (Psilocin) ที่มีข้อบ่งชี้และโอาสในการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อพัฒนายาต้านการซึมเศร้าได้
ทั้งนี้ หากการวิจัยและพัฒนาประสบความสำเร็จจะนำไปสู่การพัฒนายารักษาโรคได้เองในประเทศ ลดพึ่งพาการนำเข้า รองรับกับแนวโน้มความต้องการยาเพื่อรักษาผู้ป่วยที่มากขึ้นตามสถานการณ์ผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตในไทย ที่ระหว่างปี 58-63 มีผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าเข้ารับการรักษาถึง 1,758,861 คนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลยันผู้ปลูกมันสำปะหลังไม่ถูกกดราคาแน่
รัฐบาลให้ความเชื่อมั่นผู้ปลูกมันสำปะหลัง เตือนพ่อค้ากดราคา โทษจำคุกสูงสุด 7 ปี จัดสายตรวจเฉพาะกิจ ลงพื้นที่ตรวจสอบการซื้อขายมันฯ ในแหล่งเพาะปลูกทั่วประเทศ รับฤดูเก็บเกี่ยวที่จะเริ่ม ธ.ค.นี้
รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี
รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
'อนุทิน' เปิดสัมมนาความปลอดภัยทางถนนหวังอุบัติเหตุเป็นศูนย์!
'อนุทิน' เปิดสัมมนาวิชาการระดับชาติ ความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 16 ย้ำความสำคัญ 'Situation awareness' ตื่นตัว ตระหนัก รับผิดชอบ ชี้ต้องทำอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ เพราะหนึ่งชีวิตก็เป็นเกรดเอฟแล้ว
ข่าวดี! สปสช.เห็นชอบเพิ่มสัดส่วนล้างไตผ่านช่องท้องรายใหม่ 50%
'คารม' เผย บอร์ด สปสช. เห็นชอบข้อเสนอพัฒนาระบบมาตรฐานและคุณภาพของนโยบายล้างไต เพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยล้างไตผ่านช่องท้องรายใหม่ 50% ดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมีความยั่งยืน
ก.อุตฯ ลุยเสริมทักษะเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย
'ศศิกานต์' เผย ก.อุตฯ เดินหน้าส่งเสริมเอสเอ็มอีกว่า 200 ราย เสริมทักษะ เพิ่มขีดการแข่งขัน เน้นดิจิทัลและความยั่งยืน คาดดันเศรษฐกิจโตกว่า 62 ล้านบาท